ในการเสวนาหัวข้อ "ก้าวต่อไปของผู้หญิง นักปกป้องสิทธิมนุษยชน" นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ กล่าวว่า การทำงานของผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือ ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจะถูกเจ้าหน้าที่รัฐมองแง่ลบว่า เป็นฝ่ายตรงข้าม และต่อต้านนโยบายของรัฐบาล จึงไม่ยอมรับในนโยบายของนักสิทธิมนุษยชนนำเสนอ
นอกจากนี้ ต้องเผชิญปัญหาการข่มขู่ คุกคาม ถูกทำร้ายร่างกาย ขณะที่กระทรวงยุติธรรมยังไม่มีมาตรการคุ้มครองบุคคลกลุ่มนี้เท่าที่ควร ทั้งที่ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติตามข้อมติที่ 53/144 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2542 กำหนดปฏิญญาว่าด้วยพิทักษ์สิทธิมนุษยชนส่งเสริม และคุ้มครองบุคคลที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเสนอว่ารัฐบาลควรเปิดพื้นที่รับความคิดเห็นที่เป็นอิสระของนักสิทธิมนุษยชน เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนอย่างเสรี รวมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครองบรรจุในนโยบายของรัฐ และเปิดโอกาสให้เข้ามาตรวจสอบการทำงานของรัฐ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส นอกจากนี้ควรปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐต่อนักสิทธิมนุษยชนใหม่
นอกจากนี้ นางอังคณา กล่าวเสนอวิธีการแก้ปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ว่า ควรส่งเสริมให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ร่วมกับรัฐบาล สร้างหลักประกันในความเท่าเทียม โดยกำหนดให้ผู้หญิงเป็นหนึ่งในคณะกรรมการต่างๆ ตามสัดส่วนที่เหมาะสม ปกป้อง และคุ้มครองผู้หญิง เด็กหญิงจากการกระทำรุนแรง โดยต้องติดตามผู้กระทำผิดมารับโทษ และสร้างกลไกชดเชยเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ต้องเผชิญปัญหาการข่มขู่ คุกคาม ถูกทำร้ายร่างกาย ขณะที่กระทรวงยุติธรรมยังไม่มีมาตรการคุ้มครองบุคคลกลุ่มนี้เท่าที่ควร ทั้งที่ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติตามข้อมติที่ 53/144 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2542 กำหนดปฏิญญาว่าด้วยพิทักษ์สิทธิมนุษยชนส่งเสริม และคุ้มครองบุคคลที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเสนอว่ารัฐบาลควรเปิดพื้นที่รับความคิดเห็นที่เป็นอิสระของนักสิทธิมนุษยชน เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนอย่างเสรี รวมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครองบรรจุในนโยบายของรัฐ และเปิดโอกาสให้เข้ามาตรวจสอบการทำงานของรัฐ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส นอกจากนี้ควรปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่รัฐต่อนักสิทธิมนุษยชนใหม่
นอกจากนี้ นางอังคณา กล่าวเสนอวิธีการแก้ปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ว่า ควรส่งเสริมให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ร่วมกับรัฐบาล สร้างหลักประกันในความเท่าเทียม โดยกำหนดให้ผู้หญิงเป็นหนึ่งในคณะกรรมการต่างๆ ตามสัดส่วนที่เหมาะสม ปกป้อง และคุ้มครองผู้หญิง เด็กหญิงจากการกระทำรุนแรง โดยต้องติดตามผู้กระทำผิดมารับโทษ และสร้างกลไกชดเชยเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพ