ศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำขอของนายธนวัฒน์ สุวรรณสุข พร้อมพวกรวม 454 คน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการและคนขับรถมินิบัสสีเขียว ที่ขอให้ศาลปกครองกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ก่อนมีคำพิพากษา ด้วยการสั่งให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) อนุญาตให้รถมินิบัสสีเขียวให้บริการเดินรถตามปกติไปก่อน จนกว่าจะมีรถใหม่ตามข้อกำหนดที่ได้ตกลงไว้กับ ขสมก.
ทั้งนี้ เหตุที่ศาลยกคำขอดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า แม้กรณีดังกล่าวจะถือเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา 9 วรรค 1 (4 ) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 ก็ตาม แต่การที่ศาลจะกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น ศาลเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง นายธนวัฒน์และพวก 454 คน กับ ขสมก. มีลักษณะเป็นคู่สัญญา ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายมีสิทธิและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามที่ข้อกำหนดในสัญญา ซึ่งการที่ ขสมก.มีหนังสือแจ้งให้นายธนวัฒน์ และพวก ที่เป็นผู้ประกอบการรถโดยสารมินิบัส หยุดเดินรถทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไปนั้น จึงมีลักษณะเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาของคู่สัญญาที่นายธนวัฒน์ อ้างว่าการกระทำของ ขสมก.ไม่ชอบ เพราะนายธนวัฒน์และพวกได้พยายามปรับสภาพรถเพื่อให้ใช้เชื้อเพลิงก๊าซเอ็นจีวีแล้ว แต่มีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นในเรื่องความยาวของรถ ทำให้ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพรถเพื่อเข้าทำสัญญากับทาง ขสมก.ได้ เป็นประเด็นเนื้อหาแห่งคดีที่ศาลจะต้องพิจารณาต่อไป
ส่วนที่นายธนวัฒน์และพวก อ้างว่า การกระทำของ ขสมก.มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่ได้ลงทุนเปลี่ยนแปลงรถต้องเสียเงินลงทุนไปส่วนหนึ่ง คนขับรถ คนเก็บเงิน และครอบครัว ขาดรายได้จากการต้องหยุดเดินรถ ศาลเห็นว่า ความเสียหายที่อ้าง หากเกิดขึ้นจริงตามที่อ้าง นายธนวัฒน์และพวกก็สามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ต่อไป ภายในกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี ข้ออ้างในเรื่องนี้จึงไม่ใช่ความเสียหายอันร้ายแรงที่ยากจะเยียวยาแก้ไขในภายหลัง
นอกจากนี้ ที่นายธนวัฒน์และพวก ยังอ้างถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน เนื่องจากรถหยุดวิ่งของรถมินิบัสกว่า 800 คันนั้น จากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในเส้นทางที่รถมินิบัสหยุดวิ่งยังมีรถของ ขสมก.และยังมีรถร่วมบริการเอกชนอื่นให้บริการประชาชนอยู่ โดย ขสมก.ได้จัดทำแผนการจัดรถทดแทนด้วยการนำรถของ ขสมก.และรถร่วมบริการในเส้นทางสายอื่นเข้ามาวิ่งทดแทนรถมินิบัสในเส้นทางที่หยุดวิ่ง อีกทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า มีผู้ประกอบการรถมินิบัสจำนวนหนึ่ง สามารถปรับเปลี่ยนรถให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ ขสมก.กำหนด โดยมีรถมินิบัสที่ปรับเปลี่ยนแล้ว และนำออกวิ่งให้บริการประชาชนได้แล้ว 259 คัน และอีก 300 คัน รอการบรรจุเพื่อที่จะออกวิ่งได้ในระยะเวลาอันใกล้ ข้ออ้างของนายธนวัฒน์และพวก จึงไม่ใช่เหตุที่ศาลสมควรจะกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
ประกอบกับการดำเนินการของ ขสมก.ที่กำหนดเงื่อนไขให้รถร่วมบริการเอกชนเปลี่ยนเครื่องยนต์โดยสารไปใช้ก๊าซเอ็นจีวีและเปลี่ยนแปลงลักษณะของรถนั้น เป็นการดำเนินการตามมติของคณะรัฐมนตรี ซึ่งหากศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วครามตามที่ขอ โดยให้นายธนวัฒน์และพวก ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของ ขสมก.ยังคงมีสิทธิ์ให้บริการเดินรถตามปกติ ย่อมส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของ ขสมก.ที่เป็นหน่วยงานรัฐ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดระบบการขนส่งโดยสารรถประจำทางให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีระเบียบ รวมทั้งจะส่งผลกระทบให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบขนส่ง เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนและสภาพแวดล้อมโดยรวมต้องล่าช้าออกไป จึงมีคำสั่งให้ยกคำขอดังกล่าวเสีย
ทั้งนี้ เหตุที่ศาลยกคำขอดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า แม้กรณีดังกล่าวจะถือเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา 9 วรรค 1 (4 ) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 ก็ตาม แต่การที่ศาลจะกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น ศาลเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง นายธนวัฒน์และพวก 454 คน กับ ขสมก. มีลักษณะเป็นคู่สัญญา ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายมีสิทธิและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามที่ข้อกำหนดในสัญญา ซึ่งการที่ ขสมก.มีหนังสือแจ้งให้นายธนวัฒน์ และพวก ที่เป็นผู้ประกอบการรถโดยสารมินิบัส หยุดเดินรถทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไปนั้น จึงมีลักษณะเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาของคู่สัญญาที่นายธนวัฒน์ อ้างว่าการกระทำของ ขสมก.ไม่ชอบ เพราะนายธนวัฒน์และพวกได้พยายามปรับสภาพรถเพื่อให้ใช้เชื้อเพลิงก๊าซเอ็นจีวีแล้ว แต่มีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นในเรื่องความยาวของรถ ทำให้ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพรถเพื่อเข้าทำสัญญากับทาง ขสมก.ได้ เป็นประเด็นเนื้อหาแห่งคดีที่ศาลจะต้องพิจารณาต่อไป
ส่วนที่นายธนวัฒน์และพวก อ้างว่า การกระทำของ ขสมก.มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่ได้ลงทุนเปลี่ยนแปลงรถต้องเสียเงินลงทุนไปส่วนหนึ่ง คนขับรถ คนเก็บเงิน และครอบครัว ขาดรายได้จากการต้องหยุดเดินรถ ศาลเห็นว่า ความเสียหายที่อ้าง หากเกิดขึ้นจริงตามที่อ้าง นายธนวัฒน์และพวกก็สามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ต่อไป ภายในกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี ข้ออ้างในเรื่องนี้จึงไม่ใช่ความเสียหายอันร้ายแรงที่ยากจะเยียวยาแก้ไขในภายหลัง
นอกจากนี้ ที่นายธนวัฒน์และพวก ยังอ้างถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน เนื่องจากรถหยุดวิ่งของรถมินิบัสกว่า 800 คันนั้น จากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในเส้นทางที่รถมินิบัสหยุดวิ่งยังมีรถของ ขสมก.และยังมีรถร่วมบริการเอกชนอื่นให้บริการประชาชนอยู่ โดย ขสมก.ได้จัดทำแผนการจัดรถทดแทนด้วยการนำรถของ ขสมก.และรถร่วมบริการในเส้นทางสายอื่นเข้ามาวิ่งทดแทนรถมินิบัสในเส้นทางที่หยุดวิ่ง อีกทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า มีผู้ประกอบการรถมินิบัสจำนวนหนึ่ง สามารถปรับเปลี่ยนรถให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ ขสมก.กำหนด โดยมีรถมินิบัสที่ปรับเปลี่ยนแล้ว และนำออกวิ่งให้บริการประชาชนได้แล้ว 259 คัน และอีก 300 คัน รอการบรรจุเพื่อที่จะออกวิ่งได้ในระยะเวลาอันใกล้ ข้ออ้างของนายธนวัฒน์และพวก จึงไม่ใช่เหตุที่ศาลสมควรจะกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
ประกอบกับการดำเนินการของ ขสมก.ที่กำหนดเงื่อนไขให้รถร่วมบริการเอกชนเปลี่ยนเครื่องยนต์โดยสารไปใช้ก๊าซเอ็นจีวีและเปลี่ยนแปลงลักษณะของรถนั้น เป็นการดำเนินการตามมติของคณะรัฐมนตรี ซึ่งหากศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วครามตามที่ขอ โดยให้นายธนวัฒน์และพวก ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของ ขสมก.ยังคงมีสิทธิ์ให้บริการเดินรถตามปกติ ย่อมส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของ ขสมก.ที่เป็นหน่วยงานรัฐ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดระบบการขนส่งโดยสารรถประจำทางให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีระเบียบ รวมทั้งจะส่งผลกระทบให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบขนส่ง เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนและสภาพแวดล้อมโดยรวมต้องล่าช้าออกไป จึงมีคำสั่งให้ยกคำขอดังกล่าวเสีย