นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคลังของกรีซ ออกมาแถลงวันพุธ(9) ยอมรับว่าประเทศประสบวิกฤตการเงินที่คุกคามความอยู่รอดของชาติ และกำลังจัดทำมาตรการอันเข้มงวดรุนแรง เพื่อนำตัวเองให้หลุดพ้นจากวิกฤตทางการเงินการคลังซึ่งถลำจมลึกลงไปทุกที ทั้งนี้ภายหลังถูกบริษัทเครดิตเรตติ้งชั้นนำตัดลดอันดับความน่าเชื่อถือ และถูกพวกผู้นำในสหภาพยุโรป(อียู)และยูโรโซนซึ่งกรีซเป็นสมาชิกอยู่ด้วย วิจารณ์ติเตียนความย่อหย่อนด้านวินัยการคลังของประเทศนี้ ตลอดจนทำให้นักลงทุนยิ่งพากันหวาดผวาพวกตลาดเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่
ตลาดหลักทรัพย์ของกรีซร่วงอย่างแรงเป็นวันที่สองเมื่อวานนี้ และปัญหาในกรีซยังถูกจับจ้องมากขึ้นอีกสืบเนื่องจากดูไบก็ทำท่าทรุดลง แล้ววิกฤตในทั้งสองจุดนี้ยังทำให้พวกนักลงทุนหวั่นผวารู้สึกสูญเสียความเชื่อมั่นในบรรดาตลาดเฟื่องฟูใหม่ที่มีฐานะอ่อนแอ โดยในรัสเซียนั้นได้ทำให้ค่าเงินรูเบิลอ่อนยวบ
ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีของกรีซที่มีการถ่ายทอดทางทีวีเมื่อวานนี้ นายกรัฐมนตรี จอร์จ ปาปันเดรอู บอกว่า “ถ้าเราไม่กำจัดลบล้างหนี้สิน หนี้สินก็จะกำจัดลบล้างประเทศเรา” ซึ่งเป็นการใช้ถ้อยคำที่เคยใช้โดยบิดาของเขา อันเดรียส ปาปันเดรอู ผู้เคยเป็นนายกรัฐมนตรีของกรีซเช่นกันเมื่อสิบกว่าปีก่อน
เขายังเตือนคณะรัฐมนตรีของเขาโดยอ้างอิงถึงปีที่มีการฟื้นฟูการปกครองแบบประชาธิปไตยในกรีซ ภายหลังถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารมาเป็นเวลา 7 ปี “เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1974 การเงินภาคสาธารณะของประเทศตกอยู่ในภาวะตีบตัน ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่ออธิปไตยแห่งชาติของเรา”
เขาประกาศว่า “เรามุ่งมั่นที่จะทำทุกๆ อย่างที่จำเป็นเพื่อหยุดยั้งการขาดดุลจำนวนมหึมา เพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพในการเงินภาคสาธารณะ และเพื่อส่งเสริมการพัฒนา” และกล่าวต่อไปว่า “มันเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า กรีซจะไม่ต้องสูญเสียสิทธิแห่งอำนาจอธิปไตยของตนไป”
ตลาดหลักทรัพย์ของกรีซร่วงอย่างแรงเป็นวันที่สองเมื่อวานนี้ และปัญหาในกรีซยังถูกจับจ้องมากขึ้นอีกสืบเนื่องจากดูไบก็ทำท่าทรุดลง แล้ววิกฤตในทั้งสองจุดนี้ยังทำให้พวกนักลงทุนหวั่นผวารู้สึกสูญเสียความเชื่อมั่นในบรรดาตลาดเฟื่องฟูใหม่ที่มีฐานะอ่อนแอ โดยในรัสเซียนั้นได้ทำให้ค่าเงินรูเบิลอ่อนยวบ
ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีของกรีซที่มีการถ่ายทอดทางทีวีเมื่อวานนี้ นายกรัฐมนตรี จอร์จ ปาปันเดรอู บอกว่า “ถ้าเราไม่กำจัดลบล้างหนี้สิน หนี้สินก็จะกำจัดลบล้างประเทศเรา” ซึ่งเป็นการใช้ถ้อยคำที่เคยใช้โดยบิดาของเขา อันเดรียส ปาปันเดรอู ผู้เคยเป็นนายกรัฐมนตรีของกรีซเช่นกันเมื่อสิบกว่าปีก่อน
เขายังเตือนคณะรัฐมนตรีของเขาโดยอ้างอิงถึงปีที่มีการฟื้นฟูการปกครองแบบประชาธิปไตยในกรีซ ภายหลังถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารมาเป็นเวลา 7 ปี “เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1974 การเงินภาคสาธารณะของประเทศตกอยู่ในภาวะตีบตัน ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่ออธิปไตยแห่งชาติของเรา”
เขาประกาศว่า “เรามุ่งมั่นที่จะทำทุกๆ อย่างที่จำเป็นเพื่อหยุดยั้งการขาดดุลจำนวนมหึมา เพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพในการเงินภาคสาธารณะ และเพื่อส่งเสริมการพัฒนา” และกล่าวต่อไปว่า “มันเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า กรีซจะไม่ต้องสูญเสียสิทธิแห่งอำนาจอธิปไตยของตนไป”