xs
xsm
sm
md
lg

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ช่วงที่ 3

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สโรชา- กลับเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เหลือเวลาอีกประมาณ 15 นาที ไปกันเร็วสักนิดหนึ่งนะคะ เพราะว่ามีข้อมูลเพิ่มเติมในร่างข้อตกลงชั่วคราวที่ดูไม่ค่อยชอบมาพากลเท่าไหร่ พี่ประพันธ์คะ

ประพันธ์- คือถ้าเป็นไปตามร่างข้อตกลงนี้ แล้วรัฐบาลปล่อยให้ หรือสภาผ่านข้อตกลงอันนี้แล้วไปลงนามตามนี้ ก็จะมีผลต่ออธิปไตยของประเทศแน่นอน และมีผลเปลี่ยนแปลงสภาพสิทธิอาณาเขตของประเทศ แต่ว่าผู้ลงนาม ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตอยู่แล้วว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของเรา ตามร่างข้อตกลงนี้ที่เสนอเข้าไปในสภา จึงพิมพ์ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือว่าถ้าถึงวันนั้นที่เตรียมจะไปลงนาม ท่านอาจจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองนายกฯ เพื่อให้เทียบเท่า นายฮอร์ นัม ฮง ซึ่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีต่างประเทศ หรือไม่
แต่อย่างนี้ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ที่สำคัญก็คือว่า ร่างข้อตกลงนี้เท่ากับว่าไปยอมรับข้อกำหนด แผนแม่บท อำนาจหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตทางบกร่วมตามข้อตกลงที่มีมาแต่ปี 46 และมาปี 51 ก็ผ่านสภามาในสมัยนายสมชาย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีต่างประเทศ แล้วมาถึงรัฐบาลสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ทำตามแนวนี้เขาต่อไปอีก เพราะฉะนั้นปัญหาก็คือว่า มันจะมีผลต่อเขตแดนและอธิปไตยของประเทศถึงขนาดที่เรียกได้ว่า มันไม่ใช่เราสูญเสียแค่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ไม่ใช่ 3,000 ไร่โดยประมาณแล้ว มันเป็นหลายร้อยหลายพันตารางกิโลเมตร และหลายแสนไร่
เพราะฉะนั้นอันนี้ ถ้ารัฐบาลและสภาผ่านร่างข้อตกลงอันนี้ มันพูดเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เท่ากับขายชาติขายแผ่นดิน แล้วจะเป็นตราบาป ตราประทับติดตาติดหน้าผากรัฐบาลและ ส.ส.ทุกคนที่ร่วมกันผ่านอันนี้ เพราะฉะนั้นปัญหาก็คือว่า เราจะปล่อยให้เรื่องอย่างนี้ผ่านไปไม่ได้ ผมคิดว่าประชาชนที่รักชาติ หรือรักบ้านเมือง และรักหวงแหนอำนาจอธิปไตยและดินแดนของตนเอง จะต้องลุกขึ้นมาปกป้องแล้ว เพราะว่ารัฐบาลดูเหมือนจะมีความเข้าใจที่ตรงกันข้ามกับประชาชนในเรื่องนี้ ผมคิดว่าวันหนึ่งนายกรัฐมนตรีก็ดี หรือท่านรัฐมนตรีต่างประเทศก็ดี คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมาดีเบต หรือมาตอบโต้ มาชี้แจงว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้หรือเปล่า หรือมันไม่ได้เป็นอย่างนี้เพราะอะไร เพราะถ้าหากว่ามันไม่เคลียร์ ไม่ทำให้เกิดความเข้าใจที่กระจ่างสำหรับประชาชน ประเด็นอื่นแถบเป็นเรื่องเล็กเลย อันนี้จะเป็นประเด็นใหญ่มาก และดีไม่ดี อันนี้มันแค่บริเวณแถบนี้เอง แปลว่า ถ้าตกลงตามร่างข้อตกลงนี้ มันไปนู่นเลย ไปเสื้อแดงนู่นเลย ซึ่งอันนี้ หลักเขตนี่มันจะไปนู่น เพราะฉะนั้น แน่นอน ท่านอาจบอกว่า ตอนนี้เรายังไม่เสียดินแดน มันก็พอฟังได้ เพราะยังไม่ผ่านร่างข้อตกลงอันนี้ แต่ว่า มันไปทำร่างข้อตกลงกันไว้แล้ว โดยร่างที่พนมเปญด้วย เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2552 ไปยกร่างข้อตกลงนี้มาแล้ว และไปทำความตกลงกันมาด้วยว่า ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องรีบมาเร่งผลักดัน เพื่อให้ร่างข้อตกลงผ่านความเห็นชอบ ตามรัฐธรรมนูญประเทศตน
เพราะฉะนั้นถ้าเป็นอย่างนี้ มันถึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้อง ผมคิดว่า เดินหน้าไม่ได้ ถ้าเดินหน้าต้องอธิบายประชาชนได้ว่า ร่างข้อตกลงอันนี้ มันจะมีผลกระทบต่ออำนาจทิศใดของประเทศหรือไม่

สโรชา -อาจารย์คะ จริงๆ มันมีผลต่อเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลกด้วย

ม.ล.วัลย์วิภา- ใช่ค่ะ เพราะอย่างนี้ ว่า มันมีเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนมรดกโลกว่า ถ้าเป็นสมบัติ หรือมรดกที่มันอยู่ระหว่างข้อพิพาท จะต้องมีใบเสร็จ คือข้อตกลงระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย ให้เห็นว่า มันมีความสงบสุข เพราะฉะนั้น นี่สำคัญ ในเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลก

สโรชา- ถ้าสมมติว่าเราผ่านสภา ผ่านร่างข้อตกลงนี้ ทางฝ่ายกัมพูชาเขาเอาใบเสร็จไปยื่นทันทีเลย ให้ยูเนสโกว่า เราตกลงกันได้แล้ว นี่คือใบเสร็จที่เราเจรจากัน เราตกลง และสงบแล้ว เพราะฉะนั้น การขึ้นเป็นมรดกโลกของเขาสำเร็จ สมบูรณ์แบบ

ม.ล.วัลย์วิภา- คือภายใน กำหนดไว้ไหม ว่า ภายในกุมภาพันธ์ 2009 และเขามีได้กับได้ ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก ได้อาณาเขต

ประพันธ์- คือขณะนี้มันเป็นปี 2009 ถ้าเกิดต้องทำให้เสร็จภายในปี 2009 ปีหน้าซึ่งเป็นปีที่กัมพูชาต้องเสนอแผนการบูรณะพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งหากบริเวณพื้นที่นั้นมีข้อตกลงร่วมและไทยยินยอมตามนี้แล้ว กัมพูชาก็มีสิทธิ์ มีอำนาจที่จะเข้าไปดำเนินการเหมือนเป็นอาณาเขตของดินแดนตัวเอง ยิ่งทำให้สะดวกต่อการขึ้นทะเบียนมรดกโลก แต่ปัญหานี้ เราพิจารณาเฉพาะเรื่องข้อตกลงนี้โดยลำพัง มันไม่ได้ เพราะอะไร มันแปลกใจ ทำไมรัฐบาลทักษิณ ก็ไปทำมาอย่างนี้ รัฐบาลสมชาย สมัคร ก็มาเร่งรีบ แม้มีเวลาอยู่ 2-3 เดือน ก็มุ่งจะทำเรื่องนี้ ทำไมตั้งใจเรื่องนี้ ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญ เรื่องที่รอได้ มาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ทำไมต้องมารับไม้ ทำเรื่องนี้ต่อไป คนก็สงสัยว่า ทำไมรัฐบาลเจรจาและทำข้อตกลงลเรื่องนี้ ในลักษณะที่ใครดูแล้ว นักกฎหมาย หรือนักเจรจาทางการเมืองระหว่างประเทศมาดูแล้ว ก็ดูว่าไทยเสียเปรียบ แล้วทำไมยินยอม คนจึงสงสัยว่าเรื่องการเจรจาปราสาทพระวิหารและดินแดนแถบนี้ มันคงไม่ได้ผูกเฉพาะเรื่องนี้แน่นอน
เพราะฉะนั้น ที่ไปที่มา อย่างที่คุณสนธิพูดหลายครั้ง เรื่องนี้ มันมีความเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ทางทะเล ที่ว่าจะมีแหล่งน้ำมัน ซึ่งขณะนี้ข้อเท็จจริง เป็นที่ยอมรับแล้วว่า มีแน่นอน จำนวนปริมาณมหาศาล และบริษัทที่จะได้เข้าไปลงทุน และสำรวจ หนึ่งในนั้นมีบริษัท ปตท.อยู่ด้วย และบริษัทต่างชาติ ถามว่า บริษัท ปตท. ใครถือหุ้น นักการเมืองกลุ่มไหนถือหุ้น และจะได้ผลประโยชน์จากตรงนั้น ทีนี้ ถ้าสองส่วนมาเชื่อมโยงกัน แล้วกลายเป็นว่า เอาอำนาจอธิปไตยของส่วนนี้ ไปขาย ไปแลกกับผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจ หรือกลุ่มทุน มันมีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ เพราะฉะนั้น ตรงนี้ คิดว่าเป็นปัญหาใหญ่

ม.ล.วัลย์วิภา- เพิ่มนิดนึง มันมีบางอย่าง 2544 ระหว่างคุณทักษิณ กับสมเด็จฮุน เซน ในข้อ 13 ระบุเลยว่า ต้องมีการจัดทำเขตแดนทางบกให้เรียบร้อยก่อน ถึงจะเจรจาทางทะเล และยิ่งกว่านั้น มีรายงานจากอนุกรรมาธิการฝ่ายเทคนิค ระบุเลยว่า ต้องจัดการเรื่องที่ค้างคาให้เสร็จก่อน ถึงจะจัดทำทางทะเล คิดว่า อันนี้ สอดคล้องกันอย่างสมควร

ประพันธ์- เพราะฉะนั้น พวกเราจึงเหมือนพวกกาลิเลโอ เห็นโลกกลมก่อนคนอื่น

สโรชา- ทั้งที่คนบอก แบนๆ

ประพันธ์- พี่น้อง ที่ชมรายการ ว่า ทำไมคนพวกนี้ ถึงพูดแต่เรื่องนี้ เพราะเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ทำให้ชาติบ้านเมืองพินาศ หายนะ และเสียอธิปไตย เสียดินแดน เสียเกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

สโรชา- ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์คะว่า ข้อมูลเหล่านี้ ความเป็นห่วงเหล่านี้ อาจารย์ได้เรียนถามไปยังกระทรวงการต่างประเทศ ไปยังรัฐบาลชุดปัจจุบันหรือยัง

ม.ล.วัลย์วิภา- ตลอดเวลาที่ได้สงสัย และตรวจสอบตั้งแต่คุณนพดลตลอดมาเลย ได้พบกับท่านนายกฯ ขอพบและขอชี้แจงต่อท่านนะคะ ได้พบจริงๆ 1 ครั้ง และมีการยื่นหนังสืออะไรอีก 2 ครั้ง ท่านรัฐมนตรีต่างประเทศท่านกษิตนะคะ ได้พบ 2 ครั้ง แต่ว่าได้มีการยื่นหนังสืออะไรรวมเป็น 3 ครั้งนะคะ คิดว่าข้อมูลทั้งหมดที่นำมาเสนอรัฐบาลรู้แน่นอนนะคะ เราเองเราอ่านอย่างรู้นะคะ รัฐบาลเองมีข้อมูลมากกว่านี้อีกด้วยซ้ำนะคะ แต่ว่าเข้าใจว่า วันนี้เราชัดเจนนะคะว่า เป็นเพราะเขายอมรับ 1:200,000 และดำเนินการไปตามนั้นแล้วนะคะ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราลุกขึ้นมาเตือน ลุกขึ้นมาเสนอแนะลุกขึ้นมาให้เหตุผลต่างๆ มันเหมือนกับว่า คุณไม่ได้อยู่ในระบบของฉัน ฉันต้องพยายามที่จะดิสเครดิต หรือทำลายความเชื่อมั่นของคุณนะคะ กล่าวหาเราในทางต่างๆ

สโรชา- พี่ประพันธ์คะ ทางกฎหมายในฐานะที่เป็นประชาชนชาวไทย เรามีสิทธิ์ที่จะท้วงติง หรือเรามีสิทธิ์ที่จะยกเลิก หรือทำให้การตกลง หรือมติสภา ไม่ว่าจะเป็นปี 51 หรือเขาจะผ่านในอนาคตอันใกล้นี้เป็นโมฆะไปได้ไหม

ประพันธ์- ผมคิดว่า มันมี 2 ทางนะครับ ทางที่ 1 โดยวิถีทางรัฐสภา ถ้าเกิดว่ารัฐบาลได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และเข้าใจและเรื่องนี้ ทำให้ร่างข้อตกลงอันนี้ไม่ผ่านการเห็นชอบของสภา ก็จะไม่มีผลผูกมัดประชาชนไทยทั้งประเทศ 2. แต่ถ้าหากว่าฟังอย่างนี้แล้ว แล้วประชาชนทักท้วงและเห็นว่าการกระทำอันนี้มันจะนำไปสู่คำว่า ขายชาติ คุณขายชาติ ขายแผ่นดิน ขายอธิปไตย แล้วคุณยังดื้อดันที่จะทำต่อไปทั้งๆ ที่ประชาชนให้เหตุผล ให้ข้อเท็จจริงแล้ว ผมคิดว่าประชาชนสามารถเข้าชื่อรวมตัวกันเพื่อร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครองได้ หรือ ส.ว.ก็อาจจะเข้าชื่อ หรือ ส.ส.รวมกันเข้าชื่อ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ขณะนี้รัฐบาลโดยเฉพาะนายกฯ และคณะรัฐบาล กำลังกระทำผิดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และกำลังจะทำให้เกิดการขายชาติ ขายอธิปไตยของประเทศ ผมคิดว่าสามารถจะยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้พิจารณาเรื่องนี้เป็นการด่วน และให้มีการไต่สวนคุ้มครองชั่วคราว เพื่อไม่ให้มีการดำเนินการนำเอากรอบข้อตกลงนี้ผ่านสภาเพื่อไปทำความตกลงกับประเทศกัมพูชาได้ เหมือนเช่นที่เราเคยคัดค้านเรื่องจอยช์คอมมิเนเก ท้ายที่สุดแล้วศาลปกครองก็คุ้มครองชั่วคราว และห้ามเอาไปตกลงไปผูกพันกับประเทศ และท้ายที่สุด ป.ป.ช.ก็ชี้มูลแล้วว่า นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่ไปทำเรื่องนี้ ทำความผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องใช้มาตรการนี้ ก็จะเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยกันปกป้องดินแดน ปกป้องอธิปไตยของเรา ถ้าหากว่ารัฐบาลยังเดินอย่างนี้ต่อไป เราก็ต้องใช้ช่องทางตามกฎหมายได้

ม.ล.วัลย์วิภา- ในส่วนของภาคประชาชนที่ทำอยู่ ข้อแนะนำของคุณประพันธ์มีประโยชน์มาก แต่ที่เราทำอยู่ขณะนี้ เมื่อวันที่ 8 ที่ผ่านมา เรามีการแถลงข่าวและแจ้งเรื่องนี้ต่อสื่อสาธารณะ แล้วก็พี่น้องทั้งหมด เราได้ลงชื่อร่วมกัน เพราะเราคิดว่าวันที่ 14 ต.ค.จะมีการนำเรื่องนี้เข้าสภา เราก็เลยคิดว่า อย่างเร็วที่สุดที่เราทำได้ คือวันที่ 12 วันจันทร์นี้ 10.00 น. เราจะไปยื่นหนังสือรวมทั้งมีผู้ลงนาม ประชาชนทั้งหลายเท่าที่ทำได้ในขณะนี้ ไปยื่นให้นายกฯ แล้วในเวลาเดียวกันก็ไปยื่นประธานรัฐสภาด้วย เพราะเราคิดว่าทั้ง 2 ฝ่ายใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนได้เลย โดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนะคะ และขอเรายื่นเลยคะว่า ขอให้มีการ 1.เพิกถอนมติของ 28 ตุลาคม 51นะคะ 2.ยุติหรือเลิกที่จะไม่นำการเจรจาชั่วคราว 6 เมษาฯ ที่พึงเป็นเข้าสู่สภาอีกต่อไป พร้อมกับขอให้พิจารณาเลยนะคะว่า การดำเนินการใดๆ ตั้งแต่ 28 ตุลาฯ 51 มา ทั้งก่อนหน้าและล่วงหน้าไปจนถึง 2546

สโรชา- ย้อนกลับไปถึง 2546 เลย

ม.ล.วัลย์วิภา- และอาจจะไปถึง 43 อีกนะคะ ตรงนั้นขอให้ยุติ และได้ทบทวนพิจารณาโดยเฉพาะอย่างยิ่งนะคะ เรื่องเจบีซี กับเรื่องของการเจรจาต่างๆ บทบาทของเจบีซีทั้งหลาย เพราะโครงสร้างของ JBC กระทรวงต่างประเทศนำนะคะ สภาความมั่นคงทหารอะไรต่ออะไร อยู่ใต้ตรงนี้หมดเลย เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องมาดูกันใหม่คะ

สโรชา- ค่ะนี้ก็เป็นความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนรนะคะ ที่เราร่วมกันช่วยกันตรวจสอบ และนำเสนอข้อสังเกตคำถาม และเอกสารที่อาจารย์ได้รวบรวมมาในวันนี้ คำถามที่เกิดว่า มีการระบุถึงแผนที่ 1:200,000 มีการระบุถึงทีโออาร์ปี 46 อย่างต่อเนื่อง ในข้อตกแต่ละฉบับ ตั้งแต่ปี 51 เป็นต้นมา จนกระทั่งฉบับที่เป็นการร่างข้อตกลงที่กำลังเข้าสู่สภาในอีกไม่ช้านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นความเป็นห่วงที่เรามี แน่นอนว่า เราไม่ได้พูดถึง 4.6 ตารางกิโลเมตร 3,000 กว่าไร่ กลายเป็นเรื่องเล็กไปทันที เมื่อเราพูดถึง 1:200,000 ที่จะทำให้เราเสียจังหวัดเป็นจังหวัดไป เราทำให้เส้นพรมแดนของประเทศไทยเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน นี่คือคำถามที่ภาคประชาชนตั้งขึ้นมา เป็นหน้าที่ของรัฐแล้วแหละคะ ที่จะตอบว่า ท่านจะชี้แจงอย่างไร ข้อเท็จจริงเป็นไปตามนี้หรือไม่ และถ้าหากเป็นไปตามนี้ ท่านจะดำเนินการอย่างไรต่อ วันนี้ขอบพระคุณทั้ง 2 ท่านที่มาร่วมรายการ

ม.ล.วัลย์วิภา- ขอบคุณคะ

สโรชา- ขอบพระคุณที่ติดตามนะคะ กลับมาพบกันใหม่ในวันศุกร์หน้า สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ
กำลังโหลดความคิดเห็น