การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เมืองเดอร์บัน, แอฟริกาใต้ ส่อแววเหลวไม่อาจตกลงกันได้ในสัปดาห์นี้ หลังจีน อเมริกา อินเดีย สามผู้ก่อมลพิษรายใหญ่สุดของโลก ต่างปฏิเสธที่จะเดินหน้าไปสู่การยอมรับพันธะผูกพันใหม่ๆ เพื่อจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เวลานี้มีเพียงสหภาพยุโรป (อียู) ที่กำลังพยายามผลักดันเพื่อให้พิธีสารเกียวโต อันเป็นข้อตกลงระดับโลกว่าด้วยการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย สามารถอยู่รอดต่อไป
ทว่าแม้กระทั่ง บัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ก็ยังยอมรับระหว่างเข้าร่วมการประชุมเดอร์บันกับผู้แทนจากเกือบ 200 ชาติ เมื่อวันอังคาร (6) ว่า ที่ประชุมคราวนี้อาจไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่มีผลทางกฎหมายได้
การประชุมภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC)คราวนี้ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยที่ บัน เดินทางมาทำพิธีเปิดการประชุมในช่วงที่เป็นการเจรจาระดับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม ขณะที่ตามกำหนดการ การประชุมคราวนี้จะสิ้นสุดลงในวันศุกร์(9)
อียูกำลังพยายามกดดันให้ได้ข้อตกลงฉบับใหม่ภายในปี 2015 และมีผลบังคับใช้ไม่เกินปี 2020 โดยข้อตกลงฉบับใหม่จะเป็นการปรับปรุงแก้ไขพิธีสารเกียวโต เพื่อสะท้อนการแจ้งเกิดของประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ เช่น จีน ในฐานะผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนรายใหญ่ และบังคับให้ประเทศเหล่านั้นลดการปล่อยก๊าซมลพิษ
พิธีสารเกียวโตรอบแรกที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นข้อกำหนดการลดการปล่อยมลพิษคาร์บอนสำหรับพวกประเทศพัฒนาแล้ว โดยยังไม่แตะต้องพวกเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ แถมประเทศพัฒนาแล้วรายยักษ์อย่างสหรัฐฯ ก็ยังปฏิเสธ ไม่ยอมให้สัตยาบันข้อตกลงฉบับนี้ตั้งแต่ปี 2001 แล้ว
แต่พิธีสารเกียวโตรอบแรกก็จะหมดอายุการบังคับใช้ลงแล้วในปีหน้า
ทั้งนี้ นักวิจัยระบุว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกควรถึงระดับสูงสุดและเริ่มลดลงในปี 2020 เพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เลวร้าย เช่น ประเทศเกาะจมหาย และพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
เงื่อนไขในการลงนามของอียูคือ ผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ชาติอื่นๆ ต้องยอมรับโรดแมปที่กำหนดให้ชาติต่างๆ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในบางระดับ เนื่องจากหากปราศจากเงื่อนไขดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดความคืบหน้าอย่างมีความหมายต่อโลก เพราะอียูปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 11% ของปริมาณรวมทั่วโลก ขณะที่จีน สหรัฐฯ และอินเดีย มีปริมาณการปล่อยรวมกันเกือบครึ่งของปริมาณทั่วโลก
เวลานี้ทั้งสามชาติดูจะมีท่าทีต้องการชะลอการให้คำมั่นซึ่งมีผลผูกพันตามกฎหมายในเรื่องการลดการปล่อยมลพิษ ไปจนถึงปี 2015 หลังจากมีการเผยแพร่รายงานการทบทวนผลล่าสุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจวัดประสิทธิภาพในการลดการปล่อยมลพิษที่แต่ละชาติให้สัญญาไว้ได้
เวลานี้มีเพียงสหภาพยุโรป (อียู) ที่กำลังพยายามผลักดันเพื่อให้พิธีสารเกียวโต อันเป็นข้อตกลงระดับโลกว่าด้วยการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย สามารถอยู่รอดต่อไป
ทว่าแม้กระทั่ง บัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ก็ยังยอมรับระหว่างเข้าร่วมการประชุมเดอร์บันกับผู้แทนจากเกือบ 200 ชาติ เมื่อวันอังคาร (6) ว่า ที่ประชุมคราวนี้อาจไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่มีผลทางกฎหมายได้
การประชุมภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC)คราวนี้ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยที่ บัน เดินทางมาทำพิธีเปิดการประชุมในช่วงที่เป็นการเจรจาระดับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม ขณะที่ตามกำหนดการ การประชุมคราวนี้จะสิ้นสุดลงในวันศุกร์(9)
อียูกำลังพยายามกดดันให้ได้ข้อตกลงฉบับใหม่ภายในปี 2015 และมีผลบังคับใช้ไม่เกินปี 2020 โดยข้อตกลงฉบับใหม่จะเป็นการปรับปรุงแก้ไขพิธีสารเกียวโต เพื่อสะท้อนการแจ้งเกิดของประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ เช่น จีน ในฐานะผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนรายใหญ่ และบังคับให้ประเทศเหล่านั้นลดการปล่อยก๊าซมลพิษ
พิธีสารเกียวโตรอบแรกที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นข้อกำหนดการลดการปล่อยมลพิษคาร์บอนสำหรับพวกประเทศพัฒนาแล้ว โดยยังไม่แตะต้องพวกเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ แถมประเทศพัฒนาแล้วรายยักษ์อย่างสหรัฐฯ ก็ยังปฏิเสธ ไม่ยอมให้สัตยาบันข้อตกลงฉบับนี้ตั้งแต่ปี 2001 แล้ว
แต่พิธีสารเกียวโตรอบแรกก็จะหมดอายุการบังคับใช้ลงแล้วในปีหน้า
ทั้งนี้ นักวิจัยระบุว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกควรถึงระดับสูงสุดและเริ่มลดลงในปี 2020 เพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เลวร้าย เช่น ประเทศเกาะจมหาย และพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
เงื่อนไขในการลงนามของอียูคือ ผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ชาติอื่นๆ ต้องยอมรับโรดแมปที่กำหนดให้ชาติต่างๆ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในบางระดับ เนื่องจากหากปราศจากเงื่อนไขดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดความคืบหน้าอย่างมีความหมายต่อโลก เพราะอียูปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 11% ของปริมาณรวมทั่วโลก ขณะที่จีน สหรัฐฯ และอินเดีย มีปริมาณการปล่อยรวมกันเกือบครึ่งของปริมาณทั่วโลก
เวลานี้ทั้งสามชาติดูจะมีท่าทีต้องการชะลอการให้คำมั่นซึ่งมีผลผูกพันตามกฎหมายในเรื่องการลดการปล่อยมลพิษ ไปจนถึงปี 2015 หลังจากมีการเผยแพร่รายงานการทบทวนผลล่าสุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจวัดประสิทธิภาพในการลดการปล่อยมลพิษที่แต่ละชาติให้สัญญาไว้ได้