นักวิชาการจุฬาฯ เสนอ 11 มาตรการ ป้องกันน้ำ และแก้ไขน้ำท่วม ชู ทำซูเปอร์ฟลัดเวย์ ระบายน้ำ-กักเก็บน้ำ เชื่อป้องกันได้ดีเยี่ยม
วันนี้ (14 พ.ย.) ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวแถลงข่าวเรื่อง “11 มาตรการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบหลายมิติ ซูเปอร์เอกซเพรสฟลัดเวย์ หนทางฟื้นความเชื่อมั่นประเทศไทย” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า เนื่องจากสภาพความแปรปรวนทางภูมิอากาศของประเทศไทยและทั่วโลก กำลังเกิดการผกผันและไม่มีความแน่นอน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาในแบบเฉพาะพื้นที่ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน และยิ่งประกอบกับความขัดแย้งของรัฐบาลแล้ว ยิ่งก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาว ดังนั้น ทางศูนย์ฯ จึงได้มีการทบทวนแผนการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ในส่วนของการบริหาร และการจัดการน้ำ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมและยั่งยืน และไม่ก่อเกิดให้เกิดผลกระทบครั้งใหญ่เหมือนในปีนี้ ซึ่งมั่นใจว่า หากดำเนินการในมาตรการใดมาตรการหนึ่งได้ น่าจะส่ามารถปกป้องเมืองหลวงจากปัญหาน้ำทุ่งหลากเข้าท่วมกรุงเทพมหานครอย่างแน่นอน
ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการที่เสนอนั้น ได้แก่ 1. สร้างระบบทางด่วนพิเศษ ระบายน้ำ หรือ ซูเปอร์ฟลัดเวย์ (Super - express floodway) ซึ่งมีระยะทางโดยรวมตั้งแต่คลองชัยนาท-ป่าสัก คลองระพีพัทธ์ ใต้ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ซึ่งรวมระยะทางยาวกว่า 200 กิโลเมตร โดยหลักการนี้หากสามารถทำได้ คาดว่า ใช้งบประมาณน้อยกว่าการขุดคลองใหม่ได้มาก ซึ่งหากทำได้ซูเปอร์ฟลัดเวย์จะช่วยในการกักเก็บน้ำ และช่วยระบายน้ำพร้อมๆ กัน โดยกักเก็บน้ำสูงสุดได้ราว 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำได้ 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ต้องยอมจ่ายเงินค่าเสียหายให้กับประชาชนที่ต้องสละพื้นที่สำหรับฟลัดเวย์สองฝั่ง โดยระยะห่างของผลกระทบนน่าจะเกิดขึ้นไม่เกินฝั่งละ 1 กิโลเมตร ดังนั้นหากรัฐบาลต้องการความร่วมมือทางศูนย์ฯก็ยินดีให้ข้อมูล เพราะขณะนี้ดำเนินการเรื่องโมเดลจำลองของคลองซุปเปอร์ฟลัดเวย์แล้ว แต่อาจต้องทำประชาพิจารณ์เพิ่มเติม ในเรื่องผลกระทบ
“หากต้องดำเนินการจริงๆ ในส่วนของซูเปอร์ฟลัดเวย์นั้น รัฐจะไม่ต้องขุดคลองใหม่ แค้ลอกคลองที่มีอยู่แล้วออกบางส่วนเท่านั้น แต่ต้องมาคุยในรายละเอียดก่อนว่าจะลอกคลองพื้นที่ใด ระยะความลึกเท่าใด และที่สำคัญต้องห้ามประชาชนหรือสัตว์เลี้ยงอาศัยอยู่ในพื้นที่ซปเปอร์ฟลัดเวย์ แต่หากไม่มีภัยพิบัติก็สามารถปลูกพืชหรือเกษตรกรรมอื่นๆ ได้ เช่น ทำนาข้าว เป็นต้น ทั้งนี้ มาตรการซูเปอร์ฟลัดเวย์นั้น อาจทำได้ดีในกรณีป้องกันน้ำทุง แต่หากกรณีพายุนั้นอาจจะไม่ได้ผล ดังหากป้องกันพายุต้องพัฒนาระบบเตือนภัยให้มั่นคง และมีประสิทธิภาพ” ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว
หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรการที่ 2 วางแผนแม่บทควบคุมการป้องกันน้ำท่วมโดยใช้สิ่งก่อสร้างในลุ่มน้ำต่างๆ ควบคุมการถมที่ดินทั้งระบบ ควบคุมการพัฒนาเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ล่อแหลมน้ำท่วม 3.ปรับปรุงระบบเตือนภัยพิบัตอล่วงหน้าและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำใหม่ทั้งระบบ 4.วางแผนพัฒนากรุงเทพมหานครและเมืองบริวารในอนาคตซึ่งอาจเป็ฯการขยายการเดินทางเชื่อมต่อจังหวัดรอบๆ มากกว่าการมุ่งขยายประชากรใน กรุงเทพฯ แต่มห้คงความเป็นเมืองในกรุงเทพฯต่อไป เช่น ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี 5.มาตรการจัดเก็บภาษีน้ำท่วมและการประกันภัย เพื่อกองทุนชดเชยน้ำท่วม ทั้งภาษีโดยตรงในการปิดล้อมป้องกันน้ำท่วม และภาษาทางอ้อมเพื่อปกก้องพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติ 6.มาตรการคสวบคุมการใช้ที่ดินและผังเมืองไทยโดยใช้แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม 7.ควบคุมการใช้น้ำบาดาลเพื่อลดปัญหาแผ่นดินทรุด ช่วยให้การระบายน้ำดีขึ้น 8.มาตรการแผนแม่บทกำหนดระยะเวลาในการเพาะปลูกในลุ่มน้ำท่วมอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับการแปรปรวนของภูมิอากาศในอนาคต เพื่อลดความเสียหายในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ช่วงน้ำน้อยทำนา 3 ครั้ง ช่วงน้ำมากงดทำนา เป็นต้น
9.เร่งออกมาตรการอนุรักษ์ปกป้องพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติ ให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน จะได้มีการรักษาระบบน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งส่วนนี้คนนอกไม่มีสิทธิ์ยุ่งกับแนวทางของคนในพื้นที่ลุ่มน้ำที่เป็นแก้มลิง หากไม่รู้วิธีบริหารจัดการน้ำที่ถูกต้องของชุมชน เชื่อว่า มาตรการนี้คนในพื้นที่ย่อมเชี่ยวชาญกว่า ดังนั้น ภาครัฐทำแค่ในส่วนของการป้องกันการรุกรานพื้นที่เท่านั่น 10 เร่งพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำและพิบัติภัยทั้งระบบ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วน เช่น เปิดเผยข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำออกสู่สื่อมวลชนเพื่อให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง ไม่ใช่ปกปิดข้อมูล โดยอ้างว่า เป็นความลับ เนื่องจากเรื่องพิบัติภัยนั้นเกิดผลกระทบต่อทุกคน และ 11.คือ มาตรการตั้งหน่วยงานดูแลเรื่องภัยพิบัติอย่างถาวร พร้อมทั้งส่งเสริมงานวิจัยระบบพิบัติภัยอย่างจริงจัง ด้วยองค์ความรู้รอบด้าน ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่การจัดการเฉพาะพื้นที่โดยปล่อยให้เป็นไปตามกระแสการเมือง ซึ่งหากดำเนินการตามข้อเสนอเชื่อว่าไม่จำเป็นต้องย้ายเมืองหลวงตามที่นักวิชาการต่างประเทศวิเคราะห์ เพราะ กรุงเทพฯ และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะปลอดภัย
วันนี้ (14 พ.ย.) ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวแถลงข่าวเรื่อง “11 มาตรการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบหลายมิติ ซูเปอร์เอกซเพรสฟลัดเวย์ หนทางฟื้นความเชื่อมั่นประเทศไทย” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า เนื่องจากสภาพความแปรปรวนทางภูมิอากาศของประเทศไทยและทั่วโลก กำลังเกิดการผกผันและไม่มีความแน่นอน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาในแบบเฉพาะพื้นที่ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน และยิ่งประกอบกับความขัดแย้งของรัฐบาลแล้ว ยิ่งก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาว ดังนั้น ทางศูนย์ฯ จึงได้มีการทบทวนแผนการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ในส่วนของการบริหาร และการจัดการน้ำ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมและยั่งยืน และไม่ก่อเกิดให้เกิดผลกระทบครั้งใหญ่เหมือนในปีนี้ ซึ่งมั่นใจว่า หากดำเนินการในมาตรการใดมาตรการหนึ่งได้ น่าจะส่ามารถปกป้องเมืองหลวงจากปัญหาน้ำทุ่งหลากเข้าท่วมกรุงเทพมหานครอย่างแน่นอน
ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการที่เสนอนั้น ได้แก่ 1. สร้างระบบทางด่วนพิเศษ ระบายน้ำ หรือ ซูเปอร์ฟลัดเวย์ (Super - express floodway) ซึ่งมีระยะทางโดยรวมตั้งแต่คลองชัยนาท-ป่าสัก คลองระพีพัทธ์ ใต้ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ซึ่งรวมระยะทางยาวกว่า 200 กิโลเมตร โดยหลักการนี้หากสามารถทำได้ คาดว่า ใช้งบประมาณน้อยกว่าการขุดคลองใหม่ได้มาก ซึ่งหากทำได้ซูเปอร์ฟลัดเวย์จะช่วยในการกักเก็บน้ำ และช่วยระบายน้ำพร้อมๆ กัน โดยกักเก็บน้ำสูงสุดได้ราว 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำได้ 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ต้องยอมจ่ายเงินค่าเสียหายให้กับประชาชนที่ต้องสละพื้นที่สำหรับฟลัดเวย์สองฝั่ง โดยระยะห่างของผลกระทบนน่าจะเกิดขึ้นไม่เกินฝั่งละ 1 กิโลเมตร ดังนั้นหากรัฐบาลต้องการความร่วมมือทางศูนย์ฯก็ยินดีให้ข้อมูล เพราะขณะนี้ดำเนินการเรื่องโมเดลจำลองของคลองซุปเปอร์ฟลัดเวย์แล้ว แต่อาจต้องทำประชาพิจารณ์เพิ่มเติม ในเรื่องผลกระทบ
“หากต้องดำเนินการจริงๆ ในส่วนของซูเปอร์ฟลัดเวย์นั้น รัฐจะไม่ต้องขุดคลองใหม่ แค้ลอกคลองที่มีอยู่แล้วออกบางส่วนเท่านั้น แต่ต้องมาคุยในรายละเอียดก่อนว่าจะลอกคลองพื้นที่ใด ระยะความลึกเท่าใด และที่สำคัญต้องห้ามประชาชนหรือสัตว์เลี้ยงอาศัยอยู่ในพื้นที่ซปเปอร์ฟลัดเวย์ แต่หากไม่มีภัยพิบัติก็สามารถปลูกพืชหรือเกษตรกรรมอื่นๆ ได้ เช่น ทำนาข้าว เป็นต้น ทั้งนี้ มาตรการซูเปอร์ฟลัดเวย์นั้น อาจทำได้ดีในกรณีป้องกันน้ำทุง แต่หากกรณีพายุนั้นอาจจะไม่ได้ผล ดังหากป้องกันพายุต้องพัฒนาระบบเตือนภัยให้มั่นคง และมีประสิทธิภาพ” ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว
หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรการที่ 2 วางแผนแม่บทควบคุมการป้องกันน้ำท่วมโดยใช้สิ่งก่อสร้างในลุ่มน้ำต่างๆ ควบคุมการถมที่ดินทั้งระบบ ควบคุมการพัฒนาเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ล่อแหลมน้ำท่วม 3.ปรับปรุงระบบเตือนภัยพิบัตอล่วงหน้าและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำใหม่ทั้งระบบ 4.วางแผนพัฒนากรุงเทพมหานครและเมืองบริวารในอนาคตซึ่งอาจเป็ฯการขยายการเดินทางเชื่อมต่อจังหวัดรอบๆ มากกว่าการมุ่งขยายประชากรใน กรุงเทพฯ แต่มห้คงความเป็นเมืองในกรุงเทพฯต่อไป เช่น ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี 5.มาตรการจัดเก็บภาษีน้ำท่วมและการประกันภัย เพื่อกองทุนชดเชยน้ำท่วม ทั้งภาษีโดยตรงในการปิดล้อมป้องกันน้ำท่วม และภาษาทางอ้อมเพื่อปกก้องพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติ 6.มาตรการคสวบคุมการใช้ที่ดินและผังเมืองไทยโดยใช้แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม 7.ควบคุมการใช้น้ำบาดาลเพื่อลดปัญหาแผ่นดินทรุด ช่วยให้การระบายน้ำดีขึ้น 8.มาตรการแผนแม่บทกำหนดระยะเวลาในการเพาะปลูกในลุ่มน้ำท่วมอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับการแปรปรวนของภูมิอากาศในอนาคต เพื่อลดความเสียหายในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ช่วงน้ำน้อยทำนา 3 ครั้ง ช่วงน้ำมากงดทำนา เป็นต้น
9.เร่งออกมาตรการอนุรักษ์ปกป้องพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติ ให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน จะได้มีการรักษาระบบน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งส่วนนี้คนนอกไม่มีสิทธิ์ยุ่งกับแนวทางของคนในพื้นที่ลุ่มน้ำที่เป็นแก้มลิง หากไม่รู้วิธีบริหารจัดการน้ำที่ถูกต้องของชุมชน เชื่อว่า มาตรการนี้คนในพื้นที่ย่อมเชี่ยวชาญกว่า ดังนั้น ภาครัฐทำแค่ในส่วนของการป้องกันการรุกรานพื้นที่เท่านั่น 10 เร่งพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำและพิบัติภัยทั้งระบบ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วน เช่น เปิดเผยข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำออกสู่สื่อมวลชนเพื่อให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง ไม่ใช่ปกปิดข้อมูล โดยอ้างว่า เป็นความลับ เนื่องจากเรื่องพิบัติภัยนั้นเกิดผลกระทบต่อทุกคน และ 11.คือ มาตรการตั้งหน่วยงานดูแลเรื่องภัยพิบัติอย่างถาวร พร้อมทั้งส่งเสริมงานวิจัยระบบพิบัติภัยอย่างจริงจัง ด้วยองค์ความรู้รอบด้าน ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่การจัดการเฉพาะพื้นที่โดยปล่อยให้เป็นไปตามกระแสการเมือง ซึ่งหากดำเนินการตามข้อเสนอเชื่อว่าไม่จำเป็นต้องย้ายเมืองหลวงตามที่นักวิชาการต่างประเทศวิเคราะห์ เพราะ กรุงเทพฯ และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะปลอดภัย