น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ธนาคารโลกได้ปรับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปี 2555 เป็นร้อยละ 4.7 เพิ่มจากเดิมที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจากการฟื้นตัวของการบริโภคภาคครัวเรือน การลงทุนฟื้นฟูหลังน้ำท่วม การกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐ และการไหลเข้าของเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งทดแทนการส่งออกที่เติบโตในอัตราที่ชะลอลง โดยตัวเลขส่งออกในปีนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 3 จากปีก่อนที่โตร้อยละ 9.5
ส่วนในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5 จากการฟื้นตัวในภาคการผลิตอย่างเต็มที่ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ขณะที่การลงทุน และการบริโภค ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ ยังขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบร้อยละ 3
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป รวมถึงปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง และผลกระทบจากนโยบายภาครัฐ อาทิ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการจำนำข้าว ที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย
น.ส.กิริฎา กล่าวถึงผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงร้อยละ 22.4 จากปี 2555 ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับการปรับขึ้นค่าจ้างในอดีต ที่เฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.5 ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม รัฐบาลจึงจะต้องพยายามพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อรักษามาตรฐานแรงงาน ให้แรงงานไทยยังเป็นที่ต้องการอยู่
ส่วนผลกระทบโครงการรับจำนำข้าวในฤดูกาล 55/56 คาดว่ารัฐบาลต้องใช้งบประมาณ 450,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 3.8 ของจีดีพี สูงกว่าปีก่อนที่ใช้เงิน 376,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันรัฐบาลยังไม่ได้ระบายข้าวออก จึงต้องติดตามผลขาดทุนที่แท้จริง ซึ่งคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 115,000-150,000 ล้านบาท
ส่วนในปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5 จากการฟื้นตัวในภาคการผลิตอย่างเต็มที่ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ขณะที่การลงทุน และการบริโภค ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ ยังขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบร้อยละ 3
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจากวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป รวมถึงปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง และผลกระทบจากนโยบายภาครัฐ อาทิ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการจำนำข้าว ที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย
น.ส.กิริฎา กล่าวถึงผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงร้อยละ 22.4 จากปี 2555 ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับการปรับขึ้นค่าจ้างในอดีต ที่เฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.5 ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม รัฐบาลจึงจะต้องพยายามพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อรักษามาตรฐานแรงงาน ให้แรงงานไทยยังเป็นที่ต้องการอยู่
ส่วนผลกระทบโครงการรับจำนำข้าวในฤดูกาล 55/56 คาดว่ารัฐบาลต้องใช้งบประมาณ 450,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 3.8 ของจีดีพี สูงกว่าปีก่อนที่ใช้เงิน 376,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันรัฐบาลยังไม่ได้ระบายข้าวออก จึงต้องติดตามผลขาดทุนที่แท้จริง ซึ่งคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 115,000-150,000 ล้านบาท