xs
xsm
sm
md
lg

ศาลกัมพูชาตัดสินจำคุกแพะคดีสังหารแกนนำสหภาพแรงงาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นายโสก สัม เอือน (ที่ 2 จากขวา) และนายบอน สัมนัง (เสื้อฟ้า) ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวขึ้นศาลในกรุงพนมเปญ วันที่ 27 ธ.ค. และถูกตัดสินความผิดจำคุก 20 ปี ในคดีสังหารแกนนำแรงงานเมื่อปี 2547 ซึ่งบรรดานักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนมองว่าทั้งคู่เป็นแพะรับบาป.  --  AFP PHOTO. </font></b>

เอเอฟพี - นักรณรงค์เรียกร้องสิทธิชาวกัมพูชาออกประณามคำตัดสินจำคุกชาย 2 คน เป็นระยะเวลา 20 ปี จากคดีสังหารแกนนำแรงงานที่มีชื่อเสียงในปี 2547 พร้อมระบุว่า ชายทั้งสองคนเป็นแพะรับบาป

นายเจีย วิเจีย ที่เป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ถูกยิงตอนกลางวันแสกๆ ที่แผงขายหนังสือพิมพ์ในกรุงพนมเปญ ซึ่งการสังหารครั้งนี้ ถูกระบุว่าเป็นความพยายามที่จะกำจัดเสียงจากสหภาพแรงงานของนายวิเจีย

ไม่กี่วันต่อมา นายบอน สัมนัง และนายโสก สัม เอือน ถูกจับกุมตัว และตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปี จากคำพิพากษาดังกล่าว กลุ่มเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า เป็นการตัดสินที่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ

ในปี 2551 ศาลฎีกามีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว และมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ แต่ศาลอุทธรณ์ระบุในวันนี้ (27) ว่า มีหลักฐานเพียงพอในการยืนยันความผิด และยังคงยืนยันคำตัดสินจำคุกทั้งคู่เป็นเวลา 20 ปี

นายอัม สัม อัธ นักสิทธิมนุษยชนท้องถิ่น กล่าวว่า ชายทั้งคู่เป็นเหยื่อผู้บริสุทธิ์

ชายทั้งคู่ต่างตะโกนร้องคำว่า “ยุติธรรม” และเรียกร้องความช่วยเหลือจากองค์กษัตริย์และนายกฯ ฮุนเซน ขณะถูกนำตัวออกจากศาลในสภาพถูกสวมกุญแจมือเพื่อเดินทางไปยังเรือนจำ ด้านทนายความของชายทั้งสองคนได้อุทธรณ์คำตัดสินในทันที

“ผมตกใจ และผิดหวังมากที่ศาลไม่มีความเป็นอิสระ และไม่มีความสามารถที่จะนำความยุติธรรมมาสู่คดีนี้” ประธานศูนย์สิทธิมนุษยชนกัมพูชากล่าว

เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งข้อกล่าวหาในตอนนั้นว่า ชายทั้งสองคนได้รับเงิน 5,000 ดอลลาร์ เพื่อดำเนินการสังหาร แต่ทั้งคู่ปฏิเสธความเกี่ยวข้อง และกล่าวว่า พวกเขาถูกตำรวจใส่ความ

เฮง โปว์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกรุงพนมเปญ ที่เป็นผู้นำการสืบสวน แต่ถูกจำคุกในข้อหาต่างๆ ในภายหลัง ได้ยืนยันว่า เป็นแรงจูงใจทางการเมือง และระบุว่า ชายทั้งสองคนไม่ได้ฆ่านายเจีย วิเจีย

นายเจีย วิเจีย เป็นผู้ก่อตั้งสหภาพแรงงานเสรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ร่วมกับนายสม รังสี ผู้นำฝ่ายค้าน และยังจัดการประท้วงหลายครั้งต่อสู้เรียกร้องสิทธิแรงงานโรงงานสิ่งทอ

กลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ระบบกฎหมายของกัมพูชาเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่รับใช้เพื่อผลประโยชน์ทางอำนาจ และความร่ำรวย ทำให้ประเทศนี้ไม่มีกฎหมาย.
กำลังโหลดความคิดเห็น