จากเหตุเรือพ่วงบรรทุกน้ำตาลขนาดใหญ่ ล่มบริเวณหน้าวัดท่าการ้อง ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อ 2 วันก่อน จนถึงขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถกู้เรือได้ ทำได้เพียงขนย้ายน้ำตาลที่มีจำนวน 2 พันตัน ออกจากเรือ แต่ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ เรือขวางทางน้ำ ทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศเข้ากัดเซาะตลิ่ง ซึ่งมีบ้านเรือนประชาชนริมแม่น้ำ 5-6 หลัง โดยน้ำกัดเซาะตลิ่งลึกประมาณ 3 เมตร จนถึงเสาบ้าน
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา สั่งเร่งขนย้ายน้ำตาลในเรือออก เนื่องจากจะส่งผลกระทบกับน้ำและสัตว์น้ำนานาชนิด อย่างไรก็ตาม น้ำตาลที่ละลายลงแม่น้ำ ขณะนี้เริ่มเจือจาง เนื่องจากน้ำไหลแรง
ขณะที่ นายสมหวัง พิมลบุตร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า ปลาในกระชัง และปลาธรรมชาติ ที่ตายบริเวณที่ประสบเหตุสามารถกินได้ เพราะไม่ได้เป็นสารพิษ แต่เบื้องต้นให้ผู้เลี้ยงเร่งย้ายกระชังปลาออกไป ก่อนเส้นทางน้ำตาลจะผ่านมา เพราะจะทำให้ค่าออกซิเจนในน้ำต่ำจนปลาช็อก นอกจากนี้ กรมประมงได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยจับปลาหายากก่อน แต่เห็นว่าชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทน้ำตาลได้อีกทางหนึ่ง เบื้องต้นปลาที่ตายจำนวนมาก ได้แก่ ปลานิล และปลาทับทิม ซึ่งอยู่ในกระชังปลาผู้เลี้ยงรายใหญ่ 10 ราย มูลค่าหลายล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กรมประมงเชื่อว่า เหตุดังกล่าวไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เพราะน้ำตาลค่อยๆ รั่วออกมาจากเรือ ไม่ได้พลิกคว่ำ และจุดที่เกิดเหตุอยู่ใกล้กับแอ่งใต้น้ำ ซึ่งน้ำตาลจะไปทับรวมกัน ทำให้สามารถนำเครื่องช่วยดูดน้ำตาลออกมาได้ง่าย คาดว่าภายใน 1-2 สัปดาห์ สถานการณ์จะคลี่คลาย
นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า ได้ออกประกาศเตือนคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเรือล่ม หลังตรวจสอบคุณภาพ พบว่า บริเวณ อ.บางไทร ระดับออกซิเจนละลายน้ำลดลงจากเดิม 3.8 มิลลิกรัมต่อลิตร เหลือเพียง 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร และคุณภาพน้ำบริเวณ ต.สำแล จ.ปทุมธานี จากเดิมวัดได้ 3.8 มิลลิกรัมต่อลิตร ลดลงเหลือ 2.8 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ทำให้ปลาน็อกน้ำและน้ำมีกลิ่นเหม็น จึงได้ประสานไปยังประปาสำแลรับมือกับผลกระทบในการผลิตน้ำประปา โดยเตรียมค่าออกซิเจนลงในน้ำ และใช้สารเคมีดูดกลิ่น คาดว่าไม่กระทบกับการผลิตน้ำประปาที่จะส่งมายังกรุงเทพฯ และปริมณฑล
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา สั่งเร่งขนย้ายน้ำตาลในเรือออก เนื่องจากจะส่งผลกระทบกับน้ำและสัตว์น้ำนานาชนิด อย่างไรก็ตาม น้ำตาลที่ละลายลงแม่น้ำ ขณะนี้เริ่มเจือจาง เนื่องจากน้ำไหลแรง
ขณะที่ นายสมหวัง พิมลบุตร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า ปลาในกระชัง และปลาธรรมชาติ ที่ตายบริเวณที่ประสบเหตุสามารถกินได้ เพราะไม่ได้เป็นสารพิษ แต่เบื้องต้นให้ผู้เลี้ยงเร่งย้ายกระชังปลาออกไป ก่อนเส้นทางน้ำตาลจะผ่านมา เพราะจะทำให้ค่าออกซิเจนในน้ำต่ำจนปลาช็อก นอกจากนี้ กรมประมงได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยจับปลาหายากก่อน แต่เห็นว่าชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทน้ำตาลได้อีกทางหนึ่ง เบื้องต้นปลาที่ตายจำนวนมาก ได้แก่ ปลานิล และปลาทับทิม ซึ่งอยู่ในกระชังปลาผู้เลี้ยงรายใหญ่ 10 ราย มูลค่าหลายล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กรมประมงเชื่อว่า เหตุดังกล่าวไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เพราะน้ำตาลค่อยๆ รั่วออกมาจากเรือ ไม่ได้พลิกคว่ำ และจุดที่เกิดเหตุอยู่ใกล้กับแอ่งใต้น้ำ ซึ่งน้ำตาลจะไปทับรวมกัน ทำให้สามารถนำเครื่องช่วยดูดน้ำตาลออกมาได้ง่าย คาดว่าภายใน 1-2 สัปดาห์ สถานการณ์จะคลี่คลาย
นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า ได้ออกประกาศเตือนคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเรือล่ม หลังตรวจสอบคุณภาพ พบว่า บริเวณ อ.บางไทร ระดับออกซิเจนละลายน้ำลดลงจากเดิม 3.8 มิลลิกรัมต่อลิตร เหลือเพียง 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร และคุณภาพน้ำบริเวณ ต.สำแล จ.ปทุมธานี จากเดิมวัดได้ 3.8 มิลลิกรัมต่อลิตร ลดลงเหลือ 2.8 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ทำให้ปลาน็อกน้ำและน้ำมีกลิ่นเหม็น จึงได้ประสานไปยังประปาสำแลรับมือกับผลกระทบในการผลิตน้ำประปา โดยเตรียมค่าออกซิเจนลงในน้ำ และใช้สารเคมีดูดกลิ่น คาดว่าไม่กระทบกับการผลิตน้ำประปาที่จะส่งมายังกรุงเทพฯ และปริมณฑล