นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขการส่งออกประจำเดือนพฤศจิกายน 2552 ว่า มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบปีโดยขยายตัวเป็นบวก ที่ร้อยละ 17.21 หรือมีมูลค่าการส่งออก 13,840 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2551 ส่วนการส่งออกในระยะ 11 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-พ.ย.2552) มีมูลค่า 137,954 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17 ซึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ขณะที่ ตัวเลขการนำเข้าเดือนพฤศจิกายน 2552 ลดลงร้อยละ 2.2 หรือมีมูลค่า 12,782 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนตัวเลขการนำเข้า 11 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ย.52) มีมูลค่า 119,376 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.9 ส่งผลให้ดุลการค้าเดือนพฤศจิกายน 2552 เกินดุลการค้า 1,058 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ ในช่วง 11 เดือนของปี (ม.ค.-พ.ย.52) เกินดุล 18,578 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ คาดว่าตัวเลขการส่งออกในเดือนธันวาคมจะเกินกว่า 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะทำให้ตัวเลขการส่งออกทั้งปีเป็นไปตามคาดหมายไว้ว่าจะติดลบประมาณร้อยละ 13-15 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังคาดการณ์ตัวเลขการส่งออกในปี 2553 จะขยายตัวเป็นบวกเพิ่มขึ้น ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10-15 หรือคิดเป็นมูลค่าเกือบ 170,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเชื่อมั่นว่า สินค้าอุตสาหกรรมในหลายรายการของไทยยังเป็นที่ต้องการของประเทศคู่ค้า แต่ปัจจัยที่ผู้ส่งออกกังวลว่าจะกระทบต่อภาคการส่งออก ได้แก่ ความไม่ชัดเจนในนโยบายด้านการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปัญหาการเมือง และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท นอกจากนี้ ในปี 2553 ที่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA จะมีผลบังคับใช้ คาดว่าจะทำให้มูลค่าการส่งออกในตลาดอาเซียนขยายตัวได้ร้อยละ 15-20 โดยเฉพาะการค้าชายแดน ที่จะเติบโตถึง 1 ล้านล้านบาท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังคาดการณ์ตัวเลขการส่งออกในปี 2553 จะขยายตัวเป็นบวกเพิ่มขึ้น ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10-15 หรือคิดเป็นมูลค่าเกือบ 170,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเชื่อมั่นว่า สินค้าอุตสาหกรรมในหลายรายการของไทยยังเป็นที่ต้องการของประเทศคู่ค้า แต่ปัจจัยที่ผู้ส่งออกกังวลว่าจะกระทบต่อภาคการส่งออก ได้แก่ ความไม่ชัดเจนในนโยบายด้านการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปัญหาการเมือง และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท นอกจากนี้ ในปี 2553 ที่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA จะมีผลบังคับใช้ คาดว่าจะทำให้มูลค่าการส่งออกในตลาดอาเซียนขยายตัวได้ร้อยละ 15-20 โดยเฉพาะการค้าชายแดน ที่จะเติบโตถึง 1 ล้านล้านบาท