นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจทัศนะของผู้ประกอบการต่อนโยบาย และผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท และวุฒิปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน โดยผลสำรวจจากผู้ประกอบการทั่วประเทศ จำนวน 800 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 16-18 กรกฎาคม 2554 ว่า หากการปรับขึ้นค่าแรงดำเนินการอย่างเร่งด่วน และไม่มีมาตรการช่วยเหลือ จะส่งผลให้มีการปลดแรงงานประมาณ 5 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 10 จากการจ้างงานรวม 5 ล้านคน รวมทั้งอาจจะมีการปิดกิจการ 1-2 แสนราย จากจำนวนสถานประกอบการ 2 ล้านราย โดยจะเริ่มเห็นผลกระทบดังกล่าว ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 เป็นต้นไป รวมทั้งราคาสินค้าจะปรับตัวขึ้นทันที เพราะผู้ประกอบการจะผลักภาระไปยังราคาสินค้าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวลดลงร้อยละ 0.2-0.3 และเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1-1.3
นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า จากผลสำรวจของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า หากมีการปรับขึ้นค่าแรงร้อยละ 97.1 จะมีการจ้างแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 78.4 จะปรับขึ้นราคาสินค้า ร้อยละ 68.7 จะหาเครื่องจักรดำเนินธุรกิจแทน ร้อยละ 65.8 จะปลดคนงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 64.6 จะปิดกิจการโดยผู้ประกอบการ ร้อยละ 94.1 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดตอบว่าจะแบกรับภาระไม่ได้ ถ้าไม่มีมาตรการชดเชย
นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า จากผลสำรวจของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า หากมีการปรับขึ้นค่าแรงร้อยละ 97.1 จะมีการจ้างแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 78.4 จะปรับขึ้นราคาสินค้า ร้อยละ 68.7 จะหาเครื่องจักรดำเนินธุรกิจแทน ร้อยละ 65.8 จะปลดคนงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 64.6 จะปิดกิจการโดยผู้ประกอบการ ร้อยละ 94.1 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดตอบว่าจะแบกรับภาระไม่ได้ ถ้าไม่มีมาตรการชดเชย