วันแรกของการเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ นายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ได้เดินทางมายังศูนย์เศรษฐกิจการลงทุน ภาคที่ 4 นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้การต้อนรับ และบรรยายสรุปภาพรวมการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย และการเชื่อมโยงภายในภูมิภาค โดยเฉพาะการเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกทวายกับพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Seaboard) การพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก การส่งเสริมการลงทุนของไทย จากนั้น ได้เยี่ยมชมพื้นที่โดยรอบท่าเรือแหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทยในมุมสูง ที่หอบังคับการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง
ท่าเรือแหลมฉบัง มีพื้นที่ประมาณ 8,300 ไร่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2534 เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าเป็นอันดับที่ 22 ของโลก ประมาณ 7 ล้านตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี ปริมาณเรือเทียบท่ามากกว่า 8,000 ลำ สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่พิเศษได้ พร้อมกันนี้ยังเป็นท่าเรือเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่า ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการศึกษา หากแล้วเสร็จ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิกอาเซียน สร้างโอกาสแก่นักลงทุนไทย - พม่า และในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ในการขนส่งสินค้าเชื่อมต่อไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา ช่วยลดค้นทุนเรื่องระยะทางและเวลาการขนส่งได้เป็นอย่างมาก
ท่าเรือแหลมฉบัง มีพื้นที่ประมาณ 8,300 ไร่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2534 เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าเป็นอันดับที่ 22 ของโลก ประมาณ 7 ล้านตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี ปริมาณเรือเทียบท่ามากกว่า 8,000 ลำ สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่พิเศษได้ พร้อมกันนี้ยังเป็นท่าเรือเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่า ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการศึกษา หากแล้วเสร็จ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิกอาเซียน สร้างโอกาสแก่นักลงทุนไทย - พม่า และในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ในการขนส่งสินค้าเชื่อมต่อไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา ช่วยลดค้นทุนเรื่องระยะทางและเวลาการขนส่งได้เป็นอย่างมาก