วันพรุ่งนี้(2 มี.ค.) กระทรวงการคลังจะเรียกประชุมคณะกรรมการพิจารณารับผิดทางแพ่ง เพื่อวางแนวทางพิจารณาผลเสียหายของรัฐ ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดียึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร วงเงินกว่า 46,000 ล้านบาท เพื่อพิจารณาว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยใด ที่ต้องร่วมรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นตามคำพิพากษา
โดยหลักการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น จะต้องยึดหลักว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หากพบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องชดใช้ค่าเสียหาย สามารถผ่อนชำระความเสียหายที่เกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ ความเสียหายที่เกิดกับหน่วยงานของรัฐ ตามคำพิพากษาของศาล ประกอบด้วย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) บริษัท ทีโอที รวมทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ซึ่งคณะกรรมการต้องลงไปดูในรายละเอียดว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายจากการทำตามนโยบาย หรือว่าดำเนินการโดยจงใจ ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณนั้น ถือเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ถูกคณะกรรมการพิจารณารับผิดทางแพ่ง พิจารณาให้จ่ายค่าเสียหายคืนให้กับรัฐ เพราะตามคำพิพากษา พ.ต.ท.ทักษิณ กระทำความผิดระหว่างดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
นอกจากกระทรวงการคลังต้องหาผู้รับผิดชอบทางแพ่งแล้ว ยังต้องดำเนินการติดตามทรัพย์ที่ถูกยึด โดยเร็วๆ นี้ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เตรียมเสนอให้ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเฉพาะกิจ ติดตามการโอนทรัพย์สินตามคำพิพากษายึดทรัพย์ 46,000 ล้านบาท มาเป็นของแผ่นดิน ซึ่งจะประกอบด้วย กรมบัญชีกลาง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานอัยการสูงสุด
โดยหลักการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น จะต้องยึดหลักว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หากพบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องชดใช้ค่าเสียหาย สามารถผ่อนชำระความเสียหายที่เกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ ความเสียหายที่เกิดกับหน่วยงานของรัฐ ตามคำพิพากษาของศาล ประกอบด้วย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) บริษัท ทีโอที รวมทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ซึ่งคณะกรรมการต้องลงไปดูในรายละเอียดว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายจากการทำตามนโยบาย หรือว่าดำเนินการโดยจงใจ ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณนั้น ถือเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ถูกคณะกรรมการพิจารณารับผิดทางแพ่ง พิจารณาให้จ่ายค่าเสียหายคืนให้กับรัฐ เพราะตามคำพิพากษา พ.ต.ท.ทักษิณ กระทำความผิดระหว่างดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
นอกจากกระทรวงการคลังต้องหาผู้รับผิดชอบทางแพ่งแล้ว ยังต้องดำเนินการติดตามทรัพย์ที่ถูกยึด โดยเร็วๆ นี้ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เตรียมเสนอให้ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเฉพาะกิจ ติดตามการโอนทรัพย์สินตามคำพิพากษายึดทรัพย์ 46,000 ล้านบาท มาเป็นของแผ่นดิน ซึ่งจะประกอบด้วย กรมบัญชีกลาง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานอัยการสูงสุด