เอดีบีระบุพ่อแม่ในเอเชียยอมควักกระเป๋าเป็นพันล้านดอลลาร์ ส่งลูกกวดวิชากับติวเตอร์เอกชน แม้ประสิทธิภาพของสถาบันเหล่านี้ยังเป็นที่คาใจก็ตาม แนะภาครัฐทบทวนระบบการศึกษากระแสหลักเพื่อลดทอนความต้องการและความจำเป็นในการเรียนพิเศษ
ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ระบุว่า “การศึกษาเงา” เป็นธุรกิจที่กำลังขยายตัวไม่เพียงในประเทศมั่งคั่งเท่านั้นแต่ยังรวมถึงบางประเทศที่ยากจนของเอเชีย เนื่องจากพ่อแม่พยายามปลุกปั้นให้ลูกเริ่มต้นชีวิตอย่างดีที่สุด
รายงานจากเอดีบีที่จัดทำร่วมกับศูนย์วิจัยการศึกษาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยฮ่องกง และเผยแพร่ออกมาเมื่อวันพฤหัสบดี (5) เผยว่านักเรียนประถมเกือบ 9 ใน 10 คนในเกาหลีใต้ เรียนกวดวิชา ขณะที่อัตราส่วนนี้สำหรับนักเรียนประถมในอินเดียอยู่ที่ 6 ใน 10
"แม้สัดส่วนในประเทศอื่นๆ อาจต่ำกว่านี้ แต่กล่าวได้ว่า ระบบการศึกษาเงากำลังขยายตัวอย่างมากในเอเชีย"
รายงานประเมินว่า ค่าใช้จ่ายในการกวดวิชาในเกาหลีใต้มีมูลค่าเท่ากับ 80% ของงบประมาณการศึกษาของรัฐบาล
สำหรับญี่ปุ่นนั้นใช้จ่ายกับการเรียนพิเศษของบุตรหลาน 12,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2010 และ 680 ล้านดอลลาร์สำหรับชาวสิงคโปร์ในปี 2008
ที่ฮ่องกง ที่นักเรียนมัธยมปลาย 85% เรียนกวดวิชา มีการโฆษณาติวเตอร์ “ดาวเด่น” เอิกเกริกทั้งทางทีวี หนังสือพิมพ์ และติดโปสเตอร์หลังรถประจำทาง
ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ระบุว่า “การศึกษาเงา” เป็นธุรกิจที่กำลังขยายตัวไม่เพียงในประเทศมั่งคั่งเท่านั้นแต่ยังรวมถึงบางประเทศที่ยากจนของเอเชีย เนื่องจากพ่อแม่พยายามปลุกปั้นให้ลูกเริ่มต้นชีวิตอย่างดีที่สุด
รายงานจากเอดีบีที่จัดทำร่วมกับศูนย์วิจัยการศึกษาเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยฮ่องกง และเผยแพร่ออกมาเมื่อวันพฤหัสบดี (5) เผยว่านักเรียนประถมเกือบ 9 ใน 10 คนในเกาหลีใต้ เรียนกวดวิชา ขณะที่อัตราส่วนนี้สำหรับนักเรียนประถมในอินเดียอยู่ที่ 6 ใน 10
"แม้สัดส่วนในประเทศอื่นๆ อาจต่ำกว่านี้ แต่กล่าวได้ว่า ระบบการศึกษาเงากำลังขยายตัวอย่างมากในเอเชีย"
รายงานประเมินว่า ค่าใช้จ่ายในการกวดวิชาในเกาหลีใต้มีมูลค่าเท่ากับ 80% ของงบประมาณการศึกษาของรัฐบาล
สำหรับญี่ปุ่นนั้นใช้จ่ายกับการเรียนพิเศษของบุตรหลาน 12,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2010 และ 680 ล้านดอลลาร์สำหรับชาวสิงคโปร์ในปี 2008
ที่ฮ่องกง ที่นักเรียนมัธยมปลาย 85% เรียนกวดวิชา มีการโฆษณาติวเตอร์ “ดาวเด่น” เอิกเกริกทั้งทางทีวี หนังสือพิมพ์ และติดโปสเตอร์หลังรถประจำทาง