เงินบาทกลับมาอ่อนค่าช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์สอดคล้องกับแรงซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ และการคาดการณ์เกี่ยวกับทิศทางการคุมเข้มนโยบายการเงินของ กนง. กระนั้นก็ดี เงินบาทต้องลดช่วงบวกลงเกือบทั้งหมด หลังจากที่ กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ 2.50% ตามคาด ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ขยับแข็งค่าขึ้น หลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับในวันศุกร์ (11 มี.ค.) เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 30.43 เทียบกับระดับ 30.46 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (4 มี.ค.)
แนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (14-18 มี.ค. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.40-30.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาปัจจัยการเมืองในประเทศ ตัวเลขภาคการเงินเดือนก.พ.ของจีน สถานการณ์วิกฤตหนี้ในยุโรป ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ประกอบด้วย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือนมี.ค. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.พ. ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดการเงินสหรัฐฯ เดือนม.ค. ดุลบัญชีเดินสะพัดประจำไตรมาส 4/2553 ตลอดจนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
แนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (14-18 มี.ค. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.40-30.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาปัจจัยการเมืองในประเทศ ตัวเลขภาคการเงินเดือนก.พ.ของจีน สถานการณ์วิกฤตหนี้ในยุโรป ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ประกอบด้วย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือนมี.ค. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.พ. ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดการเงินสหรัฐฯ เดือนม.ค. ดุลบัญชีเดินสะพัดประจำไตรมาส 4/2553 ตลอดจนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์