พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กล่าวว่า จากกรณีที่ Financial Action Task Force (FATF) ได้มีมติขึ้นบัญชีรายชื่อประเทศไทยเป็นแบล็คลิสต์ใน Public Statement โดยจัดให้ประเทศไทยไว้ในกลุ่มที่มีข้อบกพร่องด้านการปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่แผนก่อการร้าย (AML/CFT) และยังเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ เฝ้าระวังความเสี่ยงในการทำธุรกรรมกับไทยนั้น ทั้งนี้ภายหลังประเทศไทยให้ความสำคัญ และร่วมกันผลักดันแก้ไขกฎหมายฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายจนประสบความสำเร็จ
เหตุนี้การประชุม FATF ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 18-22 ก.พ.ที่ผ่านมา จึงมีมติว่าประเทศไทยมีความคืบหน้าอย่างมากในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT จึงถอดชื่อประเทศไทยออกจากการเป็นแบล็คลิสต์ใน FATF Public Statement
อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่จะถอดประเทศไทยจาก Public Statement อย่างสมบูรณ์นั้น FATF จะส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าประเทศไทยดำเนินการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินการอื่นๆเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องอย่างเป็นรูปธรรม โดยต้องดำเนินการประกอบไปด้วย 1.ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าฉบับใหม่ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลอย่างเต็มที่ 2.การตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4) เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในสาระสำคัญที่ยังคงอยู่บางส่วนมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม
3.บังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ 4.เสริมสร้างการกำกับดูแลสถาบันการเงินและภาคการเงินให้ปฏิบัติตามกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวและอนุบัญญัติอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญจาก FATF จะเดินทางมายังประเทศไทยในเดือนพ.ค. 2556 หากผลการตรวจสอบพบว่าประเทศไทยสามารถดำเนินการข้างต้นได้ ก็จะนำความเห็นเสนอต่อที่ประชุม FATF ในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อถอดชื่อออกจาก Public Statement อย่างสมบูรณ์ต่อไป
เหตุนี้การประชุม FATF ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 18-22 ก.พ.ที่ผ่านมา จึงมีมติว่าประเทศไทยมีความคืบหน้าอย่างมากในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT จึงถอดชื่อประเทศไทยออกจากการเป็นแบล็คลิสต์ใน FATF Public Statement
อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่จะถอดประเทศไทยจาก Public Statement อย่างสมบูรณ์นั้น FATF จะส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าประเทศไทยดำเนินการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินการอื่นๆเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องอย่างเป็นรูปธรรม โดยต้องดำเนินการประกอบไปด้วย 1.ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าฉบับใหม่ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลอย่างเต็มที่ 2.การตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4) เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในสาระสำคัญที่ยังคงอยู่บางส่วนมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม
3.บังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ 4.เสริมสร้างการกำกับดูแลสถาบันการเงินและภาคการเงินให้ปฏิบัติตามกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวและอนุบัญญัติอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญจาก FATF จะเดินทางมายังประเทศไทยในเดือนพ.ค. 2556 หากผลการตรวจสอบพบว่าประเทศไทยสามารถดำเนินการข้างต้นได้ ก็จะนำความเห็นเสนอต่อที่ประชุม FATF ในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อถอดชื่อออกจาก Public Statement อย่างสมบูรณ์ต่อไป