อย.เผย ภาคใต้มีการตรวจจับยาแก้ไอจำนวนมาก แฉส่งตรงมาจากผู้ผลิตยาในส่วนกลาง ล่าสุด สั่งบริษัทผลิตยาแห่งหนึ่งให้หยุดผลิต และอายัดผลิตภัณฑ์ยาทั้งหมด หลังพบมียาแก้ไอยี่ห้อเดียวกับที่จับกุม พร้อมปรามร้านขายยาปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าขายยาแก้ไอให้กลุ่มวัยรุ่น หรือบุคคลที่คาดว่าจะนำไปใช้ในทางที่ผิด คาดโทษพักใช้ใบอนุญาต และลงโทษทางจรรยาบรรณกับเภสัชกรประจำร้านยา
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ตามที่ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้กำชับนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะปัญหาการนำยาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สนองนโยบายนี้อย่างเต็มที่ โดยล่าสุด ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในเขตภาคใต้หลายจังหวัด ว่า ที่ผ่านมา มีการตรวจจับยาแก้ไอในแต่ละครั้งได้ของกลางเป็นจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 1,000-10,000 ขวด ทั้งนี้ จากรายงานการตรวจจับยาแก้ไอที่นำมาขายโดยไม่ได้รับอนุญาต ในช่วงปี 2553-2555 สามารถจับยาน้ำแก้ไอจำนวนมากกว่า 30,000 ขวด ทั้งนี้ อย.ได้ตรวจสอบแล้ว พบว่า ยาแก้ไอที่จับได้มีการขนส่งมาจากผู้ผลิตยาในส่วนกลาง ซึ่งทำการส่งตรงไปยังร้านค้าย่อยต่างๆ ในเขตชุมชนภาคใต้ โดยพบผู้ซื้อยาแก้ไอได้นำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตยาเสพติด 4x100 นั้น อย.มีความห่วงใย และมิได้นิ่งนอนใจ เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว เพราะที่ผ่านมา ได้มีมาตรการควบคุมการจำหน่ายยาแก้ไออย่างเข้มงวด โดยออกประกาศ เรื่อง การควบคุมการจำหน่ายยาน้ำที่มีไดเฟนไฮดรามีน หรือ โปรเมทาซีน หรือ เดกซ์โตรเมธอร์แฟน เป็นส่วนประกอบ โดยให้ผู้รับอนุญาตผลิตยา และผู้รับอนุญาตนำเข้ายา จำกัดปริมาณการจำหน่ายไปยังร้านขายยาได้จำนวนไม่เกิน 300 ขวด/แห่ง/เดือน รวมทั้งให้ผู้รับอนุญาตขายยาและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านขายยา ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายยาอย่างเคร่งครัด
สำหรับเหตุการณ์ที่พบการจับยาแก้ไอจำนวนมากในภาคใต้ จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า เป็นยาแก้ไอยี่ห้อเดียวกับยาที่ผลิตจากผู้ผลิตยาแห่งหนึ่ง ดังนั้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา อย.ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักยาเข้าไปตรวจสอบแล้ว ซึ่งในเบื้องต้น อย.จะได้สั่งให้บริษัทดังกล่าวหยุดการผลิตยาน้ำแก้ไอดังกล่าว และอายัดผลิตภัณฑ์ยาไว้ทั้งหมด เพื่อรอการตรวจสอบ พร้อมทั้งจะประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลดำเนินการตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป เนื่องจากถือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงทางภาคใต้ด้วย
นพ.พิพัฒน์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรณีของยาเสพติด 4x100 ซึ่งที่จริงมีส่วนผสมหลัก คือ ใบกระท่อม อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสพติด ส่วนยาน้ำแก้ไอไม่ได้ทำให้เกิดการเสพติด แต่นำมาใช้เพื่อปรุงแต่งรส และช่วยทำให้ง่วงซึมเท่านั้น แต่เมื่อเกิดปัญหามีการจำหน่ายยาแก้ไอไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ อย.จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการควบคุมการจำหน่ายยาแก้ไออย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ตรงจุด ต้องปราบปรามที่พืชกระท่อม เนื่องจากจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ดังนั้น จึงขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกันปราบปรามอย่างจริงจัง
อย่างไรก็ตาม อย.จะเร่งตรวจสอบผู้ผลิตยา และร้านขายยาทั่วประเทศ โดยจะเน้นไปยังเขตพื้นที่ภาคใต้เป็นพิเศษ และรณรงค์ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย มิให้ลักลอบขายยาแก้ไอเกินปริมาณตามกฎหมายกำหนด และนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม หากผู้ใดต้องการแจ้งเบาะแสร้านขายยาที่มีพฤติกรรมขายยาแก้ไอในทางที่ผิด สามารถแจ้งมาที่สายด่วน อย.1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ตามที่ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้กำชับนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะปัญหาการนำยาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สนองนโยบายนี้อย่างเต็มที่ โดยล่าสุด ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในเขตภาคใต้หลายจังหวัด ว่า ที่ผ่านมา มีการตรวจจับยาแก้ไอในแต่ละครั้งได้ของกลางเป็นจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 1,000-10,000 ขวด ทั้งนี้ จากรายงานการตรวจจับยาแก้ไอที่นำมาขายโดยไม่ได้รับอนุญาต ในช่วงปี 2553-2555 สามารถจับยาน้ำแก้ไอจำนวนมากกว่า 30,000 ขวด ทั้งนี้ อย.ได้ตรวจสอบแล้ว พบว่า ยาแก้ไอที่จับได้มีการขนส่งมาจากผู้ผลิตยาในส่วนกลาง ซึ่งทำการส่งตรงไปยังร้านค้าย่อยต่างๆ ในเขตชุมชนภาคใต้ โดยพบผู้ซื้อยาแก้ไอได้นำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตยาเสพติด 4x100 นั้น อย.มีความห่วงใย และมิได้นิ่งนอนใจ เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว เพราะที่ผ่านมา ได้มีมาตรการควบคุมการจำหน่ายยาแก้ไออย่างเข้มงวด โดยออกประกาศ เรื่อง การควบคุมการจำหน่ายยาน้ำที่มีไดเฟนไฮดรามีน หรือ โปรเมทาซีน หรือ เดกซ์โตรเมธอร์แฟน เป็นส่วนประกอบ โดยให้ผู้รับอนุญาตผลิตยา และผู้รับอนุญาตนำเข้ายา จำกัดปริมาณการจำหน่ายไปยังร้านขายยาได้จำนวนไม่เกิน 300 ขวด/แห่ง/เดือน รวมทั้งให้ผู้รับอนุญาตขายยาและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านขายยา ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายยาอย่างเคร่งครัด
สำหรับเหตุการณ์ที่พบการจับยาแก้ไอจำนวนมากในภาคใต้ จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า เป็นยาแก้ไอยี่ห้อเดียวกับยาที่ผลิตจากผู้ผลิตยาแห่งหนึ่ง ดังนั้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา อย.ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักยาเข้าไปตรวจสอบแล้ว ซึ่งในเบื้องต้น อย.จะได้สั่งให้บริษัทดังกล่าวหยุดการผลิตยาน้ำแก้ไอดังกล่าว และอายัดผลิตภัณฑ์ยาไว้ทั้งหมด เพื่อรอการตรวจสอบ พร้อมทั้งจะประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลดำเนินการตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป เนื่องจากถือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงทางภาคใต้ด้วย
นพ.พิพัฒน์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรณีของยาเสพติด 4x100 ซึ่งที่จริงมีส่วนผสมหลัก คือ ใบกระท่อม อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสพติด ส่วนยาน้ำแก้ไอไม่ได้ทำให้เกิดการเสพติด แต่นำมาใช้เพื่อปรุงแต่งรส และช่วยทำให้ง่วงซึมเท่านั้น แต่เมื่อเกิดปัญหามีการจำหน่ายยาแก้ไอไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ อย.จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการควบคุมการจำหน่ายยาแก้ไออย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ตรงจุด ต้องปราบปรามที่พืชกระท่อม เนื่องจากจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ดังนั้น จึงขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกันปราบปรามอย่างจริงจัง
อย่างไรก็ตาม อย.จะเร่งตรวจสอบผู้ผลิตยา และร้านขายยาทั่วประเทศ โดยจะเน้นไปยังเขตพื้นที่ภาคใต้เป็นพิเศษ และรณรงค์ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย มิให้ลักลอบขายยาแก้ไอเกินปริมาณตามกฎหมายกำหนด และนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม หากผู้ใดต้องการแจ้งเบาะแสร้านขายยาที่มีพฤติกรรมขายยาแก้ไอในทางที่ผิด สามารถแจ้งมาที่สายด่วน อย.1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด