นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวระหว่างการเปิดงานวันอนามัยโลก ในเดือนเมษายนของทุกปี โดยปีนี้องค์การอนามัยโลกได้กำหนดปัญหาเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ใช้เป็นแนวทางรณรงค์ให้ความรู้กับกลุ่มผู้ให้บริการสาธารณสุข ทั้งของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม และจำหน่ายยา รวมถึงประชาชนทั่วไป ในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวะโดยไม่จำเป็น การเลือกใช้ยาที่ไม่เหมาะสมกับเชื้อแบคทีเรีย และการที่ประชาชนไม่มีความรู้ในการใช้ยาอย่างถูกต้อง
ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ไทยนำเข้าและผลิตยาฆ่าเชื้อ เช่น ยาปฏิชีวะ ยาต้านไวรัส และยาฆ่าเชื้ออื่นๆ สูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ขณะที่การติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบเชื้อแบคทีเรียที่มีการดื้อยาสูงขึ้น เช่น เชื้อสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี (Streptococcus Pneumoniae)ทำให้เกิดโรคปอดบวม และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เชื้ออีโคไลโคไล (Escherichia coli) ที่ทำให้เกิดโรคปัสสาวะอักเสบและการติดเชื้อในช่องท้อง เชื้ออะซีนีโตแบคเตอร์ บอแมนนิอาย (Acinetobacter baumannii) ซึ่งทำให้เกิดเชื้อในโรงพยาบาล
พร้อมกันนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะประสานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล และกำหนดมาตรการส่งเสริมการใช้ยา สู่การปฏิบัติระดับชาติ เช่น การจ่ายยาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ การติดตามใช้ยาของผู้ป่วย และการจัดระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยขณะนี้ได้จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพระดับชาติ ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้ว
ทั้งนี้ สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวะโดยไม่จำเป็น การเลือกใช้ยาที่ไม่เหมาะสมกับเชื้อแบคทีเรีย และการที่ประชาชนไม่มีความรู้ในการใช้ยาอย่างถูกต้อง
ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ไทยนำเข้าและผลิตยาฆ่าเชื้อ เช่น ยาปฏิชีวะ ยาต้านไวรัส และยาฆ่าเชื้ออื่นๆ สูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ขณะที่การติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบเชื้อแบคทีเรียที่มีการดื้อยาสูงขึ้น เช่น เชื้อสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี (Streptococcus Pneumoniae)ทำให้เกิดโรคปอดบวม และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เชื้ออีโคไลโคไล (Escherichia coli) ที่ทำให้เกิดโรคปัสสาวะอักเสบและการติดเชื้อในช่องท้อง เชื้ออะซีนีโตแบคเตอร์ บอแมนนิอาย (Acinetobacter baumannii) ซึ่งทำให้เกิดเชื้อในโรงพยาบาล
พร้อมกันนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะประสานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล และกำหนดมาตรการส่งเสริมการใช้ยา สู่การปฏิบัติระดับชาติ เช่น การจ่ายยาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ การติดตามใช้ยาของผู้ป่วย และการจัดระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยขณะนี้ได้จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพระดับชาติ ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้ว