เครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกร ผู้บริโภค และนิสิต นักศึกษา ยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เรียกร้องให้เร่งออกกฎกระทรวงควบคุมเภสัชกรให้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในร้านขายยาตลอดเวลา ตาม พ.ร.บ.ยา ปี 2510 หลังพบว่ายังมีร้านขายยาจำนวนมากที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
จากการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ปี 2549 พบว่า มีเภสัชกรอยู่ประจำร้านยาเพียงร้อยละ 33 เช่นเดียวกับผลสำรวจของแผนพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา ปี 2554 ในพื้นที่ 10 จังหวัดที่พบว่ามีเภสัชกรอยู่ประจำร้านยาตลอดเวลา เพียง 266 แห่ง จากร้านขายยาที่สำรวจทั้งหมด 1,127 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 23.6 เท่านั้น เป็นผลให้ร้านขายยาถึงร้อยละ 80 ที่กำลังละเมิดสิทธิผู้บริโภค ฝ่าฝืนกฎหมาย
เครือข่ายฯ ยังเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เร่งลงนาม พ.ร.บ.ยา ฉบับภาคประชาชน เพื่อผลักดันออกเป็นกฎหมายโดยเร็ว แทน พ.ร.บ.ยา ปี 2510 ซึ่งมีความล้าหลังและไม่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหา โดยร่างกฎหมายฉบับนี้จะช่วยอุดช่องโหว่และแก้ไขปัญหาเรื่องเภสัชกรแขวนป้าย รวมถึงควบคุมการขายยาราคาแพง และการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมให้ดีขึ้น
เภสัชกร กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ เลขาธิการสภาเภสัชกรรม ระบุว่า ปัจจุบันมีเภสัชกรที่ขึ้นทะเบียนทั่วประเทศ 30,000 คน ขณะที่ร้านขายยามีทั้งหมด 12,000 แห่ง ดังนั้น จึงไม่ใช่เหตุผลที่จะเปิดร้านขายยาโดยไม่มีเภสัชกรอยู่ประจำร้าน
ทั้งนี้ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา สภาเภสัชกรรมได้ทำการพักใช้ใบอนุญาตร้านขายยาที่ฝ่าฝืนกฎหมายไปแล้วกว่า 400 แห่ง โดยผู้ที่กระทำผิดเป็นครั้งที่ 2 จะต้องถูกลงโทษโดยการเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป
จากการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ปี 2549 พบว่า มีเภสัชกรอยู่ประจำร้านยาเพียงร้อยละ 33 เช่นเดียวกับผลสำรวจของแผนพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา ปี 2554 ในพื้นที่ 10 จังหวัดที่พบว่ามีเภสัชกรอยู่ประจำร้านยาตลอดเวลา เพียง 266 แห่ง จากร้านขายยาที่สำรวจทั้งหมด 1,127 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 23.6 เท่านั้น เป็นผลให้ร้านขายยาถึงร้อยละ 80 ที่กำลังละเมิดสิทธิผู้บริโภค ฝ่าฝืนกฎหมาย
เครือข่ายฯ ยังเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เร่งลงนาม พ.ร.บ.ยา ฉบับภาคประชาชน เพื่อผลักดันออกเป็นกฎหมายโดยเร็ว แทน พ.ร.บ.ยา ปี 2510 ซึ่งมีความล้าหลังและไม่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหา โดยร่างกฎหมายฉบับนี้จะช่วยอุดช่องโหว่และแก้ไขปัญหาเรื่องเภสัชกรแขวนป้าย รวมถึงควบคุมการขายยาราคาแพง และการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมให้ดีขึ้น
เภสัชกร กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ เลขาธิการสภาเภสัชกรรม ระบุว่า ปัจจุบันมีเภสัชกรที่ขึ้นทะเบียนทั่วประเทศ 30,000 คน ขณะที่ร้านขายยามีทั้งหมด 12,000 แห่ง ดังนั้น จึงไม่ใช่เหตุผลที่จะเปิดร้านขายยาโดยไม่มีเภสัชกรอยู่ประจำร้าน
ทั้งนี้ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา สภาเภสัชกรรมได้ทำการพักใช้ใบอนุญาตร้านขายยาที่ฝ่าฝืนกฎหมายไปแล้วกว่า 400 แห่ง โดยผู้ที่กระทำผิดเป็นครั้งที่ 2 จะต้องถูกลงโทษโดยการเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป