นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวการประชุมนโยบายแอลกอฮอล์ระดับโลก จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เพื่อสร้างความตระหนักให้ทุกประเทศปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ ลดปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับโลก ซึ่งมีนักวิชาการจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็น 1 ใน 4 ของตัวการทำลายสุขภาพ ทำให้ประชากรโลกเสียชีวิต ปีละกว่า 2,500,000 คน เฉลี่ยนาทีละ 4.8 คน โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 15-29 ปี ที่มีอัตราการเสียชีวิตปีละ 320,000 คน ทำให้สมัชชาอนามัยโลก มีมติรับรองยุทธศาสตร์โลก เพื่อจัดการปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเป็นกรอบในการดำเนินงานให้กับ 192 ประเทศสมาชิก
ขณะที่ผลสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2554 พบว่า เยาวชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ดื่มสุราถึง 17 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 32 ของประชากรวัยนี้ที่มีทั้งหมด 53,900,000 คน โดยผู้ชายดื่มมากกว่าผู้หญิง 5 เท่าตัว หากเปรียบเทียบกับปี 2552 ผู้ชายมีอัตราการดื่มลดลงจากร้อยละ 54.5 เป็นร้อยละ 53.4 ขณะที่ผู้หญิงดื่มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 10.8 เป็นร้อยละ 10.9
ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขจึงดำเนินแนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งมาตรการทางสังคม ด้วยการขอความร่วมมือจากผู้นำทางศาสนา 5 ศาสนา ในการร่วมกันรณรงค์ และสร้างความตระหนักให้ประชาชน รวมถึงการเร่งผลักดันกฎหมายลูกเพิ่มเติมอีก 8 ฉบับ เพื่อควบคุมปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็น 1 ใน 4 ของตัวการทำลายสุขภาพ ทำให้ประชากรโลกเสียชีวิต ปีละกว่า 2,500,000 คน เฉลี่ยนาทีละ 4.8 คน โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 15-29 ปี ที่มีอัตราการเสียชีวิตปีละ 320,000 คน ทำให้สมัชชาอนามัยโลก มีมติรับรองยุทธศาสตร์โลก เพื่อจัดการปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเป็นกรอบในการดำเนินงานให้กับ 192 ประเทศสมาชิก
ขณะที่ผลสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2554 พบว่า เยาวชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ดื่มสุราถึง 17 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 32 ของประชากรวัยนี้ที่มีทั้งหมด 53,900,000 คน โดยผู้ชายดื่มมากกว่าผู้หญิง 5 เท่าตัว หากเปรียบเทียบกับปี 2552 ผู้ชายมีอัตราการดื่มลดลงจากร้อยละ 54.5 เป็นร้อยละ 53.4 ขณะที่ผู้หญิงดื่มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 10.8 เป็นร้อยละ 10.9
ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขจึงดำเนินแนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งมาตรการทางสังคม ด้วยการขอความร่วมมือจากผู้นำทางศาสนา 5 ศาสนา ในการร่วมกันรณรงค์ และสร้างความตระหนักให้ประชาชน รวมถึงการเร่งผลักดันกฎหมายลูกเพิ่มเติมอีก 8 ฉบับ เพื่อควบคุมปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีประสิทธิภาพ