ศาลอาญารัชดา อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีที่ ส.ต.อ.โกศล จอมพงศ์ อายุ 40 ปี เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายธุรการ สน.บึงกุ่ม ในขณะนั้น เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำจัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ เบียดบังทรัพย์เป็นของตนเองโดยทุจริต และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ซึ่งตามฟ้องโจทก์สรุปความผิดระบุว่า เมื่อระหว่างปี 2546-2547 จำเลยซึ่งมีหน้าที่ทำบัญชีรายรับรายจ่าย นำเงินค่าเปรียบเทียบปรับต่างๆ อันเป็นรายได้ของแผ่นดินส่งเข้ารัฐ แต่จำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เบียดบังทรัพย์เป็นเงินจำนวนกว่า 500,000 บาท เป็นของตนเองโดยทุจริต โดยจำเลยให้การรับสารภาพ คดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งจำคุกจำเลย 1,765 ปี คำรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 882 ปี 6 เดือน แต่ตามกฎหมายให้จำคุกจำเลยไว้ได้ 50 ปี และให้คืนเงินจำนวน 504,932 บาท แก่รัฐด้วย โดยจำเลยอุทธรณ์อ้างว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดทักษะรู้เรื่องการเงินการคลัง เพราะไม่ได้รับมอบหมายให้ทำงานด้านธุรการการเงินมาก่อน จึงขอให้ศาลรอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ตรวจประชุมสำนวนปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า จำนวนเงินสูงกว่า 500,000 บาทเศษ และการกระทำของจำเลยมุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ไม่คำนึงถึงส่วนรวม พฤติกรรมของจำเลย จึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สมควรแก่การรอการลงโทษ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น เหมาะสมกับพฤติการณ์ของจำเลยแล้ว ศาลอุทธรณ์เห็นฟ้องด้วย พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ซึ่งตามฟ้องโจทก์สรุปความผิดระบุว่า เมื่อระหว่างปี 2546-2547 จำเลยซึ่งมีหน้าที่ทำบัญชีรายรับรายจ่าย นำเงินค่าเปรียบเทียบปรับต่างๆ อันเป็นรายได้ของแผ่นดินส่งเข้ารัฐ แต่จำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เบียดบังทรัพย์เป็นเงินจำนวนกว่า 500,000 บาท เป็นของตนเองโดยทุจริต โดยจำเลยให้การรับสารภาพ คดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งจำคุกจำเลย 1,765 ปี คำรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 882 ปี 6 เดือน แต่ตามกฎหมายให้จำคุกจำเลยไว้ได้ 50 ปี และให้คืนเงินจำนวน 504,932 บาท แก่รัฐด้วย โดยจำเลยอุทธรณ์อ้างว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดทักษะรู้เรื่องการเงินการคลัง เพราะไม่ได้รับมอบหมายให้ทำงานด้านธุรการการเงินมาก่อน จึงขอให้ศาลรอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ตรวจประชุมสำนวนปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า จำนวนเงินสูงกว่า 500,000 บาทเศษ และการกระทำของจำเลยมุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ไม่คำนึงถึงส่วนรวม พฤติกรรมของจำเลย จึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สมควรแก่การรอการลงโทษ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น เหมาะสมกับพฤติการณ์ของจำเลยแล้ว ศาลอุทธรณ์เห็นฟ้องด้วย พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น