ศ.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาภัยพิบัติ และข้อเสนอสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์แนวโน้มพายุที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกว่า ประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบจากพายุมากขึ้นในปีนี้ เพราะขณะนี้เป็นปีที่ปรากฏการณ์ลานินญาอ่อนตัวกำลังเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะทำให้พายุก่อตัวได้ง่ายในทะเลจีนใต้และอ่าวไทย สถิติชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะถูกพายุไต้ฝุ่น หรือพายุโซนร้อนพัดกระหน่ำเข้าสู่ภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพฯ โดยตรง อย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2549 ที่เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ในภาคกลางจากอิทธิพลของพายุช้างสาน ขณะที่ภาคใต้ตอนบนมีความเสี่ยงเช่นกัน
ขณะที่สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และการเกษตร ให้ข้อมูลว่า แม้ขณะนี้พายุปาข่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว แต่แบบจำลองของสถาบันแสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่วันพรุ่งนี้บางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกจะเริ่มมีฝนตกในบริเวณที่เป็นสีเขียว และสีเหลือง ซึ่งจะเป็นลักษณะฝนกระจาย แต่หลังจากนั้นประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมจากมหาสมุทรอินเดียที่พัดเข้ามาสู่ประเทศไทย จะทำให้มีฝนตกเกือบทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 4-8 เมษายน โดยอาจจะมีฝนตกหนักในจังหวัดที่เป็นสีแดง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางบางส่วน
ขณะที่สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และการเกษตร ให้ข้อมูลว่า แม้ขณะนี้พายุปาข่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว แต่แบบจำลองของสถาบันแสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่วันพรุ่งนี้บางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกจะเริ่มมีฝนตกในบริเวณที่เป็นสีเขียว และสีเหลือง ซึ่งจะเป็นลักษณะฝนกระจาย แต่หลังจากนั้นประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมจากมหาสมุทรอินเดียที่พัดเข้ามาสู่ประเทศไทย จะทำให้มีฝนตกเกือบทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 4-8 เมษายน โดยอาจจะมีฝนตกหนักในจังหวัดที่เป็นสีแดง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางบางส่วน