วานนี้ (15 มี.ค.) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายเสน่ห์ เหล็กล้วน จำเลยที่ 1 นายประจวบ หินแก้ว จำเลยที่ 2 (เสียชีวิตในเรือนจำทั้งคู่) นายธนู หินแก้ว อาชีพทนายความ อายุ 51 ปี จำเลยที่ 3 นายมาโนช หินแก้ว อดีต ส.จ.ประจวบคีรีขันธ์ อายุ 47 ปี จำเลยที่ 4 และนายเจือ หินแก้ว อดีตกำนัน ต.บ่อบอก อายุ 76 ปี บิดานายธนู และนายมาโนช จำเลยที่ 5 ฐานร่วมกันจ้างวานฆ่าผู้อื่น
คดีนี้โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า เมื่อต้นปี 47-วันที่ 21 มิ.ย.47 ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 3-5 ได้ร่วมกันใช้จ้างวานให้จำเลยที่ 1-2 ฆ่านายเจริญ วัดอักษร อายุ 37 ปี ประธานกลุ่มรักษ์ถิ่นบ่อนอก ที่ต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ของบริษัท กัลฟ์ อิเล็คทรอนิค ขณะกลับจากเดินทางไปให้ปากคำกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องการบุกรุกที่ดินสาธารณะคลองชายธงในเขต อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ โดยจำเลยที่ 1- 2 ร่วมกันใช้ปืนยิงนายเจริญจนถึงแก่ความตาย เหตุเกิดที่ศาลาพักผู้โดยสาร ใกล้สี่แยกบ่อนอก อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเวลา 21.00 น.วันที่ 21 มิ.ย.47
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษา จำเลยที่ 1-3 มีความใกล้ชิดอยู่พักร่วมกันก่อนเกิดเหตุ และมีเหตุจูงใจในการฆ่าผู้ตาย คือต้องการฆ่าผู้คัดค้านการได้รับผลประโยชน์ แม้จำเลยที่ 1-2 เสียชีวิตระหว่างการพิจารณาก็ไม่ได้ทำให้คำให้การมีน้ำหนักลดน้อยลง ส่วนจำเลยที่ 3 อ้างถิ่นที่อยู่ขณะเกิดเหตุ เป็นคำกล่าวอ้างลอยๆ ปราศจากน้ำหนัก พิพากษาว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตามฟ้อง ให้ประหารชีวิตเพียงคนเดียว
ส่วนจำเลยที่ 4 แม้โจทก์จะมีบันทึกการโทรศัพท์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 แต่ไม่มีความชัดเจนว่าพูดเรื่องอะไร ไม่พอฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมใช้จ้างวานฆ่าผู้ตาย ขณะที่จำเลยที่ 5 พยานโจทก์ยังฟังไม่ได้เป็นเจ้าของปืน โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยให้การพาดพิงจำเลยที่ 5 แต่อย่างใด ขณะที่จำเลยที่ 2 แม้เคยให้การถึงจำเลยที่ 5 แต่ก็กลับคำให้การกลับไปมาจนน่าสงสัย ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 5 ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 4-5 แต่ให้ขังเฉพาะจำเลยที่ 5 ไว้ระหว่างอุทธรณ์ จำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง ขณะที่อัยการโจทก์ ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4-5 ด้วย
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยที่ 3-5 จ้างวานใช้จำเลยที่ 1-2 ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงในจำเลยที่ 3 ได้ความว่า ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 5 ซึ่งจำเลยที่ 1 พักอาศัยอยู่ จากนั้นจำเลยที่ 1 ขี่รถ จยย.ที่จำเลยที่ 2 ซ้อนท้ายไปยังที่เกิดเหตุ โดยได้ความจากจำเลยที่ 3 ว่าเป็นผู้นำปืนลูกโม่ .38 มอบให้จำเลยที่ 2 และได้ความจากจำเลยที่ 4 ว่า ก่อนและหลังเกิดเหตุได้โทรศัพท์ติดต่อกับจำเลยทั้ง 2 ส่วนจำเลยที่ 5 ได้ความเพียงว่า ปืนที่จำเลยที่ 2 ใช้ มีผู้นำมาจำนำไว้กับภรรยาจำเลยที่ 5 แม้ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1-2 ยอมรับว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้สั่งให้ยิงผู้ตาย แต่นอกจากนี้แล้วโจทก์ก็ไม่มีพยานหลักฐานอื่นอีก
ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1-2 ถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาคดีของศาล คำให้การต่างๆ ของจำเลยที่ 1-2 ไม่ว่าในชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน หรือการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำสารภาพล้วนเป็นพยานบอกเล่า อีกทั้งยังเป็นคำซัดทอดถึงจำเลยอื่นๆที่อ้างว่าร่วมกระทำผิดด้วยกัน เป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักให้รับฟัง นอกจากนี้ พ.ต.อ.ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล พนักงานสอบสวนในคดีนี้ ยังเบิกความตอบคำถามค้านว่า ตามบันทึกคำให้การของจำเลยที่ 1-2 ไม่มีข้อความใดระบุว่าจำเลยที่ 4-5 เป็นผู้จ้างวานใช้ให้ไปยิงผู้ตาย และตามสำนวนการสอบสวนที่ได้รับจาก บช.ภ.7 ไม่มีข้อมูลใดที่ว่าจำเลยที่ 5 ร่วมกระทำผิด
ทั้งนี้ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่สำคัญที่มีเหตุผลอันแน่นอน หรือพฤติการณ์พิเศษแห่งคดีมาสนับสนุนให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 3-5 ร่วมกระทำผิด ศาลไม่อาจฟังลงโทษจำเลยที่ 3-5 จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 4-5 ให้ยกฟ้องตามศาลชั้นต้น
หลังฟังคำพิพากษา นายธนูและกลุ่มญาติที่มาร่วมฟังคำพิพากษาต่างแสดงความดีใจ ขณะที่นายธนูไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆได้แต่ยิ้ม ขณะที่ครอบครัวนายเจริญ ผู้ตาย และมวลชนกลุ่มรักษ์ถิ่นบ่อนอกไม่ได้เดินทางมาร่วมฟังคำพิพากษาครั้งนี้
คดีนี้โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า เมื่อต้นปี 47-วันที่ 21 มิ.ย.47 ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 3-5 ได้ร่วมกันใช้จ้างวานให้จำเลยที่ 1-2 ฆ่านายเจริญ วัดอักษร อายุ 37 ปี ประธานกลุ่มรักษ์ถิ่นบ่อนอก ที่ต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ของบริษัท กัลฟ์ อิเล็คทรอนิค ขณะกลับจากเดินทางไปให้ปากคำกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องการบุกรุกที่ดินสาธารณะคลองชายธงในเขต อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ โดยจำเลยที่ 1- 2 ร่วมกันใช้ปืนยิงนายเจริญจนถึงแก่ความตาย เหตุเกิดที่ศาลาพักผู้โดยสาร ใกล้สี่แยกบ่อนอก อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเวลา 21.00 น.วันที่ 21 มิ.ย.47
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษา จำเลยที่ 1-3 มีความใกล้ชิดอยู่พักร่วมกันก่อนเกิดเหตุ และมีเหตุจูงใจในการฆ่าผู้ตาย คือต้องการฆ่าผู้คัดค้านการได้รับผลประโยชน์ แม้จำเลยที่ 1-2 เสียชีวิตระหว่างการพิจารณาก็ไม่ได้ทำให้คำให้การมีน้ำหนักลดน้อยลง ส่วนจำเลยที่ 3 อ้างถิ่นที่อยู่ขณะเกิดเหตุ เป็นคำกล่าวอ้างลอยๆ ปราศจากน้ำหนัก พิพากษาว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตามฟ้อง ให้ประหารชีวิตเพียงคนเดียว
ส่วนจำเลยที่ 4 แม้โจทก์จะมีบันทึกการโทรศัพท์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 แต่ไม่มีความชัดเจนว่าพูดเรื่องอะไร ไม่พอฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมใช้จ้างวานฆ่าผู้ตาย ขณะที่จำเลยที่ 5 พยานโจทก์ยังฟังไม่ได้เป็นเจ้าของปืน โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยให้การพาดพิงจำเลยที่ 5 แต่อย่างใด ขณะที่จำเลยที่ 2 แม้เคยให้การถึงจำเลยที่ 5 แต่ก็กลับคำให้การกลับไปมาจนน่าสงสัย ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 5 ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 4-5 แต่ให้ขังเฉพาะจำเลยที่ 5 ไว้ระหว่างอุทธรณ์ จำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง ขณะที่อัยการโจทก์ ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4-5 ด้วย
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยที่ 3-5 จ้างวานใช้จำเลยที่ 1-2 ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงในจำเลยที่ 3 ได้ความว่า ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 5 ซึ่งจำเลยที่ 1 พักอาศัยอยู่ จากนั้นจำเลยที่ 1 ขี่รถ จยย.ที่จำเลยที่ 2 ซ้อนท้ายไปยังที่เกิดเหตุ โดยได้ความจากจำเลยที่ 3 ว่าเป็นผู้นำปืนลูกโม่ .38 มอบให้จำเลยที่ 2 และได้ความจากจำเลยที่ 4 ว่า ก่อนและหลังเกิดเหตุได้โทรศัพท์ติดต่อกับจำเลยทั้ง 2 ส่วนจำเลยที่ 5 ได้ความเพียงว่า ปืนที่จำเลยที่ 2 ใช้ มีผู้นำมาจำนำไว้กับภรรยาจำเลยที่ 5 แม้ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1-2 ยอมรับว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้สั่งให้ยิงผู้ตาย แต่นอกจากนี้แล้วโจทก์ก็ไม่มีพยานหลักฐานอื่นอีก
ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1-2 ถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาคดีของศาล คำให้การต่างๆ ของจำเลยที่ 1-2 ไม่ว่าในชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน หรือการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำสารภาพล้วนเป็นพยานบอกเล่า อีกทั้งยังเป็นคำซัดทอดถึงจำเลยอื่นๆที่อ้างว่าร่วมกระทำผิดด้วยกัน เป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักให้รับฟัง นอกจากนี้ พ.ต.อ.ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล พนักงานสอบสวนในคดีนี้ ยังเบิกความตอบคำถามค้านว่า ตามบันทึกคำให้การของจำเลยที่ 1-2 ไม่มีข้อความใดระบุว่าจำเลยที่ 4-5 เป็นผู้จ้างวานใช้ให้ไปยิงผู้ตาย และตามสำนวนการสอบสวนที่ได้รับจาก บช.ภ.7 ไม่มีข้อมูลใดที่ว่าจำเลยที่ 5 ร่วมกระทำผิด
ทั้งนี้ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่สำคัญที่มีเหตุผลอันแน่นอน หรือพฤติการณ์พิเศษแห่งคดีมาสนับสนุนให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 3-5 ร่วมกระทำผิด ศาลไม่อาจฟังลงโทษจำเลยที่ 3-5 จึงพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 4-5 ให้ยกฟ้องตามศาลชั้นต้น
หลังฟังคำพิพากษา นายธนูและกลุ่มญาติที่มาร่วมฟังคำพิพากษาต่างแสดงความดีใจ ขณะที่นายธนูไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆได้แต่ยิ้ม ขณะที่ครอบครัวนายเจริญ ผู้ตาย และมวลชนกลุ่มรักษ์ถิ่นบ่อนอกไม่ได้เดินทางมาร่วมฟังคำพิพากษาครั้งนี้