สถานการณ์น้ำท่วมภาคอุตสาหกรรม นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผู้ประกอบการยานยนต์เกรงว่าการส่งมอบรถยนต์ต้องล่าช้าออกไป เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนป้อนให้กับโรงงานฮอนด้า และโตโยต้า
ขณะที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ซึ่งมีโรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้า ต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว รวมทั้งผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้ออื่นที่ต้องเตรียมหาอะไหล่สำรองเช่นกัน
นายศุภรัตน์ กล่าวว่า จากการหารือกับผู้บริหารฮอนด้า โรงงานแห่งนี้อาจพิจารณาย้ายไปพื้นที่อื่น เนื่องจากพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา มีน้ำท่วมซ้ำซาก เทียบกับพื้นที่ จ.ระยอง ที่ฮอนด้ามีโรงงานเช่นกัน แต่กลับไม่เคยประสบปัญหาลักษณะนี้ แต่ก็คงไม่ถึงกับต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ เนื่องจากหลายประเทศก็มีปัญหาภัยธรรมชาติ
ขณะที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ นอกเหนือไปจากสิทธิประโยชน์จาก BOI นอกจากนี้ ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือแรงงานที่ไม่มีงานทำชั่วคราว ส่วนระยะยาวรัฐบาลควรมีมาตรการป้องกันน้ำท่วมซ้ำซาก เช่น ทำทางระบายน้ำ หรือมาตรการอื่นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่เศรษฐกิจ
นายสมมาตร ขุนเศรษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เสนอให้รัฐบาลตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม วงเงินไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ สำหรับนำไปฟื้นฟูโรงงานและเสริมสภาพคล่อง
ขณะที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลง 13 พื้นที่เสี่ยงของกรุงเทพฯ เพื่อให้คำแนะนำโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อมที่ใกล้แม่น้ำจำนวน 1,243 แห่ง สำหรับเตรียมรับมือน้ำท่วม ด้วยการจัดเก็บและขนย้ายเครื่องจักร รวมถึงสารเคมี และกากของเสียอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง
ทางด้านนายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบน้ำท่วมทั้งในและนอกเขตอุตสาหกรรมทั้งหมด 600 แห่ง ขณะนี้กระทรวงฯ ได้จัดหาหินคลุกและหินฝุ่นเพื่อบรรจุใส่กระสอบทรายที่กำลังจะขาดแคลนจำนวน 3 ล้านตัน จากความต้องการเบื้องต้น 1 ล้านถุง
ขณะที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ซึ่งมีโรงงานประกอบรถยนต์ฮอนด้า ต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว รวมทั้งผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้ออื่นที่ต้องเตรียมหาอะไหล่สำรองเช่นกัน
นายศุภรัตน์ กล่าวว่า จากการหารือกับผู้บริหารฮอนด้า โรงงานแห่งนี้อาจพิจารณาย้ายไปพื้นที่อื่น เนื่องจากพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา มีน้ำท่วมซ้ำซาก เทียบกับพื้นที่ จ.ระยอง ที่ฮอนด้ามีโรงงานเช่นกัน แต่กลับไม่เคยประสบปัญหาลักษณะนี้ แต่ก็คงไม่ถึงกับต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ เนื่องจากหลายประเทศก็มีปัญหาภัยธรรมชาติ
ขณะที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ นอกเหนือไปจากสิทธิประโยชน์จาก BOI นอกจากนี้ ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือแรงงานที่ไม่มีงานทำชั่วคราว ส่วนระยะยาวรัฐบาลควรมีมาตรการป้องกันน้ำท่วมซ้ำซาก เช่น ทำทางระบายน้ำ หรือมาตรการอื่นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่เศรษฐกิจ
นายสมมาตร ขุนเศรษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เสนอให้รัฐบาลตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม วงเงินไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ สำหรับนำไปฟื้นฟูโรงงานและเสริมสภาพคล่อง
ขณะที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลง 13 พื้นที่เสี่ยงของกรุงเทพฯ เพื่อให้คำแนะนำโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อมที่ใกล้แม่น้ำจำนวน 1,243 แห่ง สำหรับเตรียมรับมือน้ำท่วม ด้วยการจัดเก็บและขนย้ายเครื่องจักร รวมถึงสารเคมี และกากของเสียอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง
ทางด้านนายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบน้ำท่วมทั้งในและนอกเขตอุตสาหกรรมทั้งหมด 600 แห่ง ขณะนี้กระทรวงฯ ได้จัดหาหินคลุกและหินฝุ่นเพื่อบรรจุใส่กระสอบทรายที่กำลังจะขาดแคลนจำนวน 3 ล้านตัน จากความต้องการเบื้องต้น 1 ล้านถุง