การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ประชุมจะรายงานสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ ภายหลังจากนายกรัฐมนตรีมอบหมายรัฐมนตรีลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ และให้ความช่วยเหลือประชาชน ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการพิจารณาแผนแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟที่พบทุกจังหวัด แต่การดำเนินการยังไม่เป็นผล ซึ่งจะเสนอให้ทบทวนการทำงาน และหาข้อบกพร่องต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติงบประมาณเพื่อใช้สำหรับแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะเร่งด่วน ตามที่คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) เห็นชอบ 246 โครงการ วงเงินกว่า 20,000 ล้านบาท โดยเป็นโครงการในพื้นที่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา 15,000 ล้านบาท และพื้นที่ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา กว่า 9,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่จัดทำแนวคันกั้นน้ำ ซ่อมแซมประตูระบายน้ำ ติดตั้งสถานีสูบน้ำ ปรับปรุงคลองระบายน้ำ
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เสนอที่ประชุมขยายเวลาต่อ พ.ร.ก.บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม - 19 มิถุนายน 2555 เนื่องจากยังมีสถานการณ์ และจากสถิติการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้น
นอกจากนี้คาดว่า นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เสนอที่ประชุม เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ เบื้องต้นจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความรุนแรงทางการเมือง
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศ จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาบันทึกข้อตกลง หรือ เอ็มโอยู พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล โดยจะนำกลับมาพิจารณาใหม่ หาก ครม.อนุมัติ จะนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาเห็นชอบ ตามมาตรา 190 เพื่อให้ทันการประชุมเจบีซี ที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ระหว่างวันที่ 20-21 พฤษภาคมนี้
ส่วนประเด็นที่ยังไม่มีความชัดเจน ไม่พร้อมเข้าที่ประชุม ครม. คือ โครงการจัดซื้อแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เนื่องจากพบปัญหาราคา ที่ผู้ประกอบการเสนอเกินกรอบงบประมาณที่ตั้งไว้ ทำให้ต้องทบทวนผู้ประกอบการรายใหม่ รวมถึงความไม่ชัดเจนของโครงการพักหนี้ครัวเรือน ซึ่งไม่เกิน 5 แสนบาท จำนวน 5 ล้านคน
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติงบประมาณเพื่อใช้สำหรับแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะเร่งด่วน ตามที่คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) เห็นชอบ 246 โครงการ วงเงินกว่า 20,000 ล้านบาท โดยเป็นโครงการในพื้นที่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา 15,000 ล้านบาท และพื้นที่ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา กว่า 9,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่จัดทำแนวคันกั้นน้ำ ซ่อมแซมประตูระบายน้ำ ติดตั้งสถานีสูบน้ำ ปรับปรุงคลองระบายน้ำ
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เสนอที่ประชุมขยายเวลาต่อ พ.ร.ก.บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม - 19 มิถุนายน 2555 เนื่องจากยังมีสถานการณ์ และจากสถิติการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ผ่านมา ทำให้สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้น
นอกจากนี้คาดว่า นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เสนอที่ประชุม เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ เบื้องต้นจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความรุนแรงทางการเมือง
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศ จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาบันทึกข้อตกลง หรือ เอ็มโอยู พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล โดยจะนำกลับมาพิจารณาใหม่ หาก ครม.อนุมัติ จะนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาเห็นชอบ ตามมาตรา 190 เพื่อให้ทันการประชุมเจบีซี ที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ระหว่างวันที่ 20-21 พฤษภาคมนี้
ส่วนประเด็นที่ยังไม่มีความชัดเจน ไม่พร้อมเข้าที่ประชุม ครม. คือ โครงการจัดซื้อแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เนื่องจากพบปัญหาราคา ที่ผู้ประกอบการเสนอเกินกรอบงบประมาณที่ตั้งไว้ ทำให้ต้องทบทวนผู้ประกอบการรายใหม่ รวมถึงความไม่ชัดเจนของโครงการพักหนี้ครัวเรือน ซึ่งไม่เกิน 5 แสนบาท จำนวน 5 ล้านคน