นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) แถลงข่าวเรื่อง "300 บาทรัฐให้ แต่นายจ้าง..ปล้นไป" ว่า หลังจากรัฐบาลมีนโยบายขึ้นค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศ เหมือนกับเป็นตอกย้ำให้เกิดระบบค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรมในประเทศไทย เกิดความกดดันหลายกรณีจนนำมาสู่การเลิกจ้าง โดยตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงปัจจุบัน คสรท.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากแรงงานจำนวน 2,158 ราย ในหลายกรณี เช่น การปิดโรงงานลอยแพลูกจ้าง ไม่ยอมปรับค่าจ้าง 300 บาท นายจ้างเพิ่มเวลาการทำงานเป็น 9 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าทำงานล่วงเวลา และมีการหักสวัสดิการ เป็นต้น ที่ผ่านมา คสรท.ได้ยื่นข้อเรียกร้องและเข้าเจราจากับกระทรวงแรงงานหลายครั้ง แต่ไม่สามารถบรรเทาความเดือดร้อนผู้ใช้แรงงานได้
ในการแถลงข่าววันนี้ นายชาลี ได้นำตัวแทนสหภาพแรงงานของ 4 บริษัท ที่ประสบปัญหาการถูกเลิกจ้าง หลังจากออกมาเคลื่อนไหวปรับสภาพการจ้างงาน ประกอบด้วย 1.สหภาพแรงงานอิเล็กโทรลักซ์ ประเทศไทย ถูกเลิกจ้าง 129 คน 2.สหภาพแรงงานเจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) 3.สหภาพแรงงานการขนส่งแห่งประเทศไทย ในฐานะลูกจ้างบริษัท ลินฟอกซ์ ทรานสปอร์ต (ประเทศไทย จำกัด) ถูกเลิกจ้าง 50 คน และ 4.สหภาพแรงงานเอ็นเอ็กซ์พี แมนูแฟคเจอริ่ง
จากสถานการณ์ดังกล่าว คสรท.จึงจะยกระดับการต้อสู้ เพื่อให้คนงานได้รับความเป็นธรรม โดยในวันพรุ่งนี้ (13 มี.ค.) พนักงานทั้ง 4 บริษัท ประมาณ 600 คน จะเดินทางไปยังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และออสเตรเลียประจำประเทศไทย เพื่อให้สถานทูตทราบถึงชะตากรรมของแรงงานไทย และรับทราบถึงการที่นักลงทุนของประเทศเหล่านี้ที่มาลงทุนในไทยมีพฤติกรรมอย่างไร ก่อนจะเดินทางไปชุมนุมต่อที่ด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล
ในการแถลงข่าววันนี้ นายชาลี ได้นำตัวแทนสหภาพแรงงานของ 4 บริษัท ที่ประสบปัญหาการถูกเลิกจ้าง หลังจากออกมาเคลื่อนไหวปรับสภาพการจ้างงาน ประกอบด้วย 1.สหภาพแรงงานอิเล็กโทรลักซ์ ประเทศไทย ถูกเลิกจ้าง 129 คน 2.สหภาพแรงงานเจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) 3.สหภาพแรงงานการขนส่งแห่งประเทศไทย ในฐานะลูกจ้างบริษัท ลินฟอกซ์ ทรานสปอร์ต (ประเทศไทย จำกัด) ถูกเลิกจ้าง 50 คน และ 4.สหภาพแรงงานเอ็นเอ็กซ์พี แมนูแฟคเจอริ่ง
จากสถานการณ์ดังกล่าว คสรท.จึงจะยกระดับการต้อสู้ เพื่อให้คนงานได้รับความเป็นธรรม โดยในวันพรุ่งนี้ (13 มี.ค.) พนักงานทั้ง 4 บริษัท ประมาณ 600 คน จะเดินทางไปยังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และออสเตรเลียประจำประเทศไทย เพื่อให้สถานทูตทราบถึงชะตากรรมของแรงงานไทย และรับทราบถึงการที่นักลงทุนของประเทศเหล่านี้ที่มาลงทุนในไทยมีพฤติกรรมอย่างไร ก่อนจะเดินทางไปชุมนุมต่อที่ด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล