ทำเนียบขาวและสมาชิกระดับท็อปของพรรครีพับลิกันในวุฒิสภา สามารถทำความตกลงกันได้ท่ามกลางการลุ้นระลึกของตลาดการเงินทั่วโลก เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้สหรัฐฯต้องขึ้นภาษีในช่วงปีใหม่ และชะลอเวลาการตัดลดงบประมาณรายจ่ายมโหฬารอย่างอัตโนมัติออกไป โดยที่ทั้งสองเรื่องนี้ซึ่งเรียกขานกันว่า ภาวะ “หน้าผาการคลัง” เป็นปัจจัยคุกคามที่ทำให้เกิดความกังวลกันมากว่าจะส่งให้เศรษฐกิจอเมริกาตกกลิ้งโคโร่สู่สภาพถดถอย และต่อเนื่องทำให้เศรษฐกิจทั่วพิภพต้องย่ำแย่ลงไปอีก
ภายหลังช่วงเวลาหลายๆ เดือนแห่งความวิตกทุกข์ร้อนเกี่ยวกับวิกฤตที่กำลังทำท่าจะบังเกิดขึ้นมา, ช่วงเวลาหลายๆ สัปดาห์แห่งการโต้เถียงกันเกี่ยวกับหนทางที่เป็นไปได้เพื่อการหลุดออกจากวิกฤต, และช่วงเวลาหลายๆ วันแห่งการเจรจาต่อรองกันอย่างเคร่งเครียดหลังบานประตูที่ปิดสนิท ในที่สุดวุฒิสภาของสหรัฐฯก็โหวตด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 89 ต่อ 8 เมื่อตอนก่อนใกล้รุ่งของวันอังคาร (1 มกราคม) ผ่านร่างกฎหมายซึ่งมีเนื้อหามุ่งทำให้สหรัฐฯสามารถหลีกพ้นจากการตกกลิ้งลงมาจาก “หน้าผาการคลัง” (fiscal cliff)
ขั้นตอนต่อไปก็คือ ร่างกฎหมายฉบับประนีประนอมท่ามกลางการโต้เถียงกันอย่างดุเดือดฉบับนี้ จะต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีกำหนดพิจารณากันในเวลาเที่ยงของวันขึ้นปีใหม่ (ตรงกับ 24.00 น.วันที่1 เวลาเมืองไทย) โดยที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวในคำแถลงที่ออกมาหลังร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านวุฒิสภา เรียกร้องให้สภาล่าง “ผ่านกฎหมายนี้โดยไม่มีการเตะถ่วง”
หากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านทั้ง 2 สภาได้สำเร็จ ก็จะถือเป็นชัยชนะของโอบามา จากการที่เขาสามารถกดดันให้มีการขึ้นอัตราภาษีซึ่งเก็บจากครัวเรือนที่มีเงินได้มากกว่าปีละ 450,000 ดอลลาร์ แต่สำหรับทุกๆ คนที่มีรายได้ต่ำกว่านั้น จะยังคงได้ประโยชน์จากมาตรการลดภาษีซึ่งใช้กันมาเป็นสิบปีแล้ว โดยที่จากร่างกฎหมายนี้ มาตรการดังกล่าวยังจะกลายเป็นเรื่องถาวร ไม่ต้องมาลุ้นต่ออายุกันอีก
“ขณะที่ทั้งชาวพรรคเดโมแครตและชาวพรรครีพับลิกันต่างก็ไม่ได้รับทุกสิ่งทุกอย่างตามที่พวกเขาต้องการไปเสียทั้งหมด แต่การตกลงกันคราวนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งถูกต้องที่จะต้องกระทำกันเพื่อประเทศชาติของเรา และสภาล่างควรที่จะต้องผ่านกฎหมายนี้โดยไม่มีการเตะถ่วง” โอบามาบอกไว้ในคำแถลงของเขา
ข้อตกลงคราวนี้ยังระบุให้ชะลอมาตรการตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลอย่างกว้างขวางโดยอัตโนมัติเป็นมูลค่ารวม 109,000 ล้านดอลลาร์ ออกไปก่อน 2 เดือน กระนั้นก็ตามที ถ้าหากเดโมแครตที่เป็นผู้ครองอำนาจบริหารและมีเสียงข้างมากในสภาสูง กับรีพับลิกันซึ่งเป็นผู้กุมสภาผู้แทนราษฎร ยังคงไม่สามารถต่อรองรอมชอมกันเกี่ยวกับรายละเอียดในการตัดลดงบประมาณรายจ่าย เพื่อให้ลดการขาดดุลงบประมาณของประเทศลงในระยะยาวได้สำเร็จแล้วภายในระยะเวลาที่เลื่อนออกไปนี้ มาตรการบังคับตัดลดงบประมาณโดยอัตโนมัติก็จะถูกนำมาบังคับใช้อยู่ดี ด้วยเหตุนี้ นี่จึงเป็นการปูพื้นให้แก่การโต้เถียงต่อรองกันก่อนจะถึงเส้นตายใหม่ตอนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้นั่นเอง
คำแถลงของโอบามาก็ยอมรับว่า “ยังมีงานอีกมากที่จะต้องกระทำเพื่อลดการขาดดุลของเรา และผมก็มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะกระทำเรื่องเหล่านี้”
ภายหลังช่วงเวลาหลายๆ เดือนแห่งความวิตกทุกข์ร้อนเกี่ยวกับวิกฤตที่กำลังทำท่าจะบังเกิดขึ้นมา, ช่วงเวลาหลายๆ สัปดาห์แห่งการโต้เถียงกันเกี่ยวกับหนทางที่เป็นไปได้เพื่อการหลุดออกจากวิกฤต, และช่วงเวลาหลายๆ วันแห่งการเจรจาต่อรองกันอย่างเคร่งเครียดหลังบานประตูที่ปิดสนิท ในที่สุดวุฒิสภาของสหรัฐฯก็โหวตด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 89 ต่อ 8 เมื่อตอนก่อนใกล้รุ่งของวันอังคาร (1 มกราคม) ผ่านร่างกฎหมายซึ่งมีเนื้อหามุ่งทำให้สหรัฐฯสามารถหลีกพ้นจากการตกกลิ้งลงมาจาก “หน้าผาการคลัง” (fiscal cliff)
ขั้นตอนต่อไปก็คือ ร่างกฎหมายฉบับประนีประนอมท่ามกลางการโต้เถียงกันอย่างดุเดือดฉบับนี้ จะต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีกำหนดพิจารณากันในเวลาเที่ยงของวันขึ้นปีใหม่ (ตรงกับ 24.00 น.วันที่1 เวลาเมืองไทย) โดยที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวในคำแถลงที่ออกมาหลังร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านวุฒิสภา เรียกร้องให้สภาล่าง “ผ่านกฎหมายนี้โดยไม่มีการเตะถ่วง”
หากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านทั้ง 2 สภาได้สำเร็จ ก็จะถือเป็นชัยชนะของโอบามา จากการที่เขาสามารถกดดันให้มีการขึ้นอัตราภาษีซึ่งเก็บจากครัวเรือนที่มีเงินได้มากกว่าปีละ 450,000 ดอลลาร์ แต่สำหรับทุกๆ คนที่มีรายได้ต่ำกว่านั้น จะยังคงได้ประโยชน์จากมาตรการลดภาษีซึ่งใช้กันมาเป็นสิบปีแล้ว โดยที่จากร่างกฎหมายนี้ มาตรการดังกล่าวยังจะกลายเป็นเรื่องถาวร ไม่ต้องมาลุ้นต่ออายุกันอีก
“ขณะที่ทั้งชาวพรรคเดโมแครตและชาวพรรครีพับลิกันต่างก็ไม่ได้รับทุกสิ่งทุกอย่างตามที่พวกเขาต้องการไปเสียทั้งหมด แต่การตกลงกันคราวนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งถูกต้องที่จะต้องกระทำกันเพื่อประเทศชาติของเรา และสภาล่างควรที่จะต้องผ่านกฎหมายนี้โดยไม่มีการเตะถ่วง” โอบามาบอกไว้ในคำแถลงของเขา
ข้อตกลงคราวนี้ยังระบุให้ชะลอมาตรการตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลอย่างกว้างขวางโดยอัตโนมัติเป็นมูลค่ารวม 109,000 ล้านดอลลาร์ ออกไปก่อน 2 เดือน กระนั้นก็ตามที ถ้าหากเดโมแครตที่เป็นผู้ครองอำนาจบริหารและมีเสียงข้างมากในสภาสูง กับรีพับลิกันซึ่งเป็นผู้กุมสภาผู้แทนราษฎร ยังคงไม่สามารถต่อรองรอมชอมกันเกี่ยวกับรายละเอียดในการตัดลดงบประมาณรายจ่าย เพื่อให้ลดการขาดดุลงบประมาณของประเทศลงในระยะยาวได้สำเร็จแล้วภายในระยะเวลาที่เลื่อนออกไปนี้ มาตรการบังคับตัดลดงบประมาณโดยอัตโนมัติก็จะถูกนำมาบังคับใช้อยู่ดี ด้วยเหตุนี้ นี่จึงเป็นการปูพื้นให้แก่การโต้เถียงต่อรองกันก่อนจะถึงเส้นตายใหม่ตอนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้นั่นเอง
คำแถลงของโอบามาก็ยอมรับว่า “ยังมีงานอีกมากที่จะต้องกระทำเพื่อลดการขาดดุลของเรา และผมก็มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะกระทำเรื่องเหล่านี้”