น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมรับฟังแนวนโยบายของกระทรวงคมนาคม ในปี 2555 โดย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และข้าราชการระดับสูง ร่วมนำเสนอรายงาน
โครงการสำคัญที่จะดำเนินการในปีนี้ ได้แก่ โครงการจัดซื้อรถโดยสารใหม่ โดยใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (NGV) ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเท (ขสมก.) จำนวน 3,506 คัน มูลค่าประมาณ 13,700 ล้านบาท แบ่งเป็นการจัดซื้อรถโดยสาร 3,183 คัน และเปลี่ยนเครื่องยนต์ 323 คัน ขณะนี้กระทรวงฯ เสนอเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา จากนั้นคาดว่าจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้ภายในเดือนนี้
นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 มูลค่า 83,500 ล้านบาท ประกอบด้วย การขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออก งานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินสำรองหลังที่ 1 งานระบบสาธารณูปโภค สร้างกลุ่มอาคารผู้โดยสารในประเทศหลังใหม่ รวมถึงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นทางที่ 3 มูลค่า 21,000 ล้านบาท
ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้ คาดว่าจะลงนามสัญญาก่อสร้างภายใน 4 ปี โดยความคืบหน้าล่าสุดได้ลงนามสัญญาจ้างการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบร์ริ่ง-สมุทรปราการ วงเงิน 14,000 ล้านบาท ขณะนี้กำลังทบทวนแบบก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายแคราย-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
สำหรับการพัฒนาระบบรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นั้น จะเร่งดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เบื้องต้นเส้นทางแรกที่จะสามารถดำเนินการได้ คือเส้นทางโคราช ระยะทาง 256 กิโลเมตร วงเงิน 96,800 ล้านบาท หลังจากนั้นจะขยายจากโคราชไปยังหนองคาย
โครงการสำคัญที่จะดำเนินการในปีนี้ ได้แก่ โครงการจัดซื้อรถโดยสารใหม่ โดยใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (NGV) ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเท (ขสมก.) จำนวน 3,506 คัน มูลค่าประมาณ 13,700 ล้านบาท แบ่งเป็นการจัดซื้อรถโดยสาร 3,183 คัน และเปลี่ยนเครื่องยนต์ 323 คัน ขณะนี้กระทรวงฯ เสนอเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา จากนั้นคาดว่าจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้ภายในเดือนนี้
นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 มูลค่า 83,500 ล้านบาท ประกอบด้วย การขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออก งานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินสำรองหลังที่ 1 งานระบบสาธารณูปโภค สร้างกลุ่มอาคารผู้โดยสารในประเทศหลังใหม่ รวมถึงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นทางที่ 3 มูลค่า 21,000 ล้านบาท
ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้ คาดว่าจะลงนามสัญญาก่อสร้างภายใน 4 ปี โดยความคืบหน้าล่าสุดได้ลงนามสัญญาจ้างการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบร์ริ่ง-สมุทรปราการ วงเงิน 14,000 ล้านบาท ขณะนี้กำลังทบทวนแบบก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายแคราย-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
สำหรับการพัฒนาระบบรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นั้น จะเร่งดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เบื้องต้นเส้นทางแรกที่จะสามารถดำเนินการได้ คือเส้นทางโคราช ระยะทาง 256 กิโลเมตร วงเงิน 96,800 ล้านบาท หลังจากนั้นจะขยายจากโคราชไปยังหนองคาย