ผลพวงจากการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ทำให้มีแรงงานที่ถูกเลิกจ้างมาลงทะเบียนว่างงาน และสมัครงานที่สำนักงานจัดหางานในหลายจังหวัดมากขึ้นเป็นเท่าตัว ขณะที่แรงงานใน จ.ชัยภูมิ บางส่วนต้องยอมเดินทางไปทำงานไกลในต่างอำเภอ หลังโรงงานยุบสาขาการผลิต
โดยโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าหลายแห่งใน อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ต้องปิดตัวลง หลังไม่สามารถแบกรับภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศของรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมาได้ ทำให้คนงานกว่าครึ่งต้องย้ายไปทำงานในบริษัทสาขาใน อ.หนองวัวแดง ซึ่งไกลออกไปอีกกว่า 50 กิโลเมตร แม้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น ขณะที่บางส่วนเลือกที่จะลาออกเพื่อหางานใหม่
ส่วนแรงงานหลายพื้นที่ที่ถูกเลิกจ้าง ทยอยมาลงทะเบียนว่างงาน และสมัครงานที่สำนักงานจัดหางาน จ.นครราชสีมา โดยนางอัญชลี สินธุพันธุ์ จัดหางานจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า เฉพาะเมื่อวานนี้ (2 ม.ค.) มีผู้มาลงทะเบียนว่างงานถึง 181 คน และคาดว่าจะมีประชาชนมาลงทะเบียนสมัครงานเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เนื่องจากบางส่วนเลือกกลับไปทำงานในบ้านเกิดที่มีค่าแรงขั้นต่ำไม่ต่างจากเมืองใหญ่
เช่นเดียวกับที่ จ.อุดรธานี ที่มีผู้ว่างงานทยอยมาลงทะเบียนว่างงานอย่างต่อเนื่อง โดยสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอุดรธานี ได้เรียกเครือข่ายโรงงานเกือบ 4,200 แห่ง มาชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เพื่อป้องกันผู้ประกอบการละเมิดกฎหมายแรงงาน โดยจะเฝ้าติดตามการดำเนินการของผู้ประกอบการในระยะยาว เนื่องจากหลายโรงงานอาจปรับลดสวัสดิการที่เป็นการทำผิดกฎหมายแรงงาน
ผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงยังทำให้เจ้าหน้าที่พื้นที่ชายแดนไทย-พม่า ด้าน จ.เชียงราย ต้องตรวจเข้มรถจากพม่า เพื่อป้องกันการลักลอบนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในไทย
นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ระบุว่า ธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรง 300 บาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ใช้แรงงาน เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า จึงสั่งให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 70 จังหวัด จับตาภาคธุรกิจเหล่านี้ รวมถึงธุรกิจเอสเอ็มอีด้วย โดยเฉพาะ 29 จังหวัดในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแบบก้าวกระโดด เช่นที่ จ.พะเยา ศรีสะเกษ น่าน สุรินทร์ ตาก โดยหากพบธุรกิจใดเกิดปัญหา ให้แจ้งต่อศูนย์สนับสนุนผู้ประกอบการให้พร้อมจ่ายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดเพื่อเข้าช่วยเหลือ
ทั้งนี้ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบปัญหาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน 2555 มีสถานประกอบการ 5 แห่ง เลิกจ้างแรงงานแล้ว 1,776 คน
โดยโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าหลายแห่งใน อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ต้องปิดตัวลง หลังไม่สามารถแบกรับภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศของรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมาได้ ทำให้คนงานกว่าครึ่งต้องย้ายไปทำงานในบริษัทสาขาใน อ.หนองวัวแดง ซึ่งไกลออกไปอีกกว่า 50 กิโลเมตร แม้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น ขณะที่บางส่วนเลือกที่จะลาออกเพื่อหางานใหม่
ส่วนแรงงานหลายพื้นที่ที่ถูกเลิกจ้าง ทยอยมาลงทะเบียนว่างงาน และสมัครงานที่สำนักงานจัดหางาน จ.นครราชสีมา โดยนางอัญชลี สินธุพันธุ์ จัดหางานจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า เฉพาะเมื่อวานนี้ (2 ม.ค.) มีผู้มาลงทะเบียนว่างงานถึง 181 คน และคาดว่าจะมีประชาชนมาลงทะเบียนสมัครงานเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เนื่องจากบางส่วนเลือกกลับไปทำงานในบ้านเกิดที่มีค่าแรงขั้นต่ำไม่ต่างจากเมืองใหญ่
เช่นเดียวกับที่ จ.อุดรธานี ที่มีผู้ว่างงานทยอยมาลงทะเบียนว่างงานอย่างต่อเนื่อง โดยสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอุดรธานี ได้เรียกเครือข่ายโรงงานเกือบ 4,200 แห่ง มาชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เพื่อป้องกันผู้ประกอบการละเมิดกฎหมายแรงงาน โดยจะเฝ้าติดตามการดำเนินการของผู้ประกอบการในระยะยาว เนื่องจากหลายโรงงานอาจปรับลดสวัสดิการที่เป็นการทำผิดกฎหมายแรงงาน
ผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงยังทำให้เจ้าหน้าที่พื้นที่ชายแดนไทย-พม่า ด้าน จ.เชียงราย ต้องตรวจเข้มรถจากพม่า เพื่อป้องกันการลักลอบนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในไทย
นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ระบุว่า ธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรง 300 บาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ใช้แรงงาน เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า จึงสั่งให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 70 จังหวัด จับตาภาคธุรกิจเหล่านี้ รวมถึงธุรกิจเอสเอ็มอีด้วย โดยเฉพาะ 29 จังหวัดในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแบบก้าวกระโดด เช่นที่ จ.พะเยา ศรีสะเกษ น่าน สุรินทร์ ตาก โดยหากพบธุรกิจใดเกิดปัญหา ให้แจ้งต่อศูนย์สนับสนุนผู้ประกอบการให้พร้อมจ่ายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดเพื่อเข้าช่วยเหลือ
ทั้งนี้ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบปัญหาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน 2555 มีสถานประกอบการ 5 แห่ง เลิกจ้างแรงงานแล้ว 1,776 คน