รศ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ประธานมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวในการเสวนาหัวข้อ "ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแรงงานไทยดีจริงหรือ" โดยเห็นว่า รัฐบาลควรเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหา เพราะค่าจ้างขั้นต่ำมีผลต่อการปรับค่าจ้างประจำของแรงงาน และจะมีผลกระทบต่อกำลังซื้อภายในประเทศ โดยยกตัวอย่าง เมื่อปี 2553 ต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นไม่ถึงร้อยละ 1 แต่ราคาสินค้าปรับขึ้นถึงร้อยละ 20 ทำให้แรงงานอยู่รอดได้ยาก จึงอยากเสนอให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่ร้อยละ 10
นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จะไม่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการไตรภาคี ค่าจ้างขั้นต่ำอีก เพราะที่ผ่านมา คณะกรรมการไม่ได้ทำหน้าที่ในการต่อรอง หรือผลักดันการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ นอกจากขบวนการแรงงานต้องออกมาเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง
ขณะที่ นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดรัฐบาลที่จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 25 ภายใน 2 ปี โดยมองว่า เป็นการผลักภาระให้ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องแบกรับต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จะไม่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการไตรภาคี ค่าจ้างขั้นต่ำอีก เพราะที่ผ่านมา คณะกรรมการไม่ได้ทำหน้าที่ในการต่อรอง หรือผลักดันการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ นอกจากขบวนการแรงงานต้องออกมาเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง
ขณะที่ นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดรัฐบาลที่จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 25 ภายใน 2 ปี โดยมองว่า เป็นการผลักภาระให้ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องแบกรับต้นทุนการผลิตสูงขึ้น