ตึกสูง กทม.โกลาหล รู้สึกตึกเขย่านาน 10 นาที ผู้คนตกใจแตกตื่นเผ่นลงจากตึก หลังแผ่นดินไหว 8.7 ริกเตอร์ วสท.ชี้ ไม่กระทบรุนแรง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ชั้น 22 ตึกทิปโก้ กรุงเทพฯ ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนเกือบ 10 นาที มู่ลี่ตีกระจกหน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์บิวอินในตัวอาคารเกิดการเสียดสีกันจนได้ยินเสียงชัดเจน ผู้คนในตึกต่างก็แตกตื่นรีบออกจากตัวอาคารอย่างโกลาหล
รศ.ดร.อมร พิมานมาศ ประธานคณะอนุกรรมการวิศวกรรมโครงสร้างและสะพานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ทำให้เกิดมีแรงสั่นสะเทือน สามารถรับรู้ได้บริเวณภาคใต้ของไทย รวมถึงตึกสูงในกรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากข้อมูลเบื้องต้น หากเปรียบกับการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และเกิดสึนามิ เมื่อปี 2547 ถือว่าบริเวณที่เกิดการแผ่นดินไหวมีระยะไกลกว่าเดิม เมื่อวัดระยะห่างทั้งจากภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และ กทม.
“สำหรับตึกสูงใน กทม.ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นดินเหนียวอ่อน ไม่แข็งแรง ทำให้คลื่นแผ่นดินไหวขยายตัวได้ ชั้นดินเหนียวอ่อนจะถูกกระตุ้น ทำให้เคลื่อนตัวง่าย และสามารถรับรู้แรงเขย่าของตึก ซึ่งทำให้ประชาชนที่อยู่ในตึกตกใจ แต่จะเกิดตึกถล่มหรือได้รับความเสียหายเป็นไปได้ยาก รวมถึงถนนและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้น กทม.จะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ยังคงต้องจับตาสึนามิต่อไป” รศ.ดร.อมร กล่าว
รศ.ดร.อมร กล่าวด้วยว่า ที่น่าเป็นห่วง คือ อาคารที่มีรูปร่างดีไซน์แปลก เว้า ด้านล้างอาคารมีโครงสร้างเปิดโล่งมาก อาจมีการสั่นตัวผิดปกติ แต่หากเป็นอาคารที่เป็นสี่เหลี่ยม ไม่น่าจะได้รับผลกระทบอะไรมากนัก อีกทั้งหากเป็นอาคารที่สร้างหลังปี 2550 ซึ่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2550 กำหนดให้การสร้างอาคารรองรับเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งสามารถรับสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ชั้น 22 ตึกทิปโก้ กรุงเทพฯ ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนเกือบ 10 นาที มู่ลี่ตีกระจกหน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์บิวอินในตัวอาคารเกิดการเสียดสีกันจนได้ยินเสียงชัดเจน ผู้คนในตึกต่างก็แตกตื่นรีบออกจากตัวอาคารอย่างโกลาหล
รศ.ดร.อมร พิมานมาศ ประธานคณะอนุกรรมการวิศวกรรมโครงสร้างและสะพานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ทำให้เกิดมีแรงสั่นสะเทือน สามารถรับรู้ได้บริเวณภาคใต้ของไทย รวมถึงตึกสูงในกรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากข้อมูลเบื้องต้น หากเปรียบกับการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และเกิดสึนามิ เมื่อปี 2547 ถือว่าบริเวณที่เกิดการแผ่นดินไหวมีระยะไกลกว่าเดิม เมื่อวัดระยะห่างทั้งจากภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และ กทม.
“สำหรับตึกสูงใน กทม.ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นดินเหนียวอ่อน ไม่แข็งแรง ทำให้คลื่นแผ่นดินไหวขยายตัวได้ ชั้นดินเหนียวอ่อนจะถูกกระตุ้น ทำให้เคลื่อนตัวง่าย และสามารถรับรู้แรงเขย่าของตึก ซึ่งทำให้ประชาชนที่อยู่ในตึกตกใจ แต่จะเกิดตึกถล่มหรือได้รับความเสียหายเป็นไปได้ยาก รวมถึงถนนและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้น กทม.จะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ยังคงต้องจับตาสึนามิต่อไป” รศ.ดร.อมร กล่าว
รศ.ดร.อมร กล่าวด้วยว่า ที่น่าเป็นห่วง คือ อาคารที่มีรูปร่างดีไซน์แปลก เว้า ด้านล้างอาคารมีโครงสร้างเปิดโล่งมาก อาจมีการสั่นตัวผิดปกติ แต่หากเป็นอาคารที่เป็นสี่เหลี่ยม ไม่น่าจะได้รับผลกระทบอะไรมากนัก อีกทั้งหากเป็นอาคารที่สร้างหลังปี 2550 ซึ่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2550 กำหนดให้การสร้างอาคารรองรับเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งสามารถรับสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่ง