การเสวนาเหลียวหลังแลหน้ากับปัญหาวิกฤตอุทกภัย ศ.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอ 11 มาตรการแก้ไขน้ำท่วมแบบหลายมิติ ซึ่งหนึ่งในมาตราการสำคัญคือ การเสนอให้สร้างระบบทางด่วนพิเศษระบายน้ำท่วม ที่จะใช้แนวคลองชัยนาท ป่าสัก คลองระพีพัฒน์ใต้ และคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต เป็นเส้นทางระบายน้ำ โดยจะทำทางด่วนพิเศษตัดยอดน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งทางด่วนนี้ จะมีความกว้าง 2 กิโลเมตร สูง 6 เมตร ซึ่งคัน 6 เมตร อาจทำเป็นทางมอเตอร์เวย์สายใหม่ ที่เดินทางสู่ภาคเหนือได้รวดเร็วขึ้น ขณะที่ 2 ฝั่งคลองเวลาปกติ จะสามารถเป็นพื้นที่ทำการเกษตรได้
ศ.ธนวัฒน์ กล่าวอีกว่า มาตรการแก้ไขน้ำท่วมที่ดี ควรนำมาตรการที่ใช้โครงสร้างและไม่ใช้โครงสร้างมาประกอบกัน และรัฐบาลควรนำข้อมูลของนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา ขณะเดียวกัน ประชาชนควรแสดงบทบาทเรียกร้องความต้องการในการแก้ปัญหาจากรัฐบาล ด้วยการเสนอความคิดเห็น หรือสนับสนุนงานวิจัยที่เป็นประโยชน์
ส่วนนักวิชาการคนอื่นเห็นว่า ระบบข้อมูลที่ช่วยตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำ ต้องมีการบูรณาการมากกว่านี้ พร้อมทั้งต้องมองระบบการจัดการน้ำให้เป็นระบบเดียวกัน
ศ.ธนวัฒน์ กล่าวอีกว่า มาตรการแก้ไขน้ำท่วมที่ดี ควรนำมาตรการที่ใช้โครงสร้างและไม่ใช้โครงสร้างมาประกอบกัน และรัฐบาลควรนำข้อมูลของนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา ขณะเดียวกัน ประชาชนควรแสดงบทบาทเรียกร้องความต้องการในการแก้ปัญหาจากรัฐบาล ด้วยการเสนอความคิดเห็น หรือสนับสนุนงานวิจัยที่เป็นประโยชน์
ส่วนนักวิชาการคนอื่นเห็นว่า ระบบข้อมูลที่ช่วยตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำ ต้องมีการบูรณาการมากกว่านี้ พร้อมทั้งต้องมองระบบการจัดการน้ำให้เป็นระบบเดียวกัน