ศูนย์ข่าวศรีราชา - สมาคมนักข่าวพัทยา ยื่นหนังสือเปิดผนึกประกาศจุดยืนเสรีภาพการปฏิบัติงานข่าว ด้านผู้การชลบุรี ประสานความเข้าใจต่างต้องทำตามหน้าที่ แต่ให้เน้นไปที่ข้อเท็จจริง และร่วมรักษาภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว
วันนี้ (8 มี.ค.) สมาคมนักข่าวพัทยา นำโดย นายอัมพร แสงแก้ว นายกสมาคมฯ พร้อมคณะที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหาร และผู้สื่อข่าวในสังกัดจำนวนกว่า 20 คน เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 เพื่อยื่นหนังสือเปิดผนึกประกาศจุดยืนของการประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน หลังเกิดกรณีที่มีสื่อมวลชนในสังกัดสมาคมฯ นำเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเสียชีวิตอย่างปริศนา เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา
โดยมีการตั้งไว้ 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ การฆาตกรรม และการฆ่าตัวตาย ปรากฏว่า จากการนำเสนอรายงานข่าวดังกล่าวออกไปสู่สาธารณะนั้น ผู้สื่อข่าวกลับได้รับการตอบสนองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง โดยการตำหนิว่าการนำเสนอบิดเบือนผิดเพี้ยนจากข้อเท็จจริง พร้อมระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่เห็นแก่ส่วนรวม เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบ และเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาโดยตรง แม้ผู้สื่อข่าวจะพยายามชี้แจง และแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าวไปแล้วว่าเป็นการกระทำตามหน้าที่เพียงเท่านั้น เนื่องจากสภาพที่เกิดเหตุบ่งชี้อาจเป็นการเสียชีวิตที่น่าสงสัย ทั้งนี้ เพราะสภาพศพ และหลักฐานที่ตรวจพบนั้นส่อไปในทางฆาตกรรม ขณะที่พนักงานสอบสวน แพทย์ และเจ้าหน้าที่กู้ภัยก็ระบุสาเหตุไว้ 2 ประเด็นหลักเช่นกัน
สิ่งที่เกิดขึ้นสมาคมนักข่าวพัทยาจึงเล็งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต้องชี้แจงถึงจุดยืนในการปฏิบัติ เนื่องจาก “ผู้สื่อข่าว” ถือว่าเป็นบุคคล หรือองค์กรที่สำคัญในการทำหน้าที่ตรวจสอบ พร้อมนำเสนอข้อเท็จจริงของปัญ หา หรือเหตุการณ์ที่รวดเร็ว เที่ยงตรง และเป็นธรรมออกสู่สาธารณชน อันจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชน และสังคมโดยทั่วไป เพื่อให้ได้รับทราบความเคลื่อนไหว โดยมี “จรรยาบรรณ” ของวิชาชีพเป็นบรรทัดฐาน หรือกรอบหลักในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติอยู่แล้ว โดยไม่หวังแก่ผลประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อมในเรื่องราวที่นำมาเสนอ
จึงได้เดินทางเข้าพบเพื่อชี้แจงอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ทาง พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ได้รับหนังสือดังกล่าวไว้ พร้อมชี้แจงว่า ได้ทำการประสานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจไปแล้ว และคงไม่มีปัญหาอะไรระหว่างกัน โดยถือว่าเป็นการทำงานคนละบทบาทหน้าที่ แต่ก็คงต้องประสานงานร่วมกันต่อไป
ขณะที่ พล.ต.ต.คัชชา ธาตุศาสตร์ ผบก.ภ.จว.ชลบุรี กล่าวภายหลังจากที่คณะสื่อมวลชนเมืองพัทยาเข้าพบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคงเป็นการเข้าใจผิดมากกว่า เพราะเหตุการณ์นี้ทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีเจตนาในการตำหนิ หรือเข้าไปแทรกแซงการทำงานของสื่อ เพียงแต่อยากให้มีการตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริงก่อนนำเสนอ เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาได้ อย่างไรก็ตาม จากนี้คงจะมีการประสานงานร่วมกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องข้อมูลข่าวสารเพื่อให้การนำเสนอเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นธรรม และรวดเร็ว
ขณะที่สมาคมนักข่าวพัทยา กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นคงไม่โทษใคร เพราะต่างคนต่างมีหน้าที่ทำงานในคนละส่วน แต่สื่อเองก็คงต้องประกาศจุดยืนให้เห็นว่าต้องทำงานด้วยความซื่อตรง และนำเสนอข้อเท็จจริงออกสู่สาธารณะ เนื่องจาก “ผู้สื่อข่าว” ถือว่าเป็นบุคคล หรือองค์กรที่สำคัญในการทำหน้าที่ตรวจสอบ พร้อมนำเสนอข้อเท็จจริงของปัญหา หรือเหตุการณ์ที่รวดเร็ว เที่ยงตรง และเป็นธรรม ออกสู่สังคมโดยทั่วไป เพื่อให้ได้รับทราบความเคลื่อนไหว โดยมี “จรรยาบรรณ” ของวิชาชีพเป็นบรรทัดฐานหลักในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องอยู่แล้ว โดยสามารถทำงานเพื่อเห็นแก่บุคคล องค์กรหรือหน่วยงานใดๆ แม้จะมีการหยิบยื่นผลประโยชน์ หรือพยายามกดดัน บีบคั้น หรือการตำหนิในการทำงานดังกล่าว หากพบว่าการนำเสนอข่าวสารนั้นเป็นไปด้วยความถูกต้อง
วันนี้ (8 มี.ค.) สมาคมนักข่าวพัทยา นำโดย นายอัมพร แสงแก้ว นายกสมาคมฯ พร้อมคณะที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหาร และผู้สื่อข่าวในสังกัดจำนวนกว่า 20 คน เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 เพื่อยื่นหนังสือเปิดผนึกประกาศจุดยืนของการประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน หลังเกิดกรณีที่มีสื่อมวลชนในสังกัดสมาคมฯ นำเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเสียชีวิตอย่างปริศนา เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา
โดยมีการตั้งไว้ 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ การฆาตกรรม และการฆ่าตัวตาย ปรากฏว่า จากการนำเสนอรายงานข่าวดังกล่าวออกไปสู่สาธารณะนั้น ผู้สื่อข่าวกลับได้รับการตอบสนองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง โดยการตำหนิว่าการนำเสนอบิดเบือนผิดเพี้ยนจากข้อเท็จจริง พร้อมระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่เห็นแก่ส่วนรวม เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบ และเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาโดยตรง แม้ผู้สื่อข่าวจะพยายามชี้แจง และแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าวไปแล้วว่าเป็นการกระทำตามหน้าที่เพียงเท่านั้น เนื่องจากสภาพที่เกิดเหตุบ่งชี้อาจเป็นการเสียชีวิตที่น่าสงสัย ทั้งนี้ เพราะสภาพศพ และหลักฐานที่ตรวจพบนั้นส่อไปในทางฆาตกรรม ขณะที่พนักงานสอบสวน แพทย์ และเจ้าหน้าที่กู้ภัยก็ระบุสาเหตุไว้ 2 ประเด็นหลักเช่นกัน
สิ่งที่เกิดขึ้นสมาคมนักข่าวพัทยาจึงเล็งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต้องชี้แจงถึงจุดยืนในการปฏิบัติ เนื่องจาก “ผู้สื่อข่าว” ถือว่าเป็นบุคคล หรือองค์กรที่สำคัญในการทำหน้าที่ตรวจสอบ พร้อมนำเสนอข้อเท็จจริงของปัญ หา หรือเหตุการณ์ที่รวดเร็ว เที่ยงตรง และเป็นธรรมออกสู่สาธารณชน อันจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชน และสังคมโดยทั่วไป เพื่อให้ได้รับทราบความเคลื่อนไหว โดยมี “จรรยาบรรณ” ของวิชาชีพเป็นบรรทัดฐาน หรือกรอบหลักในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติอยู่แล้ว โดยไม่หวังแก่ผลประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อมในเรื่องราวที่นำมาเสนอ
จึงได้เดินทางเข้าพบเพื่อชี้แจงอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ทาง พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ได้รับหนังสือดังกล่าวไว้ พร้อมชี้แจงว่า ได้ทำการประสานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจไปแล้ว และคงไม่มีปัญหาอะไรระหว่างกัน โดยถือว่าเป็นการทำงานคนละบทบาทหน้าที่ แต่ก็คงต้องประสานงานร่วมกันต่อไป
ขณะที่ พล.ต.ต.คัชชา ธาตุศาสตร์ ผบก.ภ.จว.ชลบุรี กล่าวภายหลังจากที่คณะสื่อมวลชนเมืองพัทยาเข้าพบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคงเป็นการเข้าใจผิดมากกว่า เพราะเหตุการณ์นี้ทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีเจตนาในการตำหนิ หรือเข้าไปแทรกแซงการทำงานของสื่อ เพียงแต่อยากให้มีการตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริงก่อนนำเสนอ เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาได้ อย่างไรก็ตาม จากนี้คงจะมีการประสานงานร่วมกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องข้อมูลข่าวสารเพื่อให้การนำเสนอเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นธรรม และรวดเร็ว
ขณะที่สมาคมนักข่าวพัทยา กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นคงไม่โทษใคร เพราะต่างคนต่างมีหน้าที่ทำงานในคนละส่วน แต่สื่อเองก็คงต้องประกาศจุดยืนให้เห็นว่าต้องทำงานด้วยความซื่อตรง และนำเสนอข้อเท็จจริงออกสู่สาธารณะ เนื่องจาก “ผู้สื่อข่าว” ถือว่าเป็นบุคคล หรือองค์กรที่สำคัญในการทำหน้าที่ตรวจสอบ พร้อมนำเสนอข้อเท็จจริงของปัญหา หรือเหตุการณ์ที่รวดเร็ว เที่ยงตรง และเป็นธรรม ออกสู่สังคมโดยทั่วไป เพื่อให้ได้รับทราบความเคลื่อนไหว โดยมี “จรรยาบรรณ” ของวิชาชีพเป็นบรรทัดฐานหลักในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องอยู่แล้ว โดยสามารถทำงานเพื่อเห็นแก่บุคคล องค์กรหรือหน่วยงานใดๆ แม้จะมีการหยิบยื่นผลประโยชน์ หรือพยายามกดดัน บีบคั้น หรือการตำหนิในการทำงานดังกล่าว หากพบว่าการนำเสนอข่าวสารนั้นเป็นไปด้วยความถูกต้อง