“มานิต” ยันสธ.อยู่ข้าง “หมอสมาน” 100 % ชี้บริษัทฯ ควรทำตามกฎหมายเคร่งครัดจะได้ไม่เกิดปัญหา ระบุไม่ฟ้องกลับสิงห์ฯแต่เดินหน้าทำงานจับกุมเพิ่มหากทำผิด ด้านเครือข่ายภาคประชาชนมอบหลักฐานบริษัทเหล้า-เบียร์ทำผิดเพิ่มอีก 201 กรณี เตือนสิงห์ระวังโดนคว่ำบาทไม่ซื้อสินค้า
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 25 ธันวาคม ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายภาคประชาชนได้มอบช่อดอกไม้ให้กับนายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นให้กำลังใจในการทำงานต้อสู้กับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมได้นำหลักฐานการกระทำผิดของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่โฆษณาเห็นภาพขวด จำนวน 201 กรณี จาก 10 บริษัทมามอบให้กับสธ.ด้วย
นายมานิต กล่าวว่า ขอบคุณทุกเครือข่ายฯ ที่ให้ความสำคัญกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และขอบคุณที่ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับ สธ. เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งขณะนี้ภาคประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มมากขึ้น และเข้าใจว่า สธ. ทำงานเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะในประเทศไทยมีไม่กี่บริษัท ไม่ใช่สธ. บอกให้เลิกกิจการ แต่ให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด จะได้ไม่เกิดปัญหา ซึ่งล่าสุดที่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. นั้น เมื่อมีการเสนอข่าวไป ก็หยุดจำหน่ายทันที
“หมอสมาน เป็นบุคลากรของสธ. ดังนั้น ยืนยันว่าจะยืนอยู่ข้างหมอสมาน 100% ไม่ต้องเป็นห่วง ส่วนเรื่องการถูกบริษัท สิงห์ฯ ฟ้องร้องนั้น ขณะนี้ทีมนักกฎหมาย นิติกรของสธ. อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลและจัดทำข้อมูลชี้แจงให้กับนพ.สมานอยู่ ซึ่งมุมมองของสธ. นั้น มั่นใจว่านพ.สมาน ไม่ได้ทำเกินหน้าที่แต่อย่างใด ก็ต้องไปต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม แต่สธ. คงไม่ฟ้องบริษัท สิงห์ฯ กลับ แต่จะเดินหน้าทำงานตามหน้าที่อย่างเต็มที่ต่อไป โดยจะแจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทเหล้า เบียร์ ที่ทำผิดกฎหมายเพิ่มอีก” นายมานิต กล่าว
นายมานิต กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการป้องกันภัยจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 7 วันอันตรายที่จะถึงนี้ สธ. จะกำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ และผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ให้เข้มงวดกับการบังคับใช้พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะ 1.การห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกเวลาที่กำหนด คือ จำหน่ายได้เฉพาะเวลา 11.00 น.-14.00 น. และ17.00 น.-24.00 น. เท่านั้น 2.การห้ามจำหน่ายและบริโภคในสถานที่ราชการ วัด โรงเรียน หอพัก และสถานีบริการเชื้อเพลิงทุกแห่ง ซึ่งประเด็นเหล่านี้ถือว่าเป็นความผิดปรากฏชัดเจนที่ต้องรอการตีความ สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ทันที
นายชัยธวัช มณีวรณ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนสร้างสรรค์รู้ทันแอลกอฮอล์ กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ผู้ใหญ่อย่างนายมานิต และนพ.สมาน เป็นหลักในการปกป้องเยาวชนและสังคมไทยจากภัยน้ำเมา โดยไม่เกรงกลัวอิทธิพลใดๆ ซึ่งบริษัทผลิตปฏิทินแจก มีปัญหาทั้งในแง่ศีลธรรม ความถูกต้องดีงาม และในแง่กฎหมายสิ่งที่บริษัทนี้โต้แย้ง หรือกล่าวอ้าง เป็นไปเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองมากกว่า เป็นปัญหาทางจริยธรรม ที่ท้าทายกฎหมายมุ่งไปสู่ความสำเร็จทางการตลาด ไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม
“เชื่อว่าการข่มขู่ที่จะฟ้องร้อง คงเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่หวังต่อยอดทางการตลาดเท่านั้น เครือข่ายเยาวชนฯ ขอให้กำลังใจกับสธ. ทำงานต่อไป เพราะการทำงานเพื่อมอมเมากับการทำงานเพื่อปกป้องคุ้มครองลูกหลาย เยาวชนไทยนั้น มีบุญและบาปต่างกันอย่างสิ้นเชิง ท้ายที่สุดแล้วเชื่อว่าธรรมะย่อมชนะอธรรม” นายชัยธวัช กล่าว
ด้านนายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า น่าเศร้าใจบริษัทฯ พยายามเบี่ยงเบนประเด็นโดยภาระไปที่ผู้รับจ้างทำปฏิทิน โดยบริษัท สิงห์ฯ อ้างว่า ได้จ้างไปแล้วไม่เกี่ยวกับบริษัทสิงห์ฯ อีก เป็นการโยนบาปให้กับผู้หญิงคนหนึ่งกลายเป็นเหยื่อต้องมารับผิดชอบ โดยบริษัท สิงห์ฯ ก็ลอยตัว ถือเป็นตลกร้ายที่สุภาพบุรุษเขาไม่ทำกัน สังคมต้องร่วมกันประณาม
“เร็วๆ นี้ จะหารือกับเครือข่ายผู้บริโภคและภาคีทั่วประเทศ ให้ร่วมกันแสดงออกด้วยการรณรงค์ไม่ซื้อ ไม่ใช่ สินค้าและบริการทุกอย่างในเครือบริษัทสิงห์ฯ อีกต่อไป อยากฝากเตือนด้วยความหวังดี ระวังชื่อเสียงที่สั่งสมมา 75 ปี ของบริษัทจะพังเอาง่ายๆ เพราะผู้อำนวยการสายงานบางคน ที่เล่นบทก้าวร้าวมาตลอด เน้นการตอบโต้ ท้าทาย สร้างความขัดแย้งรุนแรง ถึงเวลาที่บริษัทนี้ควรตรวจสอบ และทบทวนท่าทีเสียใหม่ การฝากอนาคตองค์กรไว้กับคนแบบนี้จะได้ไม่คุ้มเสีย” นายจะเด็จ กล่าว
สำหรับ ข้อมูลการกระทำผิดที่เครือข่ายภาคประชาชน ได้สรุปผลส่งให้ สธ. เป็นการกระทำผิดการโฆษณาให้เห็นภาพขวดของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 201 กรณี จากทั้งหมด 10 บริษัท ประกอบด้วย 1.เครือบริษัท สิงห์ฯ 58 กรณี 2.บริษัท ดาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด 39 กรณี 3.บริษัท บาคาร์ดี (ประเทศไทย) จำกัด 28 กรณี 4.บริษัท เพอร์นอด ริคาร์ด (ประเทศไทย) 26 กรณี 5.บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด 25 กรณี 6.บริษัท ซานมิเกล เบียร์ ประเทศไทย จำกัด 8 กรณี 7.บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) 4 กรณี 8.บริษัท สยามไวเนอรี่ จำกัด 3 กรณี 9.บริษัท บราวน์-ฟอร์แมน ไทยแลนด์ 1 กรณี และ10.บริษัท ซีนิท ลิเคอร์ จำกัด
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 25 ธันวาคม ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายภาคประชาชนได้มอบช่อดอกไม้ให้กับนายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นให้กำลังใจในการทำงานต้อสู้กับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมได้นำหลักฐานการกระทำผิดของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่โฆษณาเห็นภาพขวด จำนวน 201 กรณี จาก 10 บริษัทมามอบให้กับสธ.ด้วย
นายมานิต กล่าวว่า ขอบคุณทุกเครือข่ายฯ ที่ให้ความสำคัญกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และขอบคุณที่ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับ สธ. เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งขณะนี้ภาคประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มมากขึ้น และเข้าใจว่า สธ. ทำงานเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะในประเทศไทยมีไม่กี่บริษัท ไม่ใช่สธ. บอกให้เลิกกิจการ แต่ให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด จะได้ไม่เกิดปัญหา ซึ่งล่าสุดที่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. นั้น เมื่อมีการเสนอข่าวไป ก็หยุดจำหน่ายทันที
“หมอสมาน เป็นบุคลากรของสธ. ดังนั้น ยืนยันว่าจะยืนอยู่ข้างหมอสมาน 100% ไม่ต้องเป็นห่วง ส่วนเรื่องการถูกบริษัท สิงห์ฯ ฟ้องร้องนั้น ขณะนี้ทีมนักกฎหมาย นิติกรของสธ. อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลและจัดทำข้อมูลชี้แจงให้กับนพ.สมานอยู่ ซึ่งมุมมองของสธ. นั้น มั่นใจว่านพ.สมาน ไม่ได้ทำเกินหน้าที่แต่อย่างใด ก็ต้องไปต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม แต่สธ. คงไม่ฟ้องบริษัท สิงห์ฯ กลับ แต่จะเดินหน้าทำงานตามหน้าที่อย่างเต็มที่ต่อไป โดยจะแจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทเหล้า เบียร์ ที่ทำผิดกฎหมายเพิ่มอีก” นายมานิต กล่าว
นายมานิต กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการป้องกันภัยจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 7 วันอันตรายที่จะถึงนี้ สธ. จะกำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ และผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ให้เข้มงวดกับการบังคับใช้พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะ 1.การห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกเวลาที่กำหนด คือ จำหน่ายได้เฉพาะเวลา 11.00 น.-14.00 น. และ17.00 น.-24.00 น. เท่านั้น 2.การห้ามจำหน่ายและบริโภคในสถานที่ราชการ วัด โรงเรียน หอพัก และสถานีบริการเชื้อเพลิงทุกแห่ง ซึ่งประเด็นเหล่านี้ถือว่าเป็นความผิดปรากฏชัดเจนที่ต้องรอการตีความ สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ทันที
นายชัยธวัช มณีวรณ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนสร้างสรรค์รู้ทันแอลกอฮอล์ กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ผู้ใหญ่อย่างนายมานิต และนพ.สมาน เป็นหลักในการปกป้องเยาวชนและสังคมไทยจากภัยน้ำเมา โดยไม่เกรงกลัวอิทธิพลใดๆ ซึ่งบริษัทผลิตปฏิทินแจก มีปัญหาทั้งในแง่ศีลธรรม ความถูกต้องดีงาม และในแง่กฎหมายสิ่งที่บริษัทนี้โต้แย้ง หรือกล่าวอ้าง เป็นไปเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองมากกว่า เป็นปัญหาทางจริยธรรม ที่ท้าทายกฎหมายมุ่งไปสู่ความสำเร็จทางการตลาด ไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม
“เชื่อว่าการข่มขู่ที่จะฟ้องร้อง คงเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่หวังต่อยอดทางการตลาดเท่านั้น เครือข่ายเยาวชนฯ ขอให้กำลังใจกับสธ. ทำงานต่อไป เพราะการทำงานเพื่อมอมเมากับการทำงานเพื่อปกป้องคุ้มครองลูกหลาย เยาวชนไทยนั้น มีบุญและบาปต่างกันอย่างสิ้นเชิง ท้ายที่สุดแล้วเชื่อว่าธรรมะย่อมชนะอธรรม” นายชัยธวัช กล่าว
ด้านนายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า น่าเศร้าใจบริษัทฯ พยายามเบี่ยงเบนประเด็นโดยภาระไปที่ผู้รับจ้างทำปฏิทิน โดยบริษัท สิงห์ฯ อ้างว่า ได้จ้างไปแล้วไม่เกี่ยวกับบริษัทสิงห์ฯ อีก เป็นการโยนบาปให้กับผู้หญิงคนหนึ่งกลายเป็นเหยื่อต้องมารับผิดชอบ โดยบริษัท สิงห์ฯ ก็ลอยตัว ถือเป็นตลกร้ายที่สุภาพบุรุษเขาไม่ทำกัน สังคมต้องร่วมกันประณาม
“เร็วๆ นี้ จะหารือกับเครือข่ายผู้บริโภคและภาคีทั่วประเทศ ให้ร่วมกันแสดงออกด้วยการรณรงค์ไม่ซื้อ ไม่ใช่ สินค้าและบริการทุกอย่างในเครือบริษัทสิงห์ฯ อีกต่อไป อยากฝากเตือนด้วยความหวังดี ระวังชื่อเสียงที่สั่งสมมา 75 ปี ของบริษัทจะพังเอาง่ายๆ เพราะผู้อำนวยการสายงานบางคน ที่เล่นบทก้าวร้าวมาตลอด เน้นการตอบโต้ ท้าทาย สร้างความขัดแย้งรุนแรง ถึงเวลาที่บริษัทนี้ควรตรวจสอบ และทบทวนท่าทีเสียใหม่ การฝากอนาคตองค์กรไว้กับคนแบบนี้จะได้ไม่คุ้มเสีย” นายจะเด็จ กล่าว
สำหรับ ข้อมูลการกระทำผิดที่เครือข่ายภาคประชาชน ได้สรุปผลส่งให้ สธ. เป็นการกระทำผิดการโฆษณาให้เห็นภาพขวดของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 201 กรณี จากทั้งหมด 10 บริษัท ประกอบด้วย 1.เครือบริษัท สิงห์ฯ 58 กรณี 2.บริษัท ดาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด 39 กรณี 3.บริษัท บาคาร์ดี (ประเทศไทย) จำกัด 28 กรณี 4.บริษัท เพอร์นอด ริคาร์ด (ประเทศไทย) 26 กรณี 5.บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด 25 กรณี 6.บริษัท ซานมิเกล เบียร์ ประเทศไทย จำกัด 8 กรณี 7.บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) 4 กรณี 8.บริษัท สยามไวเนอรี่ จำกัด 3 กรณี 9.บริษัท บราวน์-ฟอร์แมน ไทยแลนด์ 1 กรณี และ10.บริษัท ซีนิท ลิเคอร์ จำกัด