นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการงานก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ในฐานะประธานจัดงานอุโมงค์โลก 2012 กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ ว่า มีผู้เชี่ยวชาญจากวงการวิศวกรรมก่อสร้างใต้ดิน นักพัฒนาเมือง นักวิทยาศาสตร์ และองค์กรจาก 60 ประเทศ 1,200 คน มาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และส่งเสริมนวัตกรรมการใช้พื้นที่ใต้ดินและอุโมงค์ในอาเซียน และในระดับโลก เพราะปัจจุบันประชากรครึ่งหนึ่งของโลกอาศัยอยู่ในเขตเมือง และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 70 ในปี ค.ศ.2050
ส่วนกรุงเทพฯ ก็กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเผชิญกับภัยธรรมชาติ ดังนั้น การใช้พื้นที่ใต้ดินจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยรักษาพื้นที่บนดินเอาไว้ เพราะโครงสร้างใต้ดินสามารถต้านทานความเสียหายจากอุทกภัย และแผ่นดินไหว โดยได้รับผลกระทบน้อยกว่าบนดิน และสามารถเคลื่อนไหวไปตามแรงสั่นสะเทือนของชั้นใต้ดิน ทำให้ปัจจุบันมีการสร้างอ่างเก็บน้ำอุทกภัยในระดับใต้ดิน เพื่อป้องกันเมืองจากน้ำท่วม และสร้างอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วม เช่น เมืองกัวลาลัมเปอร์ ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งไทยควรเร่งศึกษา เพราะมีความจำเป็นที่ต้องวางแนวทางป้องกันปัญหาอุทกภัย
ส่วนกรุงเทพฯ ก็กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเผชิญกับภัยธรรมชาติ ดังนั้น การใช้พื้นที่ใต้ดินจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยรักษาพื้นที่บนดินเอาไว้ เพราะโครงสร้างใต้ดินสามารถต้านทานความเสียหายจากอุทกภัย และแผ่นดินไหว โดยได้รับผลกระทบน้อยกว่าบนดิน และสามารถเคลื่อนไหวไปตามแรงสั่นสะเทือนของชั้นใต้ดิน ทำให้ปัจจุบันมีการสร้างอ่างเก็บน้ำอุทกภัยในระดับใต้ดิน เพื่อป้องกันเมืองจากน้ำท่วม และสร้างอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วม เช่น เมืองกัวลาลัมเปอร์ ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งไทยควรเร่งศึกษา เพราะมีความจำเป็นที่ต้องวางแนวทางป้องกันปัญหาอุทกภัย