นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า ในปี 2554 ไทยนำเข้าสินค้าอาหารจากพม่ามีมูลค่าราว 2,454 ล้านบาท ลดลงจากปี 2553 ที่นำเข้า 3,121 ล้านบาท ขณะที่การส่งออกสินค้าอาหารไปพม่า สูงเป็นอันดับ 4 เมื่อเทียบ กับประเทศในกลุ่มอาเซียนอื่นๆ รองจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และกัมพูชา ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญในสินค้าที่เกี่ยวกับอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ตลอดจนสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และราคาไม่แพง ส่วนการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปในพม่านั้น ก่อนเข้าไปลงทุนทำการค้าในระบบควรต้องศึกษากฎระเบียบต่างๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
นายเพ็ชร กล่าวอีกว่า หลังโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย แล้วเสร็จ จะทำให้เมืองทวายของพม่า กลายเป็นศูนย์กลางการค้าเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา ขณะเดียวกัน แรงงานภายในประเทศมีค่าจ้างแรงงานต่ำ หากได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือ จะเอื้อให้เกิดการลงทุน ที่เน้นการใช้แรงงานเข้มข้นได้เป็นอย่างดี และระหว่างนี้ ไทยควรใช้จุดแข็งของพม่า โดยเฉพาะทางด้านวัตถุดิบ รวมทั้งค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ และใช้โอกาสจากนโยบายการเปิดประเทศของพม่า การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในการนำเข้าวัตถุดิบ รวมทั้งการเข้าไปลงทุนในพม่า ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพการค้าการลงทุนของผู้ประกอบการไทยให้ดียิ่งขึ้น
นายเพ็ชร กล่าวอีกว่า หลังโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย แล้วเสร็จ จะทำให้เมืองทวายของพม่า กลายเป็นศูนย์กลางการค้าเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา ขณะเดียวกัน แรงงานภายในประเทศมีค่าจ้างแรงงานต่ำ หากได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือ จะเอื้อให้เกิดการลงทุน ที่เน้นการใช้แรงงานเข้มข้นได้เป็นอย่างดี และระหว่างนี้ ไทยควรใช้จุดแข็งของพม่า โดยเฉพาะทางด้านวัตถุดิบ รวมทั้งค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ และใช้โอกาสจากนโยบายการเปิดประเทศของพม่า การปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในการนำเข้าวัตถุดิบ รวมทั้งการเข้าไปลงทุนในพม่า ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพการค้าการลงทุนของผู้ประกอบการไทยให้ดียิ่งขึ้น