นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในการสัมมนาวิชาการประจำปี เรื่องประเทศไทยในกระแสเออีซีมายาคติ ความเป็นจริง โอกาส และความท้าทายว่า จากการสำรวจของสิงคโปร์พบว่า ในอาเซียนนั้นไทยให้ความสนใจเออีซีมากกว่าประเทศสมาชิกอื่นๆ แต่ว่ายังมีการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ซึ่งต้องทำความเข้าใจเพื่อจะได้เกิดการวางนโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นคนไทยจะมองว่าเออีซีเป็นภัย และพยายามชะลอการเปิดเสรีการค้าปกป้องแรงงานวิชาชีพ รวมทั้งต้องการเลื่อนการเปิดเออีซีออกไปด้วย ดังนั้น ต้องสื่อสารข้อเท็จจริงว่า การเปิดเออีซีจะยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ต่อประเทศไทย เพราะการเปิดเสรีการค้าเริ่มมาตั้งแต่ปี 2536 และเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว ขณะที่การเปิดเสรีภาคบริการ และการลงทุนยังไม่คืบหน้ามาก และมีข้อจำกัดของกฎหมายภายในประเทศของไทย เช่นเดียวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพที่มีเพียง 8 วิชาชีพ ที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงคือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี นักวิชาชีพท่องเที่ยว ยังไม่เป็นไปอย่างเสรี
นอกจากนี้ ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การเกิดเออีซีคล้ายคลึงกับสหภาพยุโรป จึงมีข้อวิตกว่า จะมีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เออีซีมีข้อจำกัดมากกว่า รวมทั้งยังไม่มีการใช้เงินสกุลเดียวกันแต่อย่างใดด้วย
นายสมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า หากมีความเข้าใจที่ถูกต้อง จะมองเห็นโอกาสที่ไทยต้องใช้จุดแข็งของประเทศให้เกิดประโยชน์ ขณะที่รัฐบาลต้องเร่งปรับโครงสร้างและระบบเศรษฐกิจ สร้างความสมดุลระหว่างภาคการส่งออก และบริการ เนื่องจากภาคการส่งออกมีผลตอบแทนต่ำ ขณะที่ภาคบริการมีการผูกขาด ทำให้มีผลตอบแทนสูง แม้ว่าประสิทธิภาพต่ำ นอกจากนี้ ยังต้องปฏิรูปกฎระเบียบ และการดำเนินการของรัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ประเทศไทยจะยังสามารถแข่งขันได้หลังรวมเป็นเออีซี ขณะที่นักลงทุนไทยมีความพร้อมพอที่จะออกไปลงทุนยังประเทศที่มีแรงงานราคาถูกได้ทันที โดยเฉพาะเอสเอ็มอีไทยในต่างจังหวัด ได้เตรียมรวมตัวกันเพื่อออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การเกิดเออีซีคล้ายคลึงกับสหภาพยุโรป จึงมีข้อวิตกว่า จะมีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เออีซีมีข้อจำกัดมากกว่า รวมทั้งยังไม่มีการใช้เงินสกุลเดียวกันแต่อย่างใดด้วย
นายสมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า หากมีความเข้าใจที่ถูกต้อง จะมองเห็นโอกาสที่ไทยต้องใช้จุดแข็งของประเทศให้เกิดประโยชน์ ขณะที่รัฐบาลต้องเร่งปรับโครงสร้างและระบบเศรษฐกิจ สร้างความสมดุลระหว่างภาคการส่งออก และบริการ เนื่องจากภาคการส่งออกมีผลตอบแทนต่ำ ขณะที่ภาคบริการมีการผูกขาด ทำให้มีผลตอบแทนสูง แม้ว่าประสิทธิภาพต่ำ นอกจากนี้ ยังต้องปฏิรูปกฎระเบียบ และการดำเนินการของรัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ประเทศไทยจะยังสามารถแข่งขันได้หลังรวมเป็นเออีซี ขณะที่นักลงทุนไทยมีความพร้อมพอที่จะออกไปลงทุนยังประเทศที่มีแรงงานราคาถูกได้ทันที โดยเฉพาะเอสเอ็มอีไทยในต่างจังหวัด ได้เตรียมรวมตัวกันเพื่อออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน