ชาวไซปรัสผู้โกรธแค้นหลายร้อยคน ชุมนุมประท้วงด้านนอกอาคารรัฐสภาช่วงบ่ายวันจันทร์(18) เพื่อต่อต้านแผนเก็บภาษัเงินฝากภายใต้เงื่อนไขกู้ยืมเงินของอียู ขณะที่รัฐมนตรีคลังยูโรโซน หารือทางไกลด่วนเพื่อทบทวนข้อตกลงดังกล่าว โดยธนาคารทุกแห่งบนไซปรัสจะปิดทำการยาวเหยียดอย่างน้อยจนถึงวันพฤหัสบดี(21)เฝ้ารอผลสรุปของการพูดคุย ท่ามกลางกระแสความตื่นตระหนกของประชาชนที่แห่ถอนเงินจำนวนมาก
"เราไม่ใช่หนูทดลองของพวกคุณ" ผู้ประท้วงชูป้ายข้อความเป็นภาษาอังกฤษ ขณะเดียวกันยังพบเห็นป้ายข้อความบางส่วนเขียนคำเตือนประเทศสมาชิกอียูอื่นๆที่กำลังประสบวิกฤตทางการเงิน อย่างเช่นสเปนและอิตาลี ว่าอาจเป็นชาติต่อไปที่ต้องเจอมาตรการอันแสนเจ็บปวดแบบพวกเขา
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (16) ไซปรัสและเจ้าหนี้ระหว่างประเทศอันประกอบด้วยสหภาพยุโรป (อียู), ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี), และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตกลงกันได้ที่จะให้เงินกู้ 10,000 ล้านยูโร (13,000 ล้านดอลลาร์) แก่ไซปรัสเพื่อช่วยให้ไม่ต้องตกอยู่ในภาวะล้มละลาย โดยมีเงื่อนไขว่า ประเทศเกาะขนาดเล็กแห่งนี้ต้องเรียกเก็บภาษีเงินฝากทั้งหมดไม่มีข้อยกเว้น ทั้งนี้หากเป็นเงินฝากต่ำกว่า 100,000 ยูโรจะถูกเรียกเก็บภาษี 6.75% และ 9.9% สำหรับเงินฝาก 100,000 ยูโรขึ้นไป
แม้ข้อเสนอดังกล่าวยังต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไซปรัส แต่มันก่อคลื่นความช็อคและความโกรธกริ้วต่อประชาชนชาวไซปรัสและต่างชาติโดยเฉพาะรัสเซียที่มีเงินฝากจำนวนมากอยู่ในประเทศนี้ รวมถึงจุดชนวนความวิตกกังวลในตลาดการเงินทั่วโลก
วาระการพิจารณารับรองข้อตกลงกู้เงินนี้ของรัฐสภา เดิมทีจะมีขึ้นในตอนบ่ายวันจันทร์(18) แต่ต้องถูกเลื่อนไปเป็นตอน 18.00 น.วันอังคาร (ตรงกับ 23.00 น.วันอังคาร เวลาเมืองไทย)ขณะที่พวกรัฐมนตรีของชาติยูโรโซนเล็กๆ รายนี้ พยายามเจรจาต่อรองเพื่อขอให้เจ้าหนี้ผ่อนปรนเงื่อนไข ซึ่งกำลังก่อกระแสความหวาดวิตกไปทั่วยูโรโซน ฉุดหุ้นทั่วโลกตก และเงินยูโรอ่อนยวบ
มีรายงานว่า พวกรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบหลายๆ คนของไซปรัสกำลังพยายามวิ่งวุ่นต่อรอง เพื่อให้เงินฝากธนาคารที่ไม่เกิน 100,000 ยูโร ไม่ถูกเก็บภาษี แต่ส่วนที่เกิน 100,000 ยูโร จะถูกเก็บสูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดทอนผลกระทบที่จะมีต่อผู้ฝากเงินรายย่อย
ทั้งนี้มีรายงานว่ารัฐมนตรคลังยูโรโซน ได้นัดถกทางไกลฉุกเฉินในค่ำคืนวันจันทร์(18) เพื่อทบทวนเงื่อนไขในข้อตกลงกู้ยืมเงิน "เราต้องการลดผลกระทบที่มีต่อผู้ฝากเงินรายย่อยจริงๆ แต่เป้าหมายยังคงวัตถุประสงค์เดิม นั่นคือเพิ่มรายได้แก่รัฐ 5,800 ล้านยูโร" เจ้าหน้าที่รายหนึ่งบอก
"เราไม่ใช่หนูทดลองของพวกคุณ" ผู้ประท้วงชูป้ายข้อความเป็นภาษาอังกฤษ ขณะเดียวกันยังพบเห็นป้ายข้อความบางส่วนเขียนคำเตือนประเทศสมาชิกอียูอื่นๆที่กำลังประสบวิกฤตทางการเงิน อย่างเช่นสเปนและอิตาลี ว่าอาจเป็นชาติต่อไปที่ต้องเจอมาตรการอันแสนเจ็บปวดแบบพวกเขา
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (16) ไซปรัสและเจ้าหนี้ระหว่างประเทศอันประกอบด้วยสหภาพยุโรป (อียู), ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี), และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตกลงกันได้ที่จะให้เงินกู้ 10,000 ล้านยูโร (13,000 ล้านดอลลาร์) แก่ไซปรัสเพื่อช่วยให้ไม่ต้องตกอยู่ในภาวะล้มละลาย โดยมีเงื่อนไขว่า ประเทศเกาะขนาดเล็กแห่งนี้ต้องเรียกเก็บภาษีเงินฝากทั้งหมดไม่มีข้อยกเว้น ทั้งนี้หากเป็นเงินฝากต่ำกว่า 100,000 ยูโรจะถูกเรียกเก็บภาษี 6.75% และ 9.9% สำหรับเงินฝาก 100,000 ยูโรขึ้นไป
แม้ข้อเสนอดังกล่าวยังต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไซปรัส แต่มันก่อคลื่นความช็อคและความโกรธกริ้วต่อประชาชนชาวไซปรัสและต่างชาติโดยเฉพาะรัสเซียที่มีเงินฝากจำนวนมากอยู่ในประเทศนี้ รวมถึงจุดชนวนความวิตกกังวลในตลาดการเงินทั่วโลก
วาระการพิจารณารับรองข้อตกลงกู้เงินนี้ของรัฐสภา เดิมทีจะมีขึ้นในตอนบ่ายวันจันทร์(18) แต่ต้องถูกเลื่อนไปเป็นตอน 18.00 น.วันอังคาร (ตรงกับ 23.00 น.วันอังคาร เวลาเมืองไทย)ขณะที่พวกรัฐมนตรีของชาติยูโรโซนเล็กๆ รายนี้ พยายามเจรจาต่อรองเพื่อขอให้เจ้าหนี้ผ่อนปรนเงื่อนไข ซึ่งกำลังก่อกระแสความหวาดวิตกไปทั่วยูโรโซน ฉุดหุ้นทั่วโลกตก และเงินยูโรอ่อนยวบ
มีรายงานว่า พวกรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบหลายๆ คนของไซปรัสกำลังพยายามวิ่งวุ่นต่อรอง เพื่อให้เงินฝากธนาคารที่ไม่เกิน 100,000 ยูโร ไม่ถูกเก็บภาษี แต่ส่วนที่เกิน 100,000 ยูโร จะถูกเก็บสูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดทอนผลกระทบที่จะมีต่อผู้ฝากเงินรายย่อย
ทั้งนี้มีรายงานว่ารัฐมนตรคลังยูโรโซน ได้นัดถกทางไกลฉุกเฉินในค่ำคืนวันจันทร์(18) เพื่อทบทวนเงื่อนไขในข้อตกลงกู้ยืมเงิน "เราต้องการลดผลกระทบที่มีต่อผู้ฝากเงินรายย่อยจริงๆ แต่เป้าหมายยังคงวัตถุประสงค์เดิม นั่นคือเพิ่มรายได้แก่รัฐ 5,800 ล้านยูโร" เจ้าหน้าที่รายหนึ่งบอก