นายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนาเชิงวิชาการประจำปี 2552 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เรื่อง "บริบทการเงินใหม่หลังวิกฤติเศรษฐกิจโลก" โดยระบุว่า ขณะนี้หลายฝ่ายมีความเห็นแตกต่าง บางฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวเพราะผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางฝ่าย มองว่าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว เพราะยังไม่รู้ว่ามีปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแท้จริงได้อย่างไร
ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า การที่จะให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างแท้จริงต้องอยู่ที่การลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งยังไม่ชัดเจน ขณะที่การบริโภคของประชาชนก็ยังไม่ฟื้นตัว เพราะ 2 ดัชนีดังกล่าวจะเป็นคำตอบที่ชี้ชัดว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวจริงหรือไม่ การที่บอกว่าส่งออกเริ่มดีขึ้นนั้น ที่จริงเป็นการสั่งซื้อสินค้าจากความต้องการเดิมที่หดหายไป และมีความต้องการบริโภคที่จำเป็นในบางส่วนของต่างชาติ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวอย่างแท้จริง เพราะยังไม่มีการสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจได้ดีเท่าที่ควร
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ขณะนี้ทุกประเทศในแถบเอเชียจะพยายามไม่ยอมให้ค่าเงินของประเทศตัวเองแข็งค่า เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียศักยภาพในการแข่งขันด้านการส่งออก มีเพียงประเทศไทยเท่านั้น ที่ยอมให้ค่าเงินแข็งค่า และผลิตภัณฑ์ทางการเงินของสถาบันการเงินต่างๆ ขณะนี้ มักจะอยู่เหนือการควบคุมดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเริ่มจะมีกลไกทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ควบคุมกันเอง ดังนั้น ทางการจะต้องตามให้ทันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ๆ เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจมีปัญหา
ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า การที่จะให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างแท้จริงต้องอยู่ที่การลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งยังไม่ชัดเจน ขณะที่การบริโภคของประชาชนก็ยังไม่ฟื้นตัว เพราะ 2 ดัชนีดังกล่าวจะเป็นคำตอบที่ชี้ชัดว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวจริงหรือไม่ การที่บอกว่าส่งออกเริ่มดีขึ้นนั้น ที่จริงเป็นการสั่งซื้อสินค้าจากความต้องการเดิมที่หดหายไป และมีความต้องการบริโภคที่จำเป็นในบางส่วนของต่างชาติ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวอย่างแท้จริง เพราะยังไม่มีการสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจได้ดีเท่าที่ควร
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ขณะนี้ทุกประเทศในแถบเอเชียจะพยายามไม่ยอมให้ค่าเงินของประเทศตัวเองแข็งค่า เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียศักยภาพในการแข่งขันด้านการส่งออก มีเพียงประเทศไทยเท่านั้น ที่ยอมให้ค่าเงินแข็งค่า และผลิตภัณฑ์ทางการเงินของสถาบันการเงินต่างๆ ขณะนี้ มักจะอยู่เหนือการควบคุมดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเริ่มจะมีกลไกทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ควบคุมกันเอง ดังนั้น ทางการจะต้องตามให้ทันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ๆ เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจมีปัญหา