พิธีเปิดการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง GMS ครั้งที่ 4 ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติเมียนมาร์ นครเนปิดอร์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เริ่มต้นขึ้นแล้ว
โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยเข้าร่วม พร้อมผู้นำอีก 5 ประเทศสมาชิก ประกอบด้วยลาว กัมพูชา จีน เวียดนาม และสหภาพเมียนมาร์ ร่วมกับประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย หรือ ADB ทั้งนี้ ผู้นำ 6 ประเทศสมาชิก ได้ร่วมหารือการนำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนงาน GMS ฉบับใหม่ ปี 2012 - 2022 ไปสู่การปฏิบัติ โดยเน้นระเบียงเศรษฐกิจเป็นหัวใจหลัก ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทย ยืนยันใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาชนและทรัพย์สินในอนุภูมิภาค การเกื้อหนุนกับกรอบความร่วมมืออื่นและการสนับสนุนทางการเงินที่มีความเกี่ยวโยงกัน โดยนายกรัฐมนตรี ให้ความมั่นใจว่า ไทยจะเป็นหุ้นส่วนที่แข็งขันในกรอบความร่วมมือ GMS และทำงานร่วมกับสมาชิกและหุ้นส่วนอื่นๆ เพื่อทำให้อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเชื่อมโยงกันมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนประชาคมอาเซียนและภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ที่สามารถปรับตัวและยืนหยัดอยู่ได้ จากนั้นผู้นำ 6 ประเทศ ได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมผู้นำ และผู้นำแต่ละประเทศยังร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจ 3 ฉบับ ได้แก่ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเร่งรัดในการจัดให้มีโครงข่ายทางด่วน สารสนเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศระยะที่ 2 บันทึกความเข้าใจสำหรับการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์ที่อาจมีการแพร่กระจายตามบริเวณด่านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสมาคมขนส่งในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
อย่างไรก็ตาม ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายกรัฐมนตรี จะหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีเมียนมาร์ โดยคาดว่าทั้งสองฝ่ายจะกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลเมียนมาร์ได้ตัดสินใจเปิดจุดผ่านแดนเมียวดี และมีการปล่อยนักโทษชาวไทย และรัฐบาลไทยขอสนับสนุนพัฒนาการทางการเมืองภายในเมียนมาร์ที่เป็นไปในทิศทางบวก และจะเข้าพบนางออง ซาน ซู จี หัวหน้าพรรค NLD ในฐานะนักต่อสู้ประชาธิปไตย
โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยเข้าร่วม พร้อมผู้นำอีก 5 ประเทศสมาชิก ประกอบด้วยลาว กัมพูชา จีน เวียดนาม และสหภาพเมียนมาร์ ร่วมกับประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย หรือ ADB ทั้งนี้ ผู้นำ 6 ประเทศสมาชิก ได้ร่วมหารือการนำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนงาน GMS ฉบับใหม่ ปี 2012 - 2022 ไปสู่การปฏิบัติ โดยเน้นระเบียงเศรษฐกิจเป็นหัวใจหลัก ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทย ยืนยันใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาชนและทรัพย์สินในอนุภูมิภาค การเกื้อหนุนกับกรอบความร่วมมืออื่นและการสนับสนุนทางการเงินที่มีความเกี่ยวโยงกัน โดยนายกรัฐมนตรี ให้ความมั่นใจว่า ไทยจะเป็นหุ้นส่วนที่แข็งขันในกรอบความร่วมมือ GMS และทำงานร่วมกับสมาชิกและหุ้นส่วนอื่นๆ เพื่อทำให้อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเชื่อมโยงกันมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนประชาคมอาเซียนและภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ที่สามารถปรับตัวและยืนหยัดอยู่ได้ จากนั้นผู้นำ 6 ประเทศ ได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมผู้นำ และผู้นำแต่ละประเทศยังร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจ 3 ฉบับ ได้แก่ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเร่งรัดในการจัดให้มีโครงข่ายทางด่วน สารสนเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศระยะที่ 2 บันทึกความเข้าใจสำหรับการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์ที่อาจมีการแพร่กระจายตามบริเวณด่านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสมาคมขนส่งในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
อย่างไรก็ตาม ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายกรัฐมนตรี จะหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีเมียนมาร์ โดยคาดว่าทั้งสองฝ่ายจะกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลเมียนมาร์ได้ตัดสินใจเปิดจุดผ่านแดนเมียวดี และมีการปล่อยนักโทษชาวไทย และรัฐบาลไทยขอสนับสนุนพัฒนาการทางการเมืองภายในเมียนมาร์ที่เป็นไปในทิศทางบวก และจะเข้าพบนางออง ซาน ซู จี หัวหน้าพรรค NLD ในฐานะนักต่อสู้ประชาธิปไตย