นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า โครงการรับจำนำข้าวที่รัฐบาล ดำเนินอยู่ถือเป็นโครงการที่อาจจะสร้างภาระหนี้ให้กับประเทศ เพราะเป็นโครงการที่เสี่ยงต่อวินัยทางการคลัง เนื่องจากการรับจำนำข้าวเป็นจำนวนมาก โดยไม่คำนึงถึงการระบายข้าวออกอาจส่งผลกระทบในระยะยาว พร้อมระบุว่า โครงการรับจำนำข้าวมีการทุจริตในเกือบทุกขั้นตอน ซึ่งหากต้องการเดินหน้ารับจำนำต่อ รัฐบาลควรตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางขึ้นมาตรวจสอบ
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า รัฐบาลควรทบทวนโครงการจำนำข้าวโดยการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์บางอย่างเช่น การตั้งราคาที่เหมาะสมเพื่อลดภาระงบประมาณและสถานที่เก็บรักษา ซึ่งในปีหน้าคาดว่า จะมีผลผลิตเฉพาะข้าวนาปี 26 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มสูงขึ้นจากปีนี้ ซึ่งอยู่ที่ 24 ล้านตัน
สำหรับสถานการณ์ส่งออกข้าวในปีหน้าเชื่อว่าตลาดข้าวไทยจะยังคงชะลอตัว เนื่องจากราคารับจำนำที่สูงกว่าราคาตลาดกว่าประมาณ 3,000-5,000บาท
ขณะที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช.วันนี้ ( 27 ก.ค.) จะพิจารณาทบทวนการจำนำข้าวเปลือกนาปีรอบใหม่ ซึ่งเดิมกำหนดจะเริ่มจำนำตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ พร้อมทั้งจะปรับวิธีการรับจำนำใหม่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับชาวนาที่มีที่นามากน้อยต่างกัน แต่ราคารับจำนำจะยังคงเดิม โดยข้าวเปลือกเจ้า รับจำนำตันละ 15,000 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 20,000 บาท
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า รัฐบาลควรทบทวนโครงการจำนำข้าวโดยการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์บางอย่างเช่น การตั้งราคาที่เหมาะสมเพื่อลดภาระงบประมาณและสถานที่เก็บรักษา ซึ่งในปีหน้าคาดว่า จะมีผลผลิตเฉพาะข้าวนาปี 26 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มสูงขึ้นจากปีนี้ ซึ่งอยู่ที่ 24 ล้านตัน
สำหรับสถานการณ์ส่งออกข้าวในปีหน้าเชื่อว่าตลาดข้าวไทยจะยังคงชะลอตัว เนื่องจากราคารับจำนำที่สูงกว่าราคาตลาดกว่าประมาณ 3,000-5,000บาท
ขณะที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช.วันนี้ ( 27 ก.ค.) จะพิจารณาทบทวนการจำนำข้าวเปลือกนาปีรอบใหม่ ซึ่งเดิมกำหนดจะเริ่มจำนำตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ พร้อมทั้งจะปรับวิธีการรับจำนำใหม่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับชาวนาที่มีที่นามากน้อยต่างกัน แต่ราคารับจำนำจะยังคงเดิม โดยข้าวเปลือกเจ้า รับจำนำตันละ 15,000 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 20,000 บาท