วานนี้(24 ก.พ.56) พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เปิดเผยว่า ผลการประชุมของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน หรือ เอฟเอทีเอฟ (FATF) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา มีมติยกระดับประเทศไทยจากประเทศเสี่ยงอย่างร้ายแรงต่อการฟอกเงินหรือการสนับสนุนการเงินแก่การการก่อร้าย (Dark Gray หรือ Black List) ให้เป็นประเทศที่มีความคืบหน้าในการแก้ปัญหาการฟอกเงินและการก่อการร้าย ภายหลังประเทศไทยได้ออกกฎหมายฟอกเงิน ฉบับเพิ่มเติม และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การการร้าย รวมทั้งอนุบัญญัติหรือกฎหมายลูกครบถ้วน
ส่วนกฎกระทรวง 2 ฉบับ ประกอบด้วย กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการก่ออาชญากรรมทางการเงินและการก่อการร้าย และกฎกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องของหลักเกณฑ์วิธีการในการประกาศบุคคลที่ถูกกำหนดว่าสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และมีความวิตกว่ากรณีกฎหมายใหม่ 2 ฉบับดังกล่าวอาจไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน นั้น ปปง.มองในอีกมิติหนึ่งที่ไม่ใช่มิติของการฟอกเงิน อาทิ ความผิดมูลฐานที่กำหนดขึ้นและก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งที่จริงผู้กระทำผิดได้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญาอยู่แล้ว และต้องถูกดำเนินคดีอาญา จึงไม่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายฟอกเงิน ถึงแม้ไม่มีกฎหมายฟอกเงิน แต่ความผิดมูลฐานเหล่านี้ก็มีอยู่ จึงไม่ได้เป็นการเขียนกฎหมายขึ้นมาใหม่
ส่วนกฎกระทรวง 2 ฉบับ ประกอบด้วย กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการก่ออาชญากรรมทางการเงินและการก่อการร้าย และกฎกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องของหลักเกณฑ์วิธีการในการประกาศบุคคลที่ถูกกำหนดว่าสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และมีความวิตกว่ากรณีกฎหมายใหม่ 2 ฉบับดังกล่าวอาจไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน นั้น ปปง.มองในอีกมิติหนึ่งที่ไม่ใช่มิติของการฟอกเงิน อาทิ ความผิดมูลฐานที่กำหนดขึ้นและก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าจะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งที่จริงผู้กระทำผิดได้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญาอยู่แล้ว และต้องถูกดำเนินคดีอาญา จึงไม่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายฟอกเงิน ถึงแม้ไม่มีกฎหมายฟอกเงิน แต่ความผิดมูลฐานเหล่านี้ก็มีอยู่ จึงไม่ได้เป็นการเขียนกฎหมายขึ้นมาใหม่