นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์การส่งออกสินค้าไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูปของไทย ในปีนี้ ตั้งเป้าหมายขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 2,230 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคิดเป็นปริมาณการส่งออกที่ 500,000 ตัน โดยในตลาดหลักอย่างในประเทศญี่ปุ่น คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 17 เนื่องจากพื้นที่ปศุสัตว์ ยังได้รับความเสียหายจากสึนามิ และความต้องการในช่วงไตรมาสสุดท้ายมีสูงจากช่วงเทศกาล
นอกจากนี้ ตลาดในสหภาพยุโรป (EU) หลังจากมีการอนุญาตนำเข้าแล้ว คาดว่าในปีนี้ จะสามารถส่งออกไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง ไป EU ได้ 40,000-50,000 ตัน โดยมีราคาถูกกว่าราคาที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น เล็กน้อย เนื่องจากไก่ไทย มีคู่แข่งสำคัญ คือบราซิล ที่มีการปรับลดค่าเงินลง ส่งผลทำให้ราคาสินค้าถูกกว่าประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยไม่สามารถปรับราคาได้
อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ยังเปิดเผยว่า ทางกรมฯ ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการขยายตลาดการค้าสินค้าไก่ของไทย โดยจะมีการสนับสนุนให้มีการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้าน เจรจาต่อรองในเรื่องของมาตรการกีดกันทางการค้ากับประเทศผู้นำเข้า โดยใช้ประโยชน์จากเวทีการค้าโลก และสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของความปลอดภัย การบริโภคสินค้าไก่ของไทย ในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เร่งเปิดตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ อาทิ ในซาอุดีอาระเบีย และส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายการนำเข้า และกระจายผลิตภัณฑ์อาหารไทย สู่ร้านอาหารไทยในต่างประเทศ สนับสนุนโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก ของรัฐบาล แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านการเป็นผู้ผลิตอาหารที่สำคัญ และมีคุณภาพได้มาตรฐานระดับสากล
นอกจากนี้ ตลาดในสหภาพยุโรป (EU) หลังจากมีการอนุญาตนำเข้าแล้ว คาดว่าในปีนี้ จะสามารถส่งออกไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง ไป EU ได้ 40,000-50,000 ตัน โดยมีราคาถูกกว่าราคาที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น เล็กน้อย เนื่องจากไก่ไทย มีคู่แข่งสำคัญ คือบราซิล ที่มีการปรับลดค่าเงินลง ส่งผลทำให้ราคาสินค้าถูกกว่าประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยไม่สามารถปรับราคาได้
อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ยังเปิดเผยว่า ทางกรมฯ ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการขยายตลาดการค้าสินค้าไก่ของไทย โดยจะมีการสนับสนุนให้มีการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้าน เจรจาต่อรองในเรื่องของมาตรการกีดกันทางการค้ากับประเทศผู้นำเข้า โดยใช้ประโยชน์จากเวทีการค้าโลก และสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของความปลอดภัย การบริโภคสินค้าไก่ของไทย ในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เร่งเปิดตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ อาทิ ในซาอุดีอาระเบีย และส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายการนำเข้า และกระจายผลิตภัณฑ์อาหารไทย สู่ร้านอาหารไทยในต่างประเทศ สนับสนุนโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก ของรัฐบาล แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านการเป็นผู้ผลิตอาหารที่สำคัญ และมีคุณภาพได้มาตรฐานระดับสากล