รายงานองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา เปิดเผยในช่วงเช้าวันนี้ (24 ก.ย.)ว่า ดาวเทียมวิจัยชั้นบรรยากาศเบื้องสูงของนาซา หรือ ยูเออาร์เอส ซึ่งเป็นชิ้นส่วนขยะอวกาศที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี ตกลงสู่พื้นโลกแล้ว แต่ยังระบุพิกัดที่แน่นอนไม่ได้ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับประชาชนน้อยมาก
โดยชิ้นส่วนกว่า 20 ชิ้นของดาวเทียมยูเออาร์เอสที่จะกลับสู่พื้นโลกดวงนี้ อาจมีขนาดเล็กสุด ซึ่งหนักประมาณ 1 กิโลกรัม และอาจหนักสุด ด้วยน้ำหนัก 158 กิโลกรัม ซึ่งอาจตกกระจายในรัศมี 800 กิโลเมตร
โดยดาวเทียมดังกล่าวตกลงสู่พื้นโลกเมื่อระหว่างเวลาประมาณ 23.23 น. ของวันศุกร์ และ 01.09 น.ของวันเสาร์นี้ ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ หรือราว 10.23-12.09 น.ตามเวลาในประเทศไทย แต่เวลาตกที่แน่นอนและสถานที่ตกยังระบุไม่ได้แน่ชัด
รายงานระบุว่า นาซากำลังตรวจสอบเวลาและสถานที่ที่เศษดาวเทียมตก โดยเชื่อว่าชิ้นส่วนดาวเทียมตกสู่พื้นโลกระหว่างเวลา 10.45-11.45 น. ตามเวลาไทย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวดาวเทียมเคลื่อนที่ผ่าน แคนาดา แอฟริกา รวมทั้งมหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย
โดยชิ้นส่วนกว่า 20 ชิ้นของดาวเทียมยูเออาร์เอสที่จะกลับสู่พื้นโลกดวงนี้ อาจมีขนาดเล็กสุด ซึ่งหนักประมาณ 1 กิโลกรัม และอาจหนักสุด ด้วยน้ำหนัก 158 กิโลกรัม ซึ่งอาจตกกระจายในรัศมี 800 กิโลเมตร
โดยดาวเทียมดังกล่าวตกลงสู่พื้นโลกเมื่อระหว่างเวลาประมาณ 23.23 น. ของวันศุกร์ และ 01.09 น.ของวันเสาร์นี้ ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ หรือราว 10.23-12.09 น.ตามเวลาในประเทศไทย แต่เวลาตกที่แน่นอนและสถานที่ตกยังระบุไม่ได้แน่ชัด
รายงานระบุว่า นาซากำลังตรวจสอบเวลาและสถานที่ที่เศษดาวเทียมตก โดยเชื่อว่าชิ้นส่วนดาวเทียมตกสู่พื้นโลกระหว่างเวลา 10.45-11.45 น. ตามเวลาไทย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวดาวเทียมเคลื่อนที่ผ่าน แคนาดา แอฟริกา รวมทั้งมหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย