xs
xsm
sm
md
lg

นายกฯ แถลงร่วมกับคณะกรรมการสิทธิฯ (นางอมรา พงศาพิชญ์)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คลิกที่นี่ เพื่อฟัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แถลง

รวมการฯ

ก่อนอื่นขอขอบคุณประธานและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ที่ได้ถือเป็นเรื่องสำคัญในสถานการณ์ขณะนี้ ที่จะมีบทบาทในการช่วยดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานและความปลอดภัยของทุกคน ซึ่งหมายถึงการที่จะช่วยดูแลให้บ้านเมืองของเรามีความสงบเรียบร้อย ท่ามกลางความคิดเห็นที่แตกต่างในการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองซึ่งเกี่ยวข้องกับจำนวนคนค่อนข้างมาก
ผมคงไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำในสิ่งที่ท่านประธานได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งเป็นจุดยืนของรัฐบาลมาโดยตลอด ว่าเรามองว่าหน้าที่ของเราก็คือการ (****) ความสงบเรียบร้อยในสถานการณ์ของการชุมนุม และมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาในการที่จะมีการเชื่อมต่อประสานงานเพื่อปรึกษาหารือในกรณีที่มีข้อห่วงใยว่าจะเกิดความตึงเครียด หรือความไม่เข้าใจ หรือความสุ่มเสี่ยงต่อเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้น ซึ่งก็เป็นแนวทางที่เรายังยืนยันที่จะปฏิบัติต่อไป รวมไปถึงขั้นตอนการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้กฎหมายพิเศษ การปฏิบัติตามกฎหมายพิเศษ คงไม่ต้องพูดซ้ำในเรื่องเหล่านี้แล้ว
สิ่งที่อยากจะเรียนก็คือ ขอบคุณทางคณะกรรมการฯ ที่ได้ลองทำ จะใช้คำว่ากติกาในการชุมนุม และในการบริหารสถานการณ์ท่ามกลางการชุมนุม ของทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและรัฐบาล ซึ่งเป็นการยืนยันหลักการพื้นฐานว่าการชุมนุมโดยสงบ โดยสันตินั้น จะต้องดำเนินการอย่างไร ผมเรียนว่า ในเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขอเรียนว่าโดยรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่ก็มีหลายจุดที่เป็นความห่วงใยของรัฐบาล
ประการแรก ในแง่ของการเคลื่อนไหวในบางลักษณะ เช่น ปัญหาเรื่องการเจาะเลือด ปัญหาเรื่องการเทเลือด ปัญหาเรื่องการขว้างปา ถ้าจะพูดกันอย่างเคร่งครัดก็ถือว่าไม่ได้ถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด แต่รัฐบาลก็จะดำเนินการในการบังคับใช้กฎหมายในลักษณะที่ไม่เพิ่มความตึงเครียด แต่รักษาหลักเอาไว้ ซึ่งก็จะเห็นว่าเราพยายามทุกวิถีทางในการที่จะแสดงออกถึงความยืดหยุ่นและความอดทนอดกลั้น แต่จะละเลยเสียทั้งหมดก็คงไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น การขว้างปา ก็คงต้องดำเนินการตามปกติของกฎหมาย อย่างนี้เป็นต้น
ประการที่ 2 เรื่องของการปิดล้อมสถานที่ต่างๆ ในส่วนของการปิดล้อม ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของราชการ หรือรัฐบาลโดยรวม ที่จริงก็มีคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางอยู่แล้ว อยากจะย้ำอีกครั้งว่า การกระทำในลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ตามคำวินิจฉัยของศาล แต่ว่าประเด็นเพิ่มเติมซึ่งเกิดขึ้น บังเอิญเกิดขึ้นกับตัวผม ก็คือบ้านพักอาศัยส่วนตัว ก็ขอเรียนว่าผมก็ใช้สิทธิในฐานะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ด้วย แต่ที่สำคัญก็คือว่า สถานที่ที่เป็นของส่วนบุคคล หรือเอกชนทั้งหมด ก็จะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นได้ร้องขอให้ทางกรรมการสิทธิฯ ได้ช่วยพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย เพราะว่าอยากจะเรียนว่า หลายคนก็ได้ถ่ายทอดความรู้สึกมาที่ผม แต่ว่าก็คงไม่มีใครรู้สึกเท่ากับคนที่อาศัยอยู่ในบ้าน หรือเป็นเจ้าของบ้าน ซึ่งผมเข้าใจดี มีทั้งที่โกรธเคือง มีทั้งที่แสดงความเห็นใจอะไรต่างๆ เข้ามา ผมไม่เอาเรื่องความรู้สึกมาเป็นหลัก แต่อยากจะให้เราเคารพสิทธิของกันและกันมากกว่า
ผมคิดว่า ถ้าลองพิจารณาย้อนกลับไปว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นกับใคร จะรู้สึกอย่างไร และการแสดงออกกับบุคคลอื่นในลักษณะเช่นนี้ คงเป็นเรื่องยากที่จะตอบว่าเป็นเรื่องของสันติ หรือการเคลื่อนไหวอยู่ตามสิทธิโดยปกติ
เพราะฉะนั้นวันนี้ก็ขอขอบคุณที่ทางคณะกรรมการฯ ก็ได้แสดงความเข้าใจในเรื่องนี้
ประเด็นถัดมา ก็คือว่า ในการชุมนุมนั้นเราทราบดีว่าการปลุกเร้าอารมณ์เพื่อดึงผู้ชุมนุมให้อยู่ในการมีอารมณ์ร่วม ความสนใจในการที่จะต่อสู้เพื่อเป้าหมายร่วมกัน มันก็เป็นธรรมชาติ แม้ว่าผมจะไม่สนับสนุน แต่สมมุติว่าจะด่าทอด้วยคำพูดที่หยาบคายหรืออะไร ผมก็พอเข้าใจได้ และมีความยืดหยุ่นในการที่จะรับกับสิ่งเหล่านี้พอสมควร แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคำหยาบคายก็คือ ถ้อยคำที่ไม่อาจตีความเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากการข่มขู่คุกคาม หรือการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง อันนี้แม้ว่าจะใช้คำสุภาพ ก็คงจะไม่เหมาะสม และก็ไม่เอื้อต่อการที่จะทำให้การเคลื่อนไหวต่างๆ นั้นอยู่ในความสันติ หรือความสงบได้
ผมยกตัวอย่างคำพูดที่บอกว่า "ดีที่นายอภิสิทธิ์ไม่อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่ในบ้านก็จะเอาเลือดจากศีรษะนายอภิสิทธิ์มาล้างเท้า" ไม่ต้องเป็นผมหรอกครับ จะเป็นชื่อใครก็ตาม ไม่อาจตีความได้เลยว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบ โดยสันติ เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นตัวอย่างที่ผมคิดว่า ในส่วนของผู้เสียหายก็คงสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายกันไป แต่ก็เป็นส่วนสำคัญของกติกาในการที่จะให้การชุมนุมนั้นอยู่ในกรอบ
ถ้าหากว่าทุกฝ่ายเคารพและชุมนุมกันอยู่ในกรอบ โดยที่มีแกนนำกลุ่มหนึ่ง ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดก็คือคุณวีระ คุณหมอเหวง คุณจรัล ได้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งกรรมการสิทธิฯ ได้มาถ่ายทอดในวันนี้เกี่ยวกับเรื่องของการเจรจา ที่ไม่ใช่ลักษณะการประสานงานที่ท่านเลขาฯ กอร์ปศักดิ์ทำอยู่ ผมก็ได้ให้คำตอบไปว่า ถ้าการเคลื่อนไหวชุมนุมอยู่ในกติกาที่พูดมาทั้งหมดนี้ รัฐบาลไม่ขัดข้องในการที่จะมีการพูดคุย เพราะว่าประเด็นทางการเมือง การจะหาคำตอบทางการเมือง รัฐบาลก็ยอมรับกระบวนการของการมีส่วนร่วม และต้องรับฟังทุกฝ่ายอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ได้แจ้งทางท่านประธานและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ว่าสามารถที่จะนำคำตอบนี้ไปพูดคุยกับผู้ชุมนุมได้ แต่ว่าในชั้นนี้ก็กรุณาอย่าคาดคั้น ว่ารูปแบบของการพูดคุยนั้นจะต้องเป็นใคร โดยใคร อย่างไร เพื่อประโยชน์ในการที่จะทำให้กระบวนการเกิดขึ้นได้ ถ้าเราคาดคั้นในเรื่องรายละเอียดกันมากเกินไปในขณะนี้ก็จะเป็นปัญหาสำหรับคนทำงาน
ผมมีความจริงใจในการที่จะให้มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล แต่บนเงื่อนไขของการชุมนุมที่อยู่ภายใต้กติกา ถ้าเป็นการชุมนุมซึ่งนอกจากการกติกาแล้ว ผมไม่อาจที่จะเข้าสู่กระบวนการในการพูดคุยได้ เพราะผมไม่อาจที่จะทำให้สังคมต้องอยู่ภายใต้ หรือเดินตามการข่มขู่คุกคาม แต่ถ้าสังคมเห็นการมาของพี่น้องประชาชนจำนวนมากที่อยู่บนแนวของสันติ รัฐบาลก็มีหน้าที่รับฟัง ผมก็เคยพูดอย่างนี้เมื่อสมัยเป็นฝ่ายค้าน วันนี้มาเป็นรัฐบาลก็ยืนยันแนวคิดเดิม และพร้อมที่จะปฏิบัติ นี่ก็เป็นสิ่งที่ผมได้เรียนให้คณะกรรมการสิทธิฯ ได้ทราบ และคาดว่ากรรมการสิทธิฯ ก็คงจะได้สื่อสารไปถึงผู้ชุมนุมต่อไป

ถาม-ตอบ

ถาม - ในส่วนรูปแบบการเจรจาที่บอกว่าจะเกิดขึ้น คิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาเท่าไร และถ้าหากคุณทักษิณไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาแล้ว จะสามารถหาข้อยุติร่วมกันได้หรือเปล่า

อมรา - การเจรจามันเป็นกระบวนการที่ใช้เวลา และหลายขั้นตอน มันต้องกลับไปกลับมา เพราะฉะนั้นส่วนนั้นคงเป็นระยะหลังๆ ระยะแรกๆ ยังไม่จำเป็น

ถาม - หมายถึงว่าสุดท้ายแล้วคุณทักษิณก็ควรเข้าสู่การเจรจานี้ด้วย จึงจะได้บทสรุปที่ชัดเจนใช่ไหม

อมรา - ไม่จำเป็น ก็แล้วแต่สถานการณ์จะเคลื่อนตัวไป / การคุยมันวัดไม่ได้ มันค่อยๆ เคลื่อน มันไม่มีสูตรสำเร็จ และไม่มีตัวชี้วัด มันก็คุยไป ค่อยๆ เคลื่อนไป สถานการณ์จะนำไปสู่ขั้นต่อๆ ไป กำหนดล่วงหน้าไม่ได้

ถาม (***)

อภิสิทธิ์ - ผมได้หยิบยกประเด็นนี้ทางคณะกรรมการฯ หลักคือผมไม่ได้มุ่งที่ตัวบุคคล ผมมุ่งที่ผล และสภาวการณ์ของสังคม ความหมาย ผมยกตัวอย่างนะครับ ความหมายก็คือว่า การพูดคุยกับทางรัฐบาล อย่างที่ได้ตกลงกันก็คือ พูดคุยอยู่ภายใต้การเคลื่อนไหวที่สงบ แต่ถ้าการเคลื่อนไหวไม่สงบบเมื่อไร การพูดคุยก็จะต้องมุ่งไปที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องช่วยกันทำให้เหตุการณ์สงบแล้วคุยต่อ
กำลังโหลดความคิดเห็น