ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนา จ.สตูล บุกยื่นหนังสือ จี้ สผ.ยกเลิก EIA ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ระบุ เข้าข่ายโครงการรุนแรงตาม ม.66 ม.67 รัฐธรรมนูญ 50 ต้องทำ HIA ด้วย ศึกษาข้อมูลบกพร่องไม่ครอบคลุม ประชาชนไม่มีส่วนร่วม เป็นแหล่งทรัพยากรธรณีเก่าแก่ที่สุดในอาเซียน ชี้ต้องศึกษาเมกะโปรเจกต์สตูลใหม่ทั้งระบบ ร้อง กมธ.ทรัพยากรฯ วุฒิสภา ตรวจสอบกระบวนการจัดทำ EIA
เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 17 กรกฎาคม 2555 ที่โรงแรมรามารการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ในเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ “เอชไอเอชุมชนสร้างอำนาจทางปัญญาในการกำหนดอนาคตตนเองและสังคม” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ชาวบ้านอำเภอละงู จังหวัดสตูล และเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล 10 คน นำโดยนายสมบูรณ์ คำแหง คณะทำงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ยื่นหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ต่อ นางอินทิรา เอื้อมลฉัตร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบ และติดตามตรวจสอบ สผ.
โดยเป็นหนังสือขอให้ยกเลิกรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล เพราะเข้าข่ายเงื่อนไขโครงการ หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ตามมาตรา 67 วรรคสอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 เนื่องจากมีความยาวหน้าท่าเกิน 300 เมตร ต้องมีการขุดลอกร่องน้ำมากกว่า 100,000 ตร.ม.ขึ้นไป มีการขนส่งสินค้าอันตราย ฯลฯ
และในวันเดียวกัน ชาวบ้านอำเภอละงู จังหวัดสตูล และเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล 10 คน เดินทางไปยื่นหนังสือที่รัฐสภา ถึงนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา ผ่านนายสุรจิต ชิรเวทย์ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่หนึ่ง ขอให้ติดตาม ตรวจสอบ และกระบวนการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล
โดยหนังสือทั้ง 2 ฉบับระบุว่า ตามที่กระทรวงคมนาคม กำลังผลักดันโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึก ปากบารา จ.สตูล โดยอ้างขั้นตอนการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (EIA) ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ไปแล้วนั้น เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล มีความเห็นว่า โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ไม่มีความเหมาะสมที่จะก่อสร้างในพื้นที่ จ.สตูล ด้วยเหตุผลหลายประการ จึงขอเรียนให้ท่านผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวเพื่อทราบในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
1.โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล เป็นโครงการที่เข้าข่าย 1 ใน 11 ประเภทโครงการ ที่มีผลกระทบต่อชุมชนและทรัพยากรอย่างรุนแรง ต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 66 และ 67 คือ ต้องศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ด้วย
2.รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (EIA) ที่อ้างว่าได้ทำเสร็จแล้วนั้น พบว่า ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ โดยเฉพาะประเด็นพื้นที่แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง, กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และมาตรการแก้ไขผลกระทบไม่ครอบคลุมกิจกรรมทุกด้านของโครงการ (เอกสารแนบประเด็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ข้อบกพร่องในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม)
3.เนื่องจากมีการค้นพบแหล่งทรัพยากรธรณีที่ล้ำค่า และเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยกรมทรัพยากรธรณี และนักวิชาการในท้องถิ่น ซึ่งมีที่ตั้งใกล้เคียงกับสถานที่ตั้งโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมประเด็นดังกล่าวนี้ด้วย
4.รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (EIA) และรายงานสำรวจออกแบบ โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึก ปากบารา จ.สตูล ได้ระบุถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ที่จะต้องดำเนินการภายในจังหวัดสตูล ซึ่งอ้างถึงโครงการที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น นิคมอุตสาหกรรม คลังน้ำมัน ปิโตรเคมี รถไฟรางคู่ ขุดเจาะอุโมงค์เชื่อมกับมาเลเซีย ฯ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง จะต้องมีการศึกษาผลกระทบทั้งระบบ ไม่ใช่แยกศึกษาเป็นรายโครงการ
5.โครงการก่อสร้างท่าเรือทวาย ประเทศพม่า ที่กำลังมีการดำเนินการขณะนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลจะต้องประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา รวมถึงผลได้ ผลเสีย การใช้ประโยชน์ที่แท้จริง และความคุ้มค่าในการลงทุน
6.รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ฉบับดังกล่าวที่ได้ผ่านการอนุมัติตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 นั้น ถือว่าไม่ทันสมัย กอปรกับมีตัวแปรอื่นๆ เข้ามาเพิ่มขึ้นหลายประเด็นดังได้กล่าวไปบ้างแล้วนั้น จึงควรมีการทบทวนเพื่อให้มีความทันเหตุการณ์มากขึ้น
ทั้งหมดนี้คือข้อสังเกตที่เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล เห็นว่าหน่วยงานของท่านควรจะดำเนินการ เพื่อให้ข้อจำกัด ข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อสงสัยที่สร้างความไม่สบายใจให้แก่คนในจังหวัดสตูล ที่จะต้องแบกรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ บนความไม่ชัดเจน ไม่ครอบคลุม ไม่ทันสมัย และยังไม่ยึดตามกรอบรัฐธรรมนูญในเรื่องกระบวนการศึกษาโครงการฯ
จึงเห็นควรเสนอให้มีการทบทวนยกเลิกรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูลฉบับดังกล่าว ตลอดถึงขอให้มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 อย่างเคร่งครัด
“ทั้งนี้ โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล และอื่นๆ อีกหลายโครงการ จะส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คน และทรัพยากรธรรมชาติอย่างรุนแรง สร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ให้แก่จังหวัดเล็กๆ แห่งนี้ และมีแนวโน้มว่าจะสร้างความสูญเสียโดยไม่อาจเรียกกลับคืนได้ เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ขอเรียกร้องให้ท่านได้ยึดหลักการ ความถูกต้องชอบธรรม หลักการรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้เคารพในสิทธิของประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญด้วย” หนังสือฉบับดังกล่าวระบุ
ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ / ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้
เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 17 กรกฎาคม 2555 ที่โรงแรมรามารการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ในเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ “เอชไอเอชุมชนสร้างอำนาจทางปัญญาในการกำหนดอนาคตตนเองและสังคม” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ชาวบ้านอำเภอละงู จังหวัดสตูล และเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล 10 คน นำโดยนายสมบูรณ์ คำแหง คณะทำงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ยื่นหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ต่อ นางอินทิรา เอื้อมลฉัตร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบ และติดตามตรวจสอบ สผ.
โดยเป็นหนังสือขอให้ยกเลิกรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล เพราะเข้าข่ายเงื่อนไขโครงการ หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ตามมาตรา 67 วรรคสอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 เนื่องจากมีความยาวหน้าท่าเกิน 300 เมตร ต้องมีการขุดลอกร่องน้ำมากกว่า 100,000 ตร.ม.ขึ้นไป มีการขนส่งสินค้าอันตราย ฯลฯ
และในวันเดียวกัน ชาวบ้านอำเภอละงู จังหวัดสตูล และเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล 10 คน เดินทางไปยื่นหนังสือที่รัฐสภา ถึงนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา ผ่านนายสุรจิต ชิรเวทย์ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่หนึ่ง ขอให้ติดตาม ตรวจสอบ และกระบวนการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล
โดยหนังสือทั้ง 2 ฉบับระบุว่า ตามที่กระทรวงคมนาคม กำลังผลักดันโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึก ปากบารา จ.สตูล โดยอ้างขั้นตอนการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (EIA) ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ไปแล้วนั้น เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล มีความเห็นว่า โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ไม่มีความเหมาะสมที่จะก่อสร้างในพื้นที่ จ.สตูล ด้วยเหตุผลหลายประการ จึงขอเรียนให้ท่านผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวเพื่อทราบในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
1.โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล เป็นโครงการที่เข้าข่าย 1 ใน 11 ประเภทโครงการ ที่มีผลกระทบต่อชุมชนและทรัพยากรอย่างรุนแรง ต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 66 และ 67 คือ ต้องศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ด้วย
2.รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (EIA) ที่อ้างว่าได้ทำเสร็จแล้วนั้น พบว่า ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ โดยเฉพาะประเด็นพื้นที่แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง, กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และมาตรการแก้ไขผลกระทบไม่ครอบคลุมกิจกรรมทุกด้านของโครงการ (เอกสารแนบประเด็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ข้อบกพร่องในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม)
3.เนื่องจากมีการค้นพบแหล่งทรัพยากรธรณีที่ล้ำค่า และเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยกรมทรัพยากรธรณี และนักวิชาการในท้องถิ่น ซึ่งมีที่ตั้งใกล้เคียงกับสถานที่ตั้งโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมประเด็นดังกล่าวนี้ด้วย
4.รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (EIA) และรายงานสำรวจออกแบบ โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึก ปากบารา จ.สตูล ได้ระบุถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ที่จะต้องดำเนินการภายในจังหวัดสตูล ซึ่งอ้างถึงโครงการที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น นิคมอุตสาหกรรม คลังน้ำมัน ปิโตรเคมี รถไฟรางคู่ ขุดเจาะอุโมงค์เชื่อมกับมาเลเซีย ฯ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง จะต้องมีการศึกษาผลกระทบทั้งระบบ ไม่ใช่แยกศึกษาเป็นรายโครงการ
5.โครงการก่อสร้างท่าเรือทวาย ประเทศพม่า ที่กำลังมีการดำเนินการขณะนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลจะต้องประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา รวมถึงผลได้ ผลเสีย การใช้ประโยชน์ที่แท้จริง และความคุ้มค่าในการลงทุน
6.รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ฉบับดังกล่าวที่ได้ผ่านการอนุมัติตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 นั้น ถือว่าไม่ทันสมัย กอปรกับมีตัวแปรอื่นๆ เข้ามาเพิ่มขึ้นหลายประเด็นดังได้กล่าวไปบ้างแล้วนั้น จึงควรมีการทบทวนเพื่อให้มีความทันเหตุการณ์มากขึ้น
ทั้งหมดนี้คือข้อสังเกตที่เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล เห็นว่าหน่วยงานของท่านควรจะดำเนินการ เพื่อให้ข้อจำกัด ข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อสงสัยที่สร้างความไม่สบายใจให้แก่คนในจังหวัดสตูล ที่จะต้องแบกรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ บนความไม่ชัดเจน ไม่ครอบคลุม ไม่ทันสมัย และยังไม่ยึดตามกรอบรัฐธรรมนูญในเรื่องกระบวนการศึกษาโครงการฯ
จึงเห็นควรเสนอให้มีการทบทวนยกเลิกรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูลฉบับดังกล่าว ตลอดถึงขอให้มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 อย่างเคร่งครัด
“ทั้งนี้ โครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล และอื่นๆ อีกหลายโครงการ จะส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คน และทรัพยากรธรรมชาติอย่างรุนแรง สร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ให้แก่จังหวัดเล็กๆ แห่งนี้ และมีแนวโน้มว่าจะสร้างความสูญเสียโดยไม่อาจเรียกกลับคืนได้ เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ขอเรียกร้องให้ท่านได้ยึดหลักการ ความถูกต้องชอบธรรม หลักการรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้เคารพในสิทธิของประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญด้วย” หนังสือฉบับดังกล่าวระบุ
ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ / ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้