ผู้นำทั่วโลกเปิดประชุมสุดยอดที่ริโอเดจาเนโร ปูทางรับรองร่างพิมพ์เขียวเพื่อขจัดความยากจนและปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยนโยบายส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน แม้หลายฝ่ายวิจารณ์ว่าเนื้อหาในร่างข้อตกลงเบาหวิว เนื่องจากเจ้าภาพเน้นประนีประนอมป้องกันการประชุมล่มเหมือนที่โคเปนเฮเกนเมื่อ 4 ปีก่อน
ผู้นำ 92 คน ซึ่งรวมถึงเจ้าภาพคือ ประธานาธิบดีดิลมา รูสเซฟ ของบราซิล และนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ของจีน เข้าร่วมการประชุมสุดยอดริโอ+20 ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันพุธ (20) ด้วยการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่อง “สเตท ออฟ เดอะ แพลเน็ต” และคำแถลงของบัน คีมุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ
กิจกรรมสำคัญระดับโลกคราวนี้ มีขึ้น 20 ปีหลังการประชุมเอิร์ธซัมมิตครั้งแรกที่เมืองริโอเดจาเนโรแห่งนี้ ที่ประเทศต่างๆ ประกาศร่วมกันแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การกลายสภาพเป็นทะเลทราย และการสูญพันธุ์ของสัตว์นานาชนิด
เป็นที่คาดว่าบนเวทีนี้จะมีผู้ทรงเกียรติราว 191 คนผลัดเปลี่ยนขึ้นบรรยายและอภิปรายถกเถียงจนกระทั่งถึงวันศุกร์ (22) ที่เหล่าผู้นำจะปิดการประชุมที่กินเวลา 10 วันด้วยการลงนามรับรองข้อตกลงความยาว 53 หน้าที่คณะผู้เจรจาตกลงกันเมื่อวันอังคาร (19)
ร่างข้อตกลงดังกล่าวนี้เรียกทั้งเสียงสนับสนุนและคัดค้าน
คอนนี เฮดการ์ด กรรมาธิการด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ของสหภาพยุโรป (อียู) วิจารณ์ว่าเนื้อหาในร่างข้อตกลงเบาหวิว
ทว่า ท็อด สเติร์น ผู้แทนจากสหรัฐฯ มองว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นพัฒนาการที่ดี และไม่มีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในร่างนั้นแต่อย่างใด
ผู้นำ 92 คน ซึ่งรวมถึงเจ้าภาพคือ ประธานาธิบดีดิลมา รูสเซฟ ของบราซิล และนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ของจีน เข้าร่วมการประชุมสุดยอดริโอ+20 ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันพุธ (20) ด้วยการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่อง “สเตท ออฟ เดอะ แพลเน็ต” และคำแถลงของบัน คีมุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ
กิจกรรมสำคัญระดับโลกคราวนี้ มีขึ้น 20 ปีหลังการประชุมเอิร์ธซัมมิตครั้งแรกที่เมืองริโอเดจาเนโรแห่งนี้ ที่ประเทศต่างๆ ประกาศร่วมกันแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การกลายสภาพเป็นทะเลทราย และการสูญพันธุ์ของสัตว์นานาชนิด
เป็นที่คาดว่าบนเวทีนี้จะมีผู้ทรงเกียรติราว 191 คนผลัดเปลี่ยนขึ้นบรรยายและอภิปรายถกเถียงจนกระทั่งถึงวันศุกร์ (22) ที่เหล่าผู้นำจะปิดการประชุมที่กินเวลา 10 วันด้วยการลงนามรับรองข้อตกลงความยาว 53 หน้าที่คณะผู้เจรจาตกลงกันเมื่อวันอังคาร (19)
ร่างข้อตกลงดังกล่าวนี้เรียกทั้งเสียงสนับสนุนและคัดค้าน
คอนนี เฮดการ์ด กรรมาธิการด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ของสหภาพยุโรป (อียู) วิจารณ์ว่าเนื้อหาในร่างข้อตกลงเบาหวิว
ทว่า ท็อด สเติร์น ผู้แทนจากสหรัฐฯ มองว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นพัฒนาการที่ดี และไม่มีแนวโน้มว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในร่างนั้นแต่อย่างใด