xs
xsm
sm
md
lg

ผู้เชี่ยวชาญแนะกรมชลฯ เปิดประตูระบายน้ำ-สูบน้ำไปฝั่ง ตอ.100%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ก่อนประชุมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) และหารือปัญหาสถานการณ์น้ำที่เข้าท่วมกรุงเทพมหานคร กับนางคริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และนายอเล็กซานเดอร์ เฟลเมล ประธานสภาธุรกิจอาเซียน-สหรัฐอเมริกา เพื่อการประสานขอความช่วยเหลือ ซึ่งสหรัฐฯ ยืนยันในความพร้อมที่จะช่วยเหลือประเทศไทย
ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ยอมรับ ว่า สถานการณ์น้ำ โดยเฉพาะน้ำที่เข้าท่วมกรุงเทพฯ จำเป็นต้องประเมินสถานการณ์แบบวันต่อวัน รวมถึงศูนย์อพยพ ยังต้องขอเวลาประเมินสถานการณ์อีก 1 วัน ก่อนจะสรุปว่าจะต้องย้ายไปที่อื่นหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ย้ำว่าทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น จะต้องแจ้งเตือนประชาชนอย่างเร็วที่สุด คือ 3 ชั่วโมง และจะไม่ช้ากว่า 1 วัน
นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ขณะนี้กำลังป้องกันพนังกั้นน้ำ 3 จุด ที่เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครอย่างสุดความสามารถ หากไม่เกิดกรณีการพังทลายหรือแตกหัก ก็จะสามารถปกป้องพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานครได้ พร้อมกับระบุว่า กรมชลประทานกำลังพิจารณาการเปิดประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ ตามข้อเสนอของฝ่ายวิชาการ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปริมาณน้ำมาก ซึ่งศักยภาพของประตูไม่สามารถต้านทานน้ำได้
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ เรียกประชุม ครม.เงา เพื่อระดมแนวทางการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำที่เข้าท่วมกรุงเทพมหานคร พร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ ทั้งนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมและอุทยานเพื่อสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เข้าร่วมด้วย
นายเสรี เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในระดับที่ร้ายแรงที่สุด คือเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด และนานนับเดือน และน่าเป็นห่วงที่เขตบางกะปิ และพระโขนง ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำ อาจท่วมสูงถึง 1.50-2 เมตร ทั้งนี้ เห็นว่าจะสามารถลดความเสียหายได้ ถ้ากรมชลประทานเปิดประตูระบายน้ำ และเดินเครื่องสูบน้ำไปยังฝั่งตะวันออกเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ หลังการประชุม ครม.เงา และได้ข้อสรุปเพื่อคลี่คลายปัญหา หรือลดความเสียหายได้ นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะนำข้อสรุปทั้งหมดเสนอต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายกรัฐมนตรี พิจารณาร่วมกัน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้น
สำหรับพื้นที่เชื่อมต่อกรุงเทพมหานคร 3 จุด ที่ต้องป้องกันอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ คือ จุดที่สร้างพนังกั้นน้ำในหมู่บ้านเมืองเอก ระยะทาง 10 กิโลเมตร และบริเวณเขตตลิ่งชัน หลังมหาวิทยาลัยมหิดล และจุดสุดท้ายคือรังสิต คลอง 5
ส่วนความคืบหน้าการย้ายศูนย์พักพิง ศปภ.ดอนเมือง ที่บางส่วนย้ายไปยังศูนย์ราชมังคลากีฬาสถาน และวิทยาลัยพลศึกษา จ.ชลบุรี ขณะนี้ย้ายไปแล้ว 600 คน จากที่ลงทะเบียน 11,26 คน ทำให้วันนี้นางรัชนี สุจิตต์ รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเร่งประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจ กรณีความไม่ปลอดภัยที่เป็นพื้นที่เสี่ยง
พร้อมกันนั้น ได้ประสานบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เพื่อเตรียมรถโดยสารรับ-ส่งผู้ประสบภัยกลับภูมิลำเนา
กำลังโหลดความคิดเห็น