ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD) ออกแถลงการณ์ เรื่อง"การประชุมอาเซียนที่ไม่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง" ระบุถึงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ชะอำ-หัวหิน ซึ่งเดิมกำหนดให้ผู้แทนภาคประชาสังคมทั้ง 10 ประเทศเข้าพบผู้นำอาเซียน ในวันที่ 23 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อร่วมหารือและเสนอแนะความเห็น ตลอดจนข้อเสนอของภาคประชาชนอาเซียน ต่อที่ประชุม ตามเจตนารมณ์ที่อาเซียนต้องการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง แต่ปรากฏว่าผู้นำชาติอาเซียน โดยเฉพาะ กัมพูชา พม่า ลาว สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ กลับกีดกันไม่ให้ผู้แทนภาคประชาชนของชาติตนเองเข้าพบ แต่ให้ตัวแทนภาคประชาสังคมที่ตนเองคัดเลือกเข้าพบแทน ในขณะที่ผู้แทนจากเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ได้รับอนุญาตให้เข้าพบ แต่ห้ามแสดงความคิดเห็นใดๆ นอกจากแถลงการณ์ เป็นเหตุให้เกิดความไม่พอใจของภาคประชาสังคมอาเซียนอย่างรุนแรง ต่อความไม่จริงใจของผู้นำอาเซียน และมีมติคว่ำบาตรไม่เข้าร่วมตามนัดหมายในวันดังกล่าว
ศูนย์ประสานงานเยาวชนฯ ในฐานะองค์กรเยาวชนคนหนุ่มสาวที่สนับสนุนการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมอาเซียน รู้สึกผิดหวังกับท่าทีของผู้นำชาติอาเซียนดังกล่าว ที่ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคมอาเซียน เลือกปฏิบัติและจำกัดสิทธิการมีส่วนร่วมของของภาคประชาสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของอาเซียนเองที่มีวิสัยทัศน์ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ในแถลงการณ์ยังสนับสนุนให้คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียน (AICHR) ดำเนินการตรวจสอบและผลักดันบรรทัดฐานสิทธิมนุษยชนในอาเซียนอย่างเป็นอิสระและโปร่งใส โดยเฉพาะต่อปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง และเรียกร้องให้ผู้นำชาติอาเซียน สนับสนุนการทำงานของ AICHR อย่างเต็มที่ รวมถึงดำเนินการและสนับสนุนกลไกและตัวแทนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาค เช่น ผู้ตรวจสอบพิเศษ (Special Rapporteurs) ในกรณีประเทศพม่าและกัมพูชา รวมทั้งกลไกอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทรมาน ความรุนแรงต่อผู้หญิง ความเป็นอิสระของหน่วยงานตุลาการและนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้ ยังคัดค้านการสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำสาละวินและในภูมิภาคแม่น้ำโขง ซึ่งที่จะมีผลกระทบต่อชุมชนและระบบนิเวศวิทยาในลุ่มน้ำอย่างรุนแรง รวมถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า ซึ่งจะมีการเลือกตั้งในปีหน้านั้น ยังไม่เกิดรูปธรรมในการเตรียมความพร้อมที่จะเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย การปลดปล่อยนางอองซานซูจี และนักโทษทางการเมืองทั้งหมด การยกเลิกการควบคุมสื่อมวลชนและการปิดกั้นสิทธิทางความคิด เป็นต้น โดยขอให้สมาคมอาเซียน มีบทบาทในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง และให้ภาคประชาสังคมอาเซียนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
ศูนย์ประสานงานเยาวชนฯ ในฐานะองค์กรเยาวชนคนหนุ่มสาวที่สนับสนุนการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมอาเซียน รู้สึกผิดหวังกับท่าทีของผู้นำชาติอาเซียนดังกล่าว ที่ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคมอาเซียน เลือกปฏิบัติและจำกัดสิทธิการมีส่วนร่วมของของภาคประชาสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของอาเซียนเองที่มีวิสัยทัศน์ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ในแถลงการณ์ยังสนับสนุนให้คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียน (AICHR) ดำเนินการตรวจสอบและผลักดันบรรทัดฐานสิทธิมนุษยชนในอาเซียนอย่างเป็นอิสระและโปร่งใส โดยเฉพาะต่อปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง และเรียกร้องให้ผู้นำชาติอาเซียน สนับสนุนการทำงานของ AICHR อย่างเต็มที่ รวมถึงดำเนินการและสนับสนุนกลไกและตัวแทนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาค เช่น ผู้ตรวจสอบพิเศษ (Special Rapporteurs) ในกรณีประเทศพม่าและกัมพูชา รวมทั้งกลไกอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทรมาน ความรุนแรงต่อผู้หญิง ความเป็นอิสระของหน่วยงานตุลาการและนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้ ยังคัดค้านการสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำสาละวินและในภูมิภาคแม่น้ำโขง ซึ่งที่จะมีผลกระทบต่อชุมชนและระบบนิเวศวิทยาในลุ่มน้ำอย่างรุนแรง รวมถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า ซึ่งจะมีการเลือกตั้งในปีหน้านั้น ยังไม่เกิดรูปธรรมในการเตรียมความพร้อมที่จะเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย การปลดปล่อยนางอองซานซูจี และนักโทษทางการเมืองทั้งหมด การยกเลิกการควบคุมสื่อมวลชนและการปิดกั้นสิทธิทางความคิด เป็นต้น โดยขอให้สมาคมอาเซียน มีบทบาทในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง และให้ภาคประชาสังคมอาเซียนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด