บริษัทใหญ่แบรนด์เนมดังจำนวนมากของญี่ปุ่น ประกาศปิดโรงงานและสำนักงานในจีนชั่วคราว หลังกระแสต่อต้านแดนปลาดิบในกรณีพิพาทหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์/เซงกากุ ลุกลามทั่วแดนมังกร ทางด้านรัฐมนตรีกลาโหมอเมริกันแนะสองฝ่ายแก้ไขปัญหาโดยสันติ ขณะกระทรวงการต่างประเทศจีนรับปากจะปกป้องพลเมืองและทรัพย์สินญี่ปุ่น ทว่าพร้อมกันนี้สื่อกระบอกเสียงปักกิ่งยังคงออกมาขู่โตเกียวอาจประสบวิบากกรรมอีก 20 ปี หากจีนคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ
ข้อพิพาทกรณีการอ้างอธิปไตยทับซ้อนกันเหนือหมู่เกาะเล็กๆ ในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งมีชื่อว่าเซงกากุในภาษาญี่ปุ่น และเตี้ยวอี๋ว์ในภาษาจีน นำไปสู่การประท้วงรุนแรงในจีนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และทำให้สัมพันธ์สองประเทศเศรษฐกิจใหญ่สุดของเอเชียคู่นี้ร้าวฉานหนัก
การประท้วงที่ปะทุขึ้นในหลายเมืองของจีนตั้งแต่วันเสาร์ (15) ซึ่งบางแห่งลุกลามกลายเป็นความรุนแรงนั้น มีชนวนเหตุมาจากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจซื้อหมู่เกาะที่เป็นกรณีพิพาทดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากผู้ครอบครองที่เป็นเอกชนชาวญี่ปุ่น
ทั้งนี้เป้าหมายการประท้วงได้ลุกลามบานปลายจากสถานทูตและสถานกงสุลญี่ปุ่น ไปสู่ร้านค้า ภัตตาคาร และโชว์รูมรถยนต์ของญี่ปุ่นตามเมืองต่างๆ โดยที่ โตโยต้ามอเตอร์ และฮอนด้ามอเตอร์ แถลงว่ากิจการของพวกตนหลายแห่งในเมืองชิงเต่า ซึ่งเป็นเมืองท่าทางภาคตะวันออกของจีน ถูกวางเพลิงได้รับความเสียหายหนักในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
แต่ขณะที่ โตโยต้า แถลงว่า โรงงานและสำนักงานของตนในจีนยังคงทำการเป็นปกติในวันจันทร์(17) อีกทั้งไม่มีแผนนำลูกจ้างพนักงานชาวญี่ปุ่นออกไปจากเมืองจีน ทางด้านฮอนด้ากลับแจ้งว่าจะหยุดการผลิตในแดนมังกรเป็นเวลา 2 วันตั้งแต่วันอังคาร(18) เช่นเดียวกับ มาสด้า มอเตอร์ ที่จะระงับการผลิตในโรงงานเมืองหนานจิง (นานกิง) เป็นเวลา 4 วัน
นอกจากนั้น ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กิจการค้าปลีกเครื่องแต่งกายรายใหญ่ที่สุดในเอเชีย แถลงว่าได้ปิดร้าน “ยูนิโคล่” ของตนในจีนไปบางแห่งแล้ว และอาจจะปิดเพิ่มขึ้นอีก ส่วน เซเวน แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ บริษัทค้าปลีกทั่วไปรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น แถลงว่า จะปิดซูเปอร์มาร์เก็ต “อิโตะ โยกาโด” 13 แห่ง และร้านสะดวกซื้อ “เซเวน-อีเลฟเวน” 198 แห่งในจีนในวันอังคาร
สำหรับ พานาโซนิค กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่บอกว่า โรงงานในจีนแห่งหนึ่งของตนถูกคนงานจีนก่อวินาศกรรม และจะปิดต่อไปตลอดวันอังคาร ซึ่งเป็นวันครบรอบปีของเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรียจากจีนในปี 1931 และเป็นวาระที่โตเกียวหวาดกลัวว่าจะเป็นชนวนกระตุ้นให้เกิดกระแสต่อต้านญี่ปุ่นปะทุขึ้นมาอีก
ขณะที่ โซนี่ บอกกับพนักงานของตนว่าถ้าไม่จำเป็นก็อย่าเดินทางไปจีน ส่วน แคนนอน บริษัทด้านอิเล็กทรอนิกส์ชื่อดังอีกแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น แจ้งว่าโรงงานที่ตั้งอยู่ในจีนของตน 3 ใน 4 แห่งจะปิดทำการในวันอังคาร นอกจากนั้นมีรายงานว่า สายการบิน ออล นิปปอน แอร์เวย์ส ก็ระบุว่ามีการยกเลิกเที่ยวบินจากจีนไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอีกหลายเที่ยว
ข้อพิพาทกรณีการอ้างอธิปไตยทับซ้อนกันเหนือหมู่เกาะเล็กๆ ในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งมีชื่อว่าเซงกากุในภาษาญี่ปุ่น และเตี้ยวอี๋ว์ในภาษาจีน นำไปสู่การประท้วงรุนแรงในจีนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และทำให้สัมพันธ์สองประเทศเศรษฐกิจใหญ่สุดของเอเชียคู่นี้ร้าวฉานหนัก
การประท้วงที่ปะทุขึ้นในหลายเมืองของจีนตั้งแต่วันเสาร์ (15) ซึ่งบางแห่งลุกลามกลายเป็นความรุนแรงนั้น มีชนวนเหตุมาจากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจซื้อหมู่เกาะที่เป็นกรณีพิพาทดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากผู้ครอบครองที่เป็นเอกชนชาวญี่ปุ่น
ทั้งนี้เป้าหมายการประท้วงได้ลุกลามบานปลายจากสถานทูตและสถานกงสุลญี่ปุ่น ไปสู่ร้านค้า ภัตตาคาร และโชว์รูมรถยนต์ของญี่ปุ่นตามเมืองต่างๆ โดยที่ โตโยต้ามอเตอร์ และฮอนด้ามอเตอร์ แถลงว่ากิจการของพวกตนหลายแห่งในเมืองชิงเต่า ซึ่งเป็นเมืองท่าทางภาคตะวันออกของจีน ถูกวางเพลิงได้รับความเสียหายหนักในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
แต่ขณะที่ โตโยต้า แถลงว่า โรงงานและสำนักงานของตนในจีนยังคงทำการเป็นปกติในวันจันทร์(17) อีกทั้งไม่มีแผนนำลูกจ้างพนักงานชาวญี่ปุ่นออกไปจากเมืองจีน ทางด้านฮอนด้ากลับแจ้งว่าจะหยุดการผลิตในแดนมังกรเป็นเวลา 2 วันตั้งแต่วันอังคาร(18) เช่นเดียวกับ มาสด้า มอเตอร์ ที่จะระงับการผลิตในโรงงานเมืองหนานจิง (นานกิง) เป็นเวลา 4 วัน
นอกจากนั้น ฟาสต์ รีเทลลิ่ง กิจการค้าปลีกเครื่องแต่งกายรายใหญ่ที่สุดในเอเชีย แถลงว่าได้ปิดร้าน “ยูนิโคล่” ของตนในจีนไปบางแห่งแล้ว และอาจจะปิดเพิ่มขึ้นอีก ส่วน เซเวน แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ บริษัทค้าปลีกทั่วไปรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น แถลงว่า จะปิดซูเปอร์มาร์เก็ต “อิโตะ โยกาโด” 13 แห่ง และร้านสะดวกซื้อ “เซเวน-อีเลฟเวน” 198 แห่งในจีนในวันอังคาร
สำหรับ พานาโซนิค กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่บอกว่า โรงงานในจีนแห่งหนึ่งของตนถูกคนงานจีนก่อวินาศกรรม และจะปิดต่อไปตลอดวันอังคาร ซึ่งเป็นวันครบรอบปีของเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรียจากจีนในปี 1931 และเป็นวาระที่โตเกียวหวาดกลัวว่าจะเป็นชนวนกระตุ้นให้เกิดกระแสต่อต้านญี่ปุ่นปะทุขึ้นมาอีก
ขณะที่ โซนี่ บอกกับพนักงานของตนว่าถ้าไม่จำเป็นก็อย่าเดินทางไปจีน ส่วน แคนนอน บริษัทด้านอิเล็กทรอนิกส์ชื่อดังอีกแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น แจ้งว่าโรงงานที่ตั้งอยู่ในจีนของตน 3 ใน 4 แห่งจะปิดทำการในวันอังคาร นอกจากนั้นมีรายงานว่า สายการบิน ออล นิปปอน แอร์เวย์ส ก็ระบุว่ามีการยกเลิกเที่ยวบินจากจีนไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอีกหลายเที่ยว